Assessment · Decommissioning · Details and Construction · Foundation · Installation · Offshore Structure

Pile Gripper for Through-Leg Pile


Pile Gripper for Through-Leg Pile K.Kurojjanawong 23-Jul-2021 หลังจากโพสเรื่อง​ Pile Gripper​ ไป​ ซึ่งเราจะพบเสมอกับ​ skirt pile แบบ​ Grouted หรือเข็มที่อยู่ใต้น้ำ​ที่มีการ Grouted​ ด้วย ส่วน​ Trough-Leg Pile ที่เป็นการเสียบเข็มผ่านขา​ Jacket​ จากเหนือน้ำนั้น​ ในปัจจุบั​นเราจะหาไม่มีเลยที่จะใช้ระบบ​ Grouted จะพบในแท่นเก่าๆ​ อายุ​ 30​ ปี​ ขึ้นไปทั้งสิ้น​ เช่น​ แท่นผลิตเก่าๆ​ ในอ่าวไทยจะเป็น​ Trough-Leg Pile with Grouted ทั้งหมด​ แต่กลับพบว่าแท่นเก่าๆ​ พวกนี้​ ในปัจจุบั​นกลับไม่เห็นร่องรอยของ​ Pile Gripper​ หลงเหลืออยู่เลย​ (ใครไปออฟชอร์แล้วเคยเห็นบ้าง) ซึ่งปกติมันติดตั้งแล้วถาวร​ เอาออกไม่ได้​ ต้องอยู่กับโครงสร้าง​จนชั่วชีวิต​ เพราะเชื่อมติด แล้วถ้าต้องใช้กับ​ Trough-Leg Pile มันจะอยู่ตรงไหน?… Continue reading Pile Gripper for Through-Leg Pile

Decommissioning · Offshore Structure

Offshore Structure – The North Sea VS Gulf of Thailand


Offshore Structure - The North Sea VS Gulf of Thailand K. Kurojjanawong 1-Jul-2021 เพื่อให้เห็นภาพกว้าง ผมจึงเอาขนาดโครงสร้างมาเทียบกันให้ดู โดยทั้งหมดเป็นงานเก่าในเรคคอร์ดที่ผมเคยทำ เลือกมาทั้งแท่นผลิตและแท่นขุดเจาะมาอย่างละตัว โดยในอ่าวไทยเอามาให้ดูทั้งที่อยู่ในอ่าวไทยทางเหนือน้ำลึกประมาณ 60-70 ม ซึ่งเป็นพื้นที่ของ เชพรอน เลือกแท่น ผลิตสตูลใต้ และ แท่นขุดสตูลบราโว่ และ ทางใต้น้ำลึกประมาณ 70-80ม ซึ่งเป็นพื้นที่ของ ปตท สผ เลือก แท่นผลิตบงกช และแท่นขุดอาทิตย์เฟส 1 โดยใหญ่ที่สุดในอ่าวไทยก็คือแท่นผลิตพวกนี้ ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ตัวทั้งอ่าว ที่เหลือเป็นแท่นขุด จำนวนหลายร้อย อาจจะถึงพันตัว ซึ่งตัวเล็กๆ ทั้งนั้น ส่วนโครงสร้างในทะเลเหนือ ผมเลือกตัวที่ ‘เล็กที่สุด’ มาจากส่วนเหนือของทะเลเหนือ น้ำลึกประมาณ 110-120 ม ซึ่งเป็นพื้นที่ของประเทศนอร์เวย์ เลือกแท่นผลิต โจฮัน สเวอร์ดัฟ ตัวที่… Continue reading Offshore Structure – The North Sea VS Gulf of Thailand

Assessment · Decommissioning · Details and Construction · Installation · Modelling Technique

Lift Modelling for Suction Bucket


Lift Modelling for Suction Bucket K.Kurojjanawong 18-Oct-2020 งานนี้เป็นงานรื้อถอนแท่นที่ติดตั้งอยู่ในทะเลเหนือ ซึ่งผมทำไปเมื่อสักสองปีที่แล้ว โดยรื้อถอนทั้งส่วนบน (Topside) และส่วนล่าง รวมไปถึงถังดูด (Suction Bucket) โดยเริ่มต้นนั้นโครงสร้างนี้ออกแบบมาให้ถอนตัวเองได้ คือติดตั้งเองและถอนตัวเองผ่าน Suction Pump แต่สุดท้ายโครงสร้างมีปัญหาการสั่นค่อนข้างมาก ทำให้เค้าต้องยึดแต่ละขาเข้าด้วยกัน ดังที่เห็นเป็น Truss สีเหลืองที่เค้าเชื่อมขาติดกันใต้น้ำ ทำให้สุดท้ายมันถอนตัวเองออกไม่ได้ เมื่อมีการตัดสินใจให้ถอนออกจึงต้องตัดส่วนล่างและส่วนบนออก แล้วยกส่วนบนออกก่อน หนักประมาณ 4800 ตัน จากนั้นแยกแต่ละขาออกจากกันด้วยการตัด Truss สีเหลืองที่อยู่ใต้น้ำออกแล้วยกขึ้นทีละขาทั้งตัวถังดูดขึ้นมาพร้อมกัน ตัว Suction Bucket ขนาดค่อนข้างใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 15 ม สูง 13 ม และตัวขาโครงสร้างนั้นเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.25 ม มีน้ำหนักรวมในการยกแต่ละครั้ง (ยกสี่ครั้ง) รวมไปถึงน้ำหนักของเพรียง (Marine Growth) ที่ติดขึ้นมาด้วยประมาณครั้งละ 1300 ตัน โดยก่อนที่จะใช้เครนยกขึ้นนั้น… Continue reading Lift Modelling for Suction Bucket

Decommissioning · Details and Construction · Installation · Marine Equipments · Offshore Structure

4000mT Internal Lifting Tool


4000mT Internal Lifting Tool K. Kurojjanawong, 1-Feb-2020 รูปการทดสอบ Internal Lifting Tool (ILT) ขนาดกำลังยก 4000 ตัน ใช้กับท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 84" ถือเป็นก้าวกระโดดที่สำคัญของ Lifting Equipment ILT ในปัจจุบันมีกำลังยกสูงสุดอยู่ที่ประมาณสองพันตัน ด้วยความต้องการของตลาดการรื้อถอนแท่นขนาดใหญ่ ทำให้ต้องพัฒนาอุปกรณ์แบบก้าวกระโดด ดังนั้นด้วย ILT ในภาพ ถ้าใช้ 4 ตัว จะมีกำลังยกได้ถึง 16000 ตัน สามารถยกโครงสร้างในทะเลขนาดกลางถึงใหญ่ได้สบายๆ ปล ILT จะใช้เสียบเข้าไปในท่อ จากนั้นจะมี Gripping teeth ยื่นออกมารอบกดไปที่ผนังท่อ อาศัยแรงเสียดทานในการยกโครงสร้างขึ้นมา โดยไม่ต้องใช้ Padeye หรือ Trunnion ซึ่งเหมาะมากกับแท่นเก่าๆ ที่ไม่รู้ว่า Padeye เดิมมีกำลังอยู่เท่าไร และไม่ต้องการติดตั้งหูยกใหม่หน้างานที่ลำบากและราคา แพง Ref. https://www.linkedin.com/posts/chris-de-ruiter-956b1942_another-milestone-in-ti-decom-and-wind-activity-6629031713802596354-IoiF

Assessment · Building · Decommissioning · Details and Construction · Interesting · Lesson Learnt · Offshore Structure · Structural History

ขวางใช่มั้ย ย้ายแม่มเลยยย


ขวางใช่มั้ย ย้ายแม่มเลยยย K.Kurojjanawong, 5-Jan-2020 มาดูวิธีที่โรมาเนียใช้เปลี่ยนแปลงผังเมืองเมื่อสามสิบกว่าปีก่อน อาคารเก่า 5 ชั้น ที่เป็นอุปสรรคของแผนการท่านผู้นำ โรมาเนียในปี 1987 ในสมัยการปกครองของผู้นำเผด็จการ มีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงผังเมืองของเมือง Alba Iulia ด้วยการตัดถนนสายหลักผ่ากลางเมือง (boulevard) อาคารถูกตัดเป็นสองส่วน อาคารถูกตัดเป็นสองส่วน เมือง Alba Iulia ซึ่งเต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่องในสไตล์สังคมนิยมโซเวียตจำนวนมาก เป็นที่ขวางหูขวางตาท่านผู้นำ Nicolae Ceausescu เป็นอย่างมาก รวมไปถึงโบสถ์จำนวนมากในเมือง ในจำนวนตึกเก่าทั้งหลาย มีอยู่หนึ่งตึกที่ตั้งขวางเส้นทางของถนนเส้นนี้ จึงจำเป็นต้องหาทางกำจัดออกไป ซึ่งจากการศึกษาเค้าพบว่าการจะทำลายอาคาร 5 ชั้น ขนาดหนัก 7600 หลังนี้ นั้นต้องใช้ค่าใช้จ่ายและค่าชดเชยจำนวนมาก เมื่อเทียบกับค่าขนย้าย อาคารถูกตัดเป็นสองส่วน ระบบไฮดรอลิกและรางที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายอาคาร ระบบไฮดรอลิกและรางที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายอาคาร เค้าจึงตัดสินใจทำการย้ายทั้งอาคารแทน โดยตัดอาคารออกเป็นสองส่วน แล้วตัดฐานรากออกจากตัวอาคาร จากนั้นใช้ Hydraulic Jack และ Steel Frame ยกอาคารขึ้นทีละอาคาร แล้วค่อยๆ ขยับมันออกไปตามรางเหล็กที่วางไว้ โดยแต่ละฝั่งขยับด้านข้างระยะ… Continue reading ขวางใช่มั้ย ย้ายแม่มเลยยย

Decommissioning · Naval Architect · Offshore Structure · Structural History

Say Goodbye to Froxtrot Class B-80 Submarine


Say Goodbye to Froxtrot Class B-80 Submarine K. Kurojjanawong, 26-Dec-2019 เรือดำน้ำ Froxtrot Class B-80 ซึ่งถูกปลดระวางลำนี้ กำลังจะถูกนำไปแยกส่วนขาย เรือเรือดำน้ำ Froxtrot Class ถืิอเป็นเรือดำน้ำที่น่าเกรงขามของสหภาพโซเวียตในยุคสงครามเย็น เรือลำนี้ถูกนำมายังกรุงอัมสเตอร์ดัมเมื่อปี 1991 โดยกลุ่มนักธุรกิจชาวดัช ในราคา 56000 ยูโร โดยมีแผนที่จะนำมาปรับปรุง เพื่อใช้ในการจัดประชุม จัดงาน หรือ อีเว้นท์ต่างๆ โดยจอดไว้ที่ท่าเรือ NDSM quay กลางเมืิองอัมสเตอร์ดัม ภายหลังเกิดปัญหาทางธุรกิจทำให้ไม่อาจบรรลุเป้าหมายเดิมได้ ปี 2008 มีการเปลี่ยนมือขึ้น โดยเรือลำนี้ถูกขายให้ Historische Schepen KNSM-Eiland Amsterdam ในราคา 90000 ยูโร โดยหวังจะใช้ทำเป็นพิพิธภัณฑ์ ด้วยสภาพ อายุและความเก่าของตัวเรือ ทำให้แผนต่างๆ ไม่ประสบความสำเร็จ เรือลำนี้จึงถูกเปลี่ยนมืออีกครั้งโดยขายให้บริษัทจากตุรกีในราคาที่ไม่เปิดเผย ด้วยราคาของเหล็ก ในตลาดที่สูงถึงมากกว่า… Continue reading Say Goodbye to Froxtrot Class B-80 Submarine

Decommissioning · Details and Construction · Installation · Marine Equipments · Offshore Structure

5000 mT F3-fa Topside Removing by SSCV Thialf, North Sea, 2019


5000 mT F3-fa Topside Removing by SSCV Thialf, North Sea, 2019 K. Kurojjanawong, 3-Sep-2019 ในรูปเป็นการถอน Topside ขนาดน้ำหนักประมาณ 5000 ตัน ด้วยเรือเครน Thialf ด้วยการยกแบบ Double Crane with 2 Spreader Bars และเค้าจะต้องถอนขาออกอีก 4 ขาซึ่งจะขึ้นมากับSuction Buckets น้ำหนักประมาณ 1200 ตัน ต่อขา ส่วนที่ยากคือการถอนขา เพราะต้องถอน Suction Bucket ขึ้นมาจากพื้นทะเลก่อน ตอนยก CoG มันจะเหวี่ยง เพราะ Bucket ข้างล่างหนักมาก ทำให้จำลองการวิเคราะห์ค่อนข้างยาก งานนี้ผมเป็นคนทำเอง ส่วน Topside Model สับสนและต้องเดาค่อนข้างเยอะ เพราะไม่รู้เค้าตั้งสมมติฐานอะไรมา แต่ก็ยกผ่านไปด้วยดี… Continue reading 5000 mT F3-fa Topside Removing by SSCV Thialf, North Sea, 2019

Decommissioning · Offshore Structure

Ophir – Decommissioning, Relocation, Modification & Commissioning (DRMC), Malaysia


Ophir - Decommissioning, Relocation, Modification & Commissioning (DRMC), Malaysia K. Kurojjanawong, 27-Aug-2019 Ophir platform เป็น Minimum Facilities ชนิดTripod ขนาดเล็กติดตั้งในมาเลเซียที่น้ำลึก73 ม เมื่อปี 2017 น้ำหนักรวมประมาณ 1500 ตัน ฐานรากเป็น suction piles 3 ต้น ขนาด 6m OD x 14m deep ติดตั้งด้วยการใช้ปั๊มสร้างแรงดูดในถังให้กดตัวลงใต้พื้นทะเล โดยไม่มีการตอก เนื่องจากอยู่ในแหล่งขนาดเล็ก หลังจากใช้งานได้ 2 ปี จึงหมด เค้าตัดสินใจถอนขึ้น แต่ไม่ทิ้ง นำไปใช้ยังแหล่ง Jintang ข้างกัน การถอนใช้ Heavy Lift Vessel - Asian Hercules… Continue reading Ophir – Decommissioning, Relocation, Modification & Commissioning (DRMC), Malaysia

Decommissioning · Details and Construction · Installation · Marine Equipments · Naval Architect · Offshore Structure

25,000 mT Brent Bravo Decomissioning by Reversed Floatover


25,000 mT Brent Bravo Decomissioning by Reversed Floatover K.Kurojjanawong, 25-Jun-2019 เป็นการถอนส่วนหัวของ Brent Bravo Platform ของบริษัท Shell ในทะเลเหนือเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ส่วนหัวหนัก 25000 ตัน นั่งอยู่บน Concrete Gravity Base ที่มี Concrete Shaft ตั้งขึ้นมา 3 แท่ง อยู่ในน้ำลึกประมาณ 150 ม รวมทั้งตัวสูงจากพื้นทะเลถึงหัวประมาณ 300 ม ตอนติดตั้งเค้าแบ่งเป็นโมดูล แล้วค่อยๆ ยกขึ้นวาง ใช้เวลาเป็นเดือน ตอนถอนใช้เรือ Pioneering Spirit ของ บริษัท Allseas ยกขึ้นมาทั้งตัวในทีเดียวในเวลาไม่กี่นาที ส่วนล่างที่เป็นคอนกรีต คงจะทิ้งไว้กลางทะเล เนื่องจากไม่กล้าถอนขึ้นเพราะกลัวเสียหาย จริงๆ แล้วโดยหลักการ มันควรจะ Refloat ขึ้นมาได้… Continue reading 25,000 mT Brent Bravo Decomissioning by Reversed Floatover

Decommissioning · Installation · Offshore Structure

Super Lift – Heerema’s Thialf and Saipem S7000


Super Lift – Heerema’s Thialf and Saipem S7000 K.Kurojjanawong 12-Feb-2018 เมื่อวานมีคนบอกว่า Topside บางตัวในอ่าวไทย อาจจะหนักเกิน Thialf ยกได้ มันติดใจผมมาก ผมเลยเอาสองตัวนี้มาให้ดู เป็นการยกที่เป็น World Record ทั้งสองครั้ง เมื่อปี 2010 และ ปี 2014 Heerema’s Thialf - Super Lift of 11435 MT Helwin 2 Topside เท่าที่ผมเห็นมา ผมว่า Topside ตัวนี้ใหญ่และหนักที่สุดที่ Thialf เคยยก เสร็จไปเมื่อปี 2014 Lift Wt - 11435 mT (10500mT not to exceed… Continue reading Super Lift – Heerema’s Thialf and Saipem S7000