Ocean Wave · Offshore Structure

Rayleigh distribution is NOT valid for very shallow water


Rayleigh distribution is NOT valid for very shallow water K.Kurojjanawong 19-Apr-2024 Extreme wave height ในช่วง Short Term Seastate หรือ Stationary Period สั้นๆ นั้นเราถือว่ามันมีการกระจายแบบ Rayleigh Distribution ซึ่งมีค่า Maximum Wave Height (Hmax) ที่ตำแหน่ง Most Probable Maximum ประมาณ 1.86 เท่าของ Significant Wave Height (Hs) และใช้ได้ดีมากเมื่อน้ำลึกมากๆ แต่ก็ยังเป็นจริงในระดับน้ำตื้นๆ แต่ถึงระดับหนึ่งเท่านั้น ในทีนี้ผมคิดว่าน้ำลึกต่ำกว่า 20 เมตร การใช้ Rayleigh Distribution อาจะจะให้ค่าสูงเกินจริงไปมาก และอาจจะถึงมากกว่า 20% เลยทีเดียว ดังแสดงในรูป… Continue reading Rayleigh distribution is NOT valid for very shallow water

Industry Code · Modelling Technique · Naval Architect · Ocean Wave · Offshore Structure

2nd Order Effect on Irregular Wave Analysis in Dynamic Time Domain


2nd Order Effect on Irregular Wave Analysis in Dynamic Time Domain K.Kurojjanawong 10-Oct-2021 Deterministic Design Wave Method ที่เป็นการเลือก Extreme Statistic Wave Height เพียง 1 ลูกมาใช้ในการออกแบบโครงสร้างในทะเล แบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้นไม่เป็นจริงและไม่ปลอดภัยทุกกรณีเสมอไป โดยมักจะใช้ได้ผลดีเมื่อโครงสร้างมีพฤติกรรมค่อนข้างเชิงเส้น และมีผลทางพลศาสตร์ต่ำ เช่น คาบธรรมชาติไม่เกิน 2 วินาที แต่เมื่อมันมี Nonlinear Effect มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งจากแรงกระทำ เนื่องจากคลื่นสูงมาก ทำให้เกิด Nonlinearity Effect กับผิวน้ำมีการขยับหรือ Skewness ขึ้นทางหัวคลื่นมากขึ้นเรื่อยๆ หรือการที่โครงสร้างมีผลทางพลศาสตร์มากขึ้น เช่นคาบธรรมชาติ สูงๆ เกิน 4 วินาที การใช้ Deterministic Design Wave Method… Continue reading 2nd Order Effect on Irregular Wave Analysis in Dynamic Time Domain

Industry Code · Modelling Technique · Ocean Wave · Offshore Structure · Statistics

The effect of uncertainty in wave period on wave forces


The effect of uncertainty in wave period on wave forces K.Kurojjanawong 1-Oct-2021 Wave period หรือ คาบของคลื่น เป็นค่าที่วิศวกรสนใจน้อยมาก เพราะส่วนใหญ่จ้องไปที่แต่ Wave height หรือความสูงคลื่น และวิศวกรส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจในหลักสถิติ ไม่เข้าใจข้อมูล และมักจะคิดว่าข้อมูลที่ได้เป็น Deterministic Value หรือมีค่าเดียว เพราะเราวิศวกรโยธาตัดปัญหาเกี่ยวกับสถิติออกไปหมดแล้วเลือกใช้ค่าที่ปลอดภัยที่สุด เช่น Fy ก็เลือกค่าที่ Percentile ที่ 5 มาใช้ หรือมีโอกาสที่จะมี Fy สูงกว่านั้นถึง 95% การที่เราเรียนมาแบบนั้น ทำให้วิศวกรคิดว่าทุกอย่างมันเป็นเลขเดียวแน่นอนไปหมด ซึ่งมันไม่มีในโลกความจริง โดยเฉพาะเมื่อทำงานเกี่ยวกับข้อมูลที่เป็น Random เช่น คลื่น ลม แผ่นดินไหว ที่เป็นข้อมูลชนิด Random ไม่มีอะไรแน่นอนทั้งนั้น ทุกอย่างต้องอธิบายด้วยสถิติทั้งหมด เนื่องจากแรงจากคลื่นนั้นจะควบคุมด้วยด้วยความสูงคลื่นเป็นหลัก เพราะยิ่งสูงก็ยิ่งกินพื้นที่รับแรงได้มากและยิ่งมีความเร็วของมวลน้ำมากขึ้น ดังนั้นวิศวกรจึงสนใจความสูงคลื่นมากเป็นพิเศษ… Continue reading The effect of uncertainty in wave period on wave forces

Building · Industry Code · Ocean Wave · Offshore Structure · Statistics · Wind

Return Period – Actions VS Environmental Event


Return Period - Actions VS Environmental Event K.Kurojjanawong 18-May-2021 Return Period หรือส่วนกลับคือ Annual Probability of Exceedance นั้นเป็นค่าที่หลายๆ คนคุ้นเคย เพราะต้องใช้อยู่เป็นประจำ และมีค่าที่มาตรฐานตั้งเป้าเอาไว้ เช่น 50 ปี, 100 ปี หรือ 10000 ปี ซึ่งค่าพวกนี้ วิศวกรส่วนใหญ่ เข้าใจไปในทางเดียวกันหมดว่าคือ Return Period ของ Environment Event เช่น ความสูงคลื่นที่มีคาบการกลับ 100 ปี หรือ ความเร็วลมที่มีคาบการกลับ 50 ปี อย่างไรก็ดี ควรต้องรู้ไว้ว่า Return Period นั้นสามารถที่จะกำหนดให้ค่าที่สนใจค่าไหนก็ได้ และมันไม่จำเป็นต้องส่งผ่านความน่าจะเป็นไปหากันด้วย หมายความว่าอย่างไร ? ความหมายก็คือ ถ้าเราใช้ ความเร็วลมที่มีคาบ… Continue reading Return Period – Actions VS Environmental Event

Industry Code · Ocean Wave · Offshore Structure · Statistics

Design Wave Method – New Wave Crest Requirement


Design Wave Method – New Wave Crest Requirement K.Kurojjanawong 11-Dec-2017 อันนี้ผมเคยเอามาเล่าเป็นปี ตามลิ้งค์ช้างล่าง ล่ะว่า เค้ากำลังจะเปลี่ยนจาก Design Wave Height เป็น Design Wave Crest Extreme Wave Crest OR Extreme Wave Height, K.Kurojjanawong, 1-Apr-2016 https://kkurojjanawong.wordpress.com/2017/01/03/extreme-wave-crest-or-extreme-wave-height/ คือ ปกติเราคำนวณหาค่าทางสถิติของ Extreme Wave Height เพื่อเอามาออกแบบโครงสร้าง เช่น 100yrs Extreme Wave Height กับ Mean Period แล้วก็ไปหา Wave Crest โดยผ่าน Wave Theory อย่าง Stoke 5th ซึ่งก็เหมือนที่ทำกันทั่วๆ… Continue reading Design Wave Method – New Wave Crest Requirement

Ocean Wave · Offshore Structure · Statistics

ทำไม Hmax = 1.86 Hs


ทำไม Hmax = 1.86 Hs K.Kurojjanawong แทบทุกคน คงจะชินกับสมการที่ว่า Hmax = 1.86 Hs แต่ไม่รู้ว่าเคยสงสัยกันรึป่าวว่า มันมายังไง แล้วมันเป็นค่านี้เสมอไปเหรอ ต้องบอกว่าไม่เสมอไปนะครับ ค่านี้ จริงๆ มาจากว่า Most  Probable Highest Amplitude in N cycles ซึ่งเดี๋ยวจะหาเวลามาอธิบายให้ฟังว่ามันมาได้ยังไง โดย จะเท่ากับ ค่า Amplitude ที่จะมากกว่า A จำนวน 1 ครั้งใน คลื่น N ลูก, A1/N = sqrt (2m0 ln N) ถ้าเราสมมติว่า short term wave มีการกระจายแบบ Rayleigh เราจะได้ Hs = 4… Continue reading ทำไม Hmax = 1.86 Hs

Ocean Wave · Offshore Structure · Statistics

On the Use of Directional Wave Criteria – G Z Forristall


On the Use of Directional Wave Criteria - G Z Forristall K.Kurojjanawong 23-May-2016 พอดี มีคน ส่ง เปเปอร์เรื่อง On the Use of Directional Wave Criteria by G Z Forristall มาให้อ่าน ก็ขอบคุณในทีนี้ ในเปเปอร์เค้าก็จะอธิบายเรื่องที่ผมโพสไปก่อนหน้านี้นี่ล่ะ แต่มีรายระเอียดและตัวอย่างให้ดูด้วย ใครสนใจก็เข้าไปอ่านดู ตามลิ้งค์ข้างล่าง https://www.researchgate.net/publication/245292977_On_the_Use_of_Directional_Wave_Criteria จะเห็นว่าถ้าตามเปเปอร์ ถ้าเราไม่สนใจ structural integrity เลยว่ามีผลกับ overall probability of failure ยังไง แค่พยายาม keep target probability of exceedance ของ environmental load เพียงอย่างเดียว… Continue reading On the Use of Directional Wave Criteria – G Z Forristall