Blogger Message

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว๊ปเพจ Offshore Structural Corner (มุมเล็กๆ สำหรับคนสนใจโครงสร้างนอกชายฝั่งทะเล)

สุขสันต์ปีใหม่ พศ ๒๕๖๕/ คศ 2022 หลังจากผ่านปีอันตรายมาได้อีกหนึ่งปี ขอให้เริ่มต้นปีใหม่นี้ด้วยเรื่องดีๆ สุขภาพแข็งแรงรอดพ้นจากโรคระบาดกันได้อีกเหมือนปีที่ผ่านมาและหวังว่าจะเป็นปีสุดท้ายของโรคระบาดสักที

สรุปสถิติการเข้าชมบล๊อกใน WordPress ในรอบปีของปี พศ ๒๕๖๔ / คศ 2021 ปีใหม่นี้ถือเข้าปีที่ 8 ที่ผมเปิดบล๊อกส่วนตัวเขียนเกี่ยวกับเรื่องทางเทคนิคลงในบล๊อกใน WordPress และเข้าปีที่ 6 ที่เปิดเพจในเฟสบุ๊ค

โดยสรุปแล้วพบว่า ปีนี้มีคนเข้าชมบล๊อก จำนวน 44895 คน เป็นการกดอ่านบทความจำนวน 74242 ครั้ง เพิ่มขึ้นมาจากปีที่แล้วประมาณ 15% และถือเป็นการเพิ่มขึ้น 5 ปี ติดต่อกัน แต่เป็นอัตราเร่งที่ลดลงเรื่อยๆ เข้าใจว่าคนสนใจงานด้านวิศวกรรมในบ้านเราวงการค่อนข้างจำกัดมาก

ปีที่ผ่านมามีเรื่องใหม่ 111 เรื่อง ประมาณเท่าปีที่แล้ว (110 เรื่อง) โดยถือว่าชะลอลงอย่างมากเมื่อเทียบกับสามปีก่อน ที่มีมากกว่าสองร้อยเรื่องต่อปี

โดยตั้งแต่เปิดบล๊อก มีคนเข้าชมแล้วประมาณ 111,000 คน และมีคนเปิดอ่านแล้วประมาณ 254,000 ครั้ง มีบทความทั้งหมด 816 เรื่อง

โดยบทความยอดนิยมสำหรับปี 2021 คือ ตอนที่ 1 ของโครงการเดลต้าเวิร์ค ที่ยังคงมีตอนเดียวและยังไม่ได้เขียนต่อ ถือเป็นการทำลายสถิติบทความที่ครองความนิยมทุกปีอย่าง เรื่อง “วิศวกรรมโครงสร้างนอกชายฝั่งเบื้องต้น” เป็นครั้งแรก

ในจำนวนการเข้าชม 74242 ครั้ง คิดเป็นคนไทยทั้งหมด 56958 ครั้ง หรือ 76.7% (คนไทยเพิ่มขึ้น 3% จากปีที่แล้ว) และคนต่างชาติ 23.2% ซึ่งมีคนจากหลายชาติและหลายทวีป ทั้งที่เขียนเป็นภาษาไทย แต่ยังคงมีคนใช้กูเกิ้ลทรานสเลทแปลเผื่ออ่านกัน และยังคงได้รับการร้องขอจากคนต่างชาติอยู่เป็นประจำให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ แต่พบว่ามันทำให้ผมเขียนได้ช้าลงและใช้เวลาต่อเรื่องเยอะขึ้น

ปีนี้จะพยายามลองไลฟ์สด พูดเรื่องทางเทคนิคมากขึ้นผ่านซูม ใครสนใจเรื่องอะไรก็ลองแนะนำกันมาได้ครับ

สำหรับท่านที่สนใจในบทความเก่าๆ ของผมสามารถติดตามได้จาก เพจนี้ หรือค้นได้จากลิ้งค์ข้างล่างครับ

WordPress – Offshore Structural Corner

https://kkurojjanawong.wordpress.com

Facebook Fanpage – Offshore Structural Corner

https://facebook.com/Offshore.Structural.Corner/

Blockdit – Offshore Structural Corner

https://www.blockdit.com/osc

Blockdit – สัพเพเหระไปกับวิศวกรเรื่องทั่วๆ ไปที่อยากจะเล่าให้ฟัง

https://www.blockdit.com/engview

แอดมิน
๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๕

——————————————-

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว๊ปเพจ Offshore Structural Corner (มุมเล็กๆ สำหรับคนสนใจโครงสร้างนอกชายฝั่งทะเล)

สุขสันต์ปีใหม่ พศ ๒๕๖๔/ คศ 2021 หลังจากผ่านปีมหาโหดมาได้ ขอให้เริ่มต้นปีใหม่นี้ด้วยเรื่องดีๆ สุขภาพแข็งแรงรอดพ้นจากโรคระบาดกันได้ทุกท่าน

สรุปสถิติการเข้าชมบล๊อกใน WordPress ในรอบปีของปี พศ ๒๕๖๓ / คศ 2020 ปีใหม่นี้ถือเข้าปีที่ 7 ที่ผมเปิดบล๊อกส่วนตัวเขียนเกี่ยวกับเรื่องทางเทคนิคลงในบล๊อกใน WordPress และเข้าปีที่ 5 ที่เปิดเพจในเฟสบุ๊คโดยสรุปแล้วพบว่า ปีนี้มีคนเข้าชมบล๊อก จำนวน 37957 คน เป็นการกดอ่านบทความจำนวน 64321 ครั้ง เพิ่มขึ้นมาจากปีที่แล้วประมาณ 48% และถือเป็นการเพิ่มขึ้น 4 ปี ติดต่อกัน

ปีที่ผ่านมามีเรื่องใหม่ 110 เรื่อง โดยถือว่าน้อยกว่าปีที่แล้วครึ่งหนึ่ง และน้อยที่สุดในรอบสามปี ทั้งที่ผมค่อนข้างว่าง ทำให้ผมรู้ตัวเองด้วยว่า ผมจะเขียนเยอะๆ ตอนงานยุ่งๆ เพราะถือเป็นการคลายเครียดโดยตั้งแต่เปิดบล๊อก มีคนเข้าชมแล้วประมาณ 99000 คน และมีคนเปิดอ่านแล้วประมาณ 180000 ครั้ง

โดยบทความยอดนิยมสำหรับปี 2020 ก็ยังเหมือนเดิมคือ เรื่อง “วิศวกรรมโครงสร้างนอกชายฝั่งเบื้องต้น” มีจำนวนคนเข้าชมทั้งหมด 4913 ครั้ง ตามมาด้วย “น้ำขึ้นน้ำลง” มีจำนวนคนเข้าชมทั้งหมด 1399 ครั้ง “ประวัติและความเป็นมาเบื้องหลังตัวคูณแรงลมในมาตรฐาน ASCE 7 และ มยผ 1311-50” จำนวน 1217 ครั้ง

ในจำนวนการเข้าชม 64321 ครั้ง คิดเป็นคนไทยทั้งหมด 47002 ครั้ง หรือ 73% และคนต่างชาติ 27% ซึ่งมีทั้งจาก U.S., Singapore, Malaysia, Vietnam, India etc. (ซึ่งอาจจะเป็นคนไทยที่อยู่ในต่างประเทศ เนื่องจากสถิติบันทึกจาก IP Address ที่ใช้ในการเข้าชม)

สำหรับท่านที่สนใจในบทความเก่าๆ ของผมสามารถติดตามได้จาก เพจนี้ หรือค้นได้จากลิ้งค์ข้างล่างครับ

WordPress – Offshore Structural Corner

https://kkurojjanawong.wordpress.com

Facebook Fanpage – Offshore Structural Corner

https://facebook.com/Offshore.Structural.Corner/

Blockdit – Offshore Structural Corner

https://www.blockdit.com/osc

Blockdit – สัพเพเหระไปกับวิศวกรเรื่องทั่วๆ ไปที่อยากจะเล่าให้ฟัง

https://www.blockdit.com/engview

แอดมิน
๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๓

——————————————-

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว๊ปเพจ Offshore Structural Corner (มุมเล็กๆ สำหรับคนสนใจโครงสร้างนอกชายฝั่งทะเล)

สุขสันต์ปีใหม่ พศ ๒๕๖๓/ คศ 2020 ขอให้ปีใหม่นี้มีแต่เรื่องดีเข้ามาในชีวิตทุกๆท่าน

สรุปสถิติการเข้าชมบล๊อกใน WordPress ในรอบปีของปี พศ ๒๕๖๒ / คศ 2019

ปีใหม่นี้ถือเข้าปีที่ 6 ที่ผมเปิดบล๊อกส่วนตัวเขียนเกี่ยวกับเรื่องทางเทคนิคลงในบล๊อกใน WordPress และเข้าปีที่ 4 ที่เปิดเพจในเฟสบุ๊คและเป็นปีแรกที่เปิดเพจใน Blockdit เพื่อดึงบทความจาก WordPress มาลง

ในรอบปีที่ผ่านมา เขียนเรื่องผสมปนเป ทั้งงาน Offshore และบางเรื่องของงานอาคารที่มีความสนใจ ซึ่งหลังๆ เขียนตามอารมณ์หรืองานที่ทำอยู่ ถือเป็นการจดบันทึกไว้ไม่ให้ตัวเองลืมด้วย ใครอาจจะเห็นว่ามีประโยชน์ก็นำไปอ้างอิงได้ (แต่ต้องรับผิดชอบกันเอง เพราะบางเรื่องผมอาจจะเข้าใจผิดก็ได้)

ปีหน้า เรื่องที่ผมสนใจ คือ เรื่อง Spectral Wind และ Wind Fatigue เนื่องจากมีคนเอามาถาม ทำให้ผมงงไปพอสมควร คงต้องหาเวลาอ่านสักพัก

ยังคงมีเรื่องเกี่ยวกับแผ่นดินไหวบางเรื่องที่ยังคงสนใจอยู่แต่คงไม่อยากจะยุ่งมาก เพราะว่าเจ้าที่ค่อนข้างแรง ดูไม่ต้องการให้ใครเข้าไปยุ่ง

เรื่องเกี่ยวกับการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างรับแรงจากการยก การออกแบบจุดยก การเลือกอุปกรณ์การยก และการจำลองโครงสร้างเพื่อการวิเคราะห์ทางวิศวกรรม ยังคงจะหาเวลาเขียนอยู่ แต่มันมีเรื่องอื่นเข้ามาแทรกจนลืมไป

โดยสรุปแล้วพบว่า ปีนี้มีคนเข้าชมบล๊อก จำนวน 21529 คน เป็นการกดอ่านบทความจำนวน 43 307 ครั้ง เพิ่มขึ้นมาจากปีที่แล้วประมาณ 31%

ปีที่ผ่านมามีเรื่องใหม่ 222 เรื่อง

โดยบทความยอดนิยมก็ยังเหมือนเดิมคือ เรื่อง “วิศวกรรมโครงสร้างนอกชายฝั่งเบื้องต้น” มีจำนวนคนเข้าชมทั้งหมด 1938 ครั้ง ตามมาด้วย “น้ำขึ้นน้ำลง” มีจำนวนคนเข้าชมทั้งหมด 1441 ครั้ง “Ship Stability Concept” จำนวน 928 ครั้ง

ในจำนวนการเข้าชม 43307 ครั้ง คิดเป็นคนไทยทั้งหมด 31390 ครั้ง หรือ 72.5% และคนต่างชาติ 27.5% ซึ่งมีทั้งจาก U.S., UAE, Singapore, Malaysia, NL, UK etc. (ซึ่งอาจจะเป็นคนไทยที่อยู่ในต่างประเทศ เนื่องจากสถิติบันทึกจาก IP Address ที่ใช้ในการเข้าชม)

รวมแล้วตั้งแต่เปิดบล๊อกมา มีบทความทั้งสิ้น 589 เรื่อง มีคนเข้าชม 61736 คน เปิดอ่าน 116510 ครั้ง ถือเป็นปีที่มีการทะลุหนึ่งแสนวิวเป็นครั้งแรก

อย่างไรก็ดี ยังมีปริมาณการเข้าชมที่สูงกว่านี้ แต่ไม่ได้มีการบันทึกไว้ โดยเฉพาะในเฟสบุ๊คที่ บางเรื่องผมลงในเฟสบุ๊คหรือบล๊อคดิตก่อน จึงเอาไปลงบล๊อก แต่ไม่สามารถรวมสถิติออกมาได้

สำหรับท่านที่สนใจในบทความเก่าๆ ของผมสามารถติดตามได้จาก เพจนี้ หรือค้นได้จากลิ้งค์ข้างล่างครับ

WordPress – Offshore Structural Corner
https://kkurojjanawong.wordpress.com

Facebook Fanpage – Offshore Structural Corner https://facebook.com/Offshore.Structural.Corner/

Blockdit – Offshore Structural Corner
https://www.blockdit.com/osc

Blockdit – สัพเพเหระไปกับวิศวกร
เรื่องทั่วๆ ไปที่อยากจะเล่าให้ฟัง
https://www.blockdit.com/engview

แอดมิน
๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓

—————————————————-

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว๊ปเพจ Offshore Structural Corner (มุมเล็กๆ สำหรับคนสนใจโครงสร้างนอกชายฝั่งทะเล)

สรุปสถิติการเข้าชมบล๊อกใน WordPress ในรอบครึ่งปีของปี พศ ๒๕๖๒ / คศ 2019 (จริงๆ มันเดือน 8 แล้ว ก็ช้าไปสักหน่อย)

เข้าปีที่ 5.5 ที่ผมเปิดบล๊อกส่วนตัวเขียนเกี่ยวกับเรื่องทางเทคนิคลงในบล๊อกใน WordPress และเข้าปีที่ 3.5 ที่เปิดเพจในเฟสบุ๊คเพื่อดึงบทความจาก WordPress มาลง

ในรอบปีที่ผ่านมา ผมเขียนเรื่องเกี่ยวกับแผ่นดินไหวและลม ไปซะเยอะเลย ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับงานที่ทำประจำวันค่อนข้างน้อย จึงรู้สึกเสียเวลาไปหน่อย เลยขอหยุดไปก่อน แต่ก็ยังมีเรื่องที่สนใจส่วนตัวอยู่ อย่างเช่น Incremental Dynamic Analysis (IDA), Performance Based Earthquake Engineering (PBEE), Accidental Torsion etc.. ซึ่งเอาไว้จะหาเวลาอ่านและมาเล่าให้ฟัง

ครึ่งปีหลัง ผมจะเขียนเรื่องเกี่ยวกับการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างรับแรงจากการยก การออกแบบจุดยก และการเลือกอุปกรณ์การยก ซึ่งเข้าใจว่าหาอ่านกันค่อนข้างยาก

อย่างไรก็ดี ประสบการณ์ผมส่วนใหญ่มาจากการยกขนาดใหญ่ ที่ต้องมีการวางแผนการยกล่วงหน้าเป็นอย่างดี ทำให้ค่าสัดส่วนความปลอดภัยจะต่ำกว่า การยกที่เป็น Routine Lift ดังนั้นใครจะนำไปใช้ต้องพิจารณาเองว่าเหมาะสมกับงานของตัวเองหรือไม่

อีกเรื่องที่มีความตั้งใจที่จะเอามาเล่าให้ฟังคือ การจำลองโครงสร้างเพื่อการวิเคราะห์ทางวิศวกรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่หาอ่านยากอีกหนึ่งเรื่อง ต้องอาศัยการผ่านงาน และ ผ่านการแก้ปัญหาจำนวนมาก จะทำให้เห็นข้อดีและข้อเสียของเทคนิคการจำลองโครงสร้างในแต่ละแบบ ซึ่งถ้าเข้าใจพื้นฐาน จะพบว่าแม้แต่โปรแกรมเล็กๆ ราคาไม่แพง ไม่มีฟังก์ชั่นพิเศษให้ใช้ ก็สามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้ ถ้ารู้จักการประยุกต์ใช้

โดยสรุปแล้วพบว่า ครึ่งปีนี้มีคนเข้าชมบล๊อก จำนวน 11039 คน เป็นการกดอ่านบทความจำนวน 22441 ครั้ง

ครึ่งปีที่ผ่านมามีเรื่องใหม่ 132 เรื่อง

โดยในครึ่งปีที่ผ่านมา บทความยอดนิยมก็ยังเหมือนเดิมคือ เรื่อง “วิศวกรรมโครงสร้างนอกชายฝั่งเบื้องต้น” มีจำนวนคนเข้าชมทั้งหมด 1144 ครั้ง ตามมาด้วย “ประวัติและความเป็นมาเบื้องหลังตัวคูณแรงลม” จำนวน 753 ครั้ง และ “น้ำขึ้นน้ำลง” จำนวน 722 ครั้ง

ที่น่าประหลาดใจ คือเริ่มมีการอ้างอิงบทความในบล๊อกผมลงใน วิทยานิพนธ์ และ วารสารวิชาการ ในต่างประเทศ มีทั้งส่งอีเมล์เข้ามาขออนุญาตผมโดยตรง และผมไปอ่านเจอโดยบังเอิญ (สงสัยคงจะรวบรวมพิมพ์ขายได้🙄)

ในจำนวนการเข้าชม 22441 ครั้ง คิดเป็นคนไทยทั้งหมด 16276 ครั้ง หรือ 72.5% และคนต่างชาติ 27.5% ซึ่งมีทั้งจาก U.S., UAE, SIngapore, Indonesia, Malaysia, NL, UK etc. (ซึ่งอาจจะเป็นคนไทยที่อยู่ในต่างประเทศ เนื่องจากสถิติบันทึกจาก IP Address ที่ใช้ในการเข้าชม)

รวมแล้วตั้งแต่เปิดบล๊อกมา มีบทความทั้งสิ้น 498 เรื่อง มีคนเข้าชม 51165 คน เปิดอ่าน 95489 ครั้ง คาดว่าจะถึง 100K ก่อนสิ้นปี

อย่างไรก็ดี ยังมีปริมาณการเข้าชมที่สูงกว่านี้ แต่ไม่ได้มีการบันทึกไว้ โดยเฉพาะในเฟสบุ๊คที่ บางเรื่องผมลงในเฟสบุ๊คก่อน จึงเอาไปลงบล๊อก แต่ไม่สามารถรวมสถิติออกมาได้

บทความส่วนใหญ่เขียนมาจาก การอ่านหนังสือและประสบการณ์การทำงาน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งอาจจะมีบางส่วนที่ผมเข้าใจผิดก็ได้ ดังนั้นผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณในการเลือกเสพเอาเอง

แอดมิน
๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒

——————————————-

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว๊ปเพจ Offshore Structural Corner (มุมเล็กๆ สำหรับคนสนใจโครงสร้างนอกชายฝั่งทะเล)

สุขสันต์วันปีใหม่ พศ 2562 / คศ 2019 ทุกท่าน ขอให้มีแต่ความสุขความเจริญ ประสบความสำเร็จในชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว เงินทองไหลมาเทมากันถ้วนหน้า

ปีใหม่นี้ถือเข้าปีที่ 5 ที่ผมเปิดบล๊อกส่วนตัวเขียนเกี่ยวกับเรื่องทางเทคนิคลงในบล๊อกใน WordPress และเข้าปีที่ 3 ที่เปิดเพจในเฟสบุ๊คเพื่อดึงบทความจาก WordPress มาลง เนื่องจากเป็น Platform ที่คนเข้าถึงง่ายกว่า WordPress แต่มันไม่เหมาะจะใช้เขียนเรื่องทางวิศวกรรม

ในปีที่ผ่านมาผมสนใจเรื่องในทะเลลดลงไปมาก เนื่องจากงานน่าสนใจน้อยลงและศึกษามามากพอสมควร ดังนั้นถ้าใครสนใจเรื่องไหนสามารถจะส่งข้อความถามได้ ถ้าทราบจะอธิบายให้ฟัง

ปีที่แล้วผมสนใจเรื่องลมและแผ่นดินไหวค่อนข้างมากเนื่องจากมีเพื่อนชอบมาปรึกษาบ่อยๆ โดยเฉพาะเรื่องตัวคูณแรงลมเมื่อต้นปีที่แล้ว เลยพาผมติดล่มเข้าไปใน มยผ และ ASCE 7 แบบไม่รู้ตัวจนจะครบหนึ่งปีแล้ว แต่การเขียนเรื่องพวกนี้กลายเป็นทำให้บล๊อกผมกลายเป็นที่รู้จักของวิศวกรโยธาในวงกว้างแบบผมก็ไม่ได้ตั้งใจ ทั้งที่มันก็เปิดมานานมากแล้ว

โดยสรุปแล้วพบว่า ปีนี้มีคนเข้าชมบล๊อก จำนวน 16430 คน เป็นการกดอ่านบทความจำนวน 33251 ครั้ง ถือว่ามากที่สุดในรอบเกือบ 5 ปีที่เปิดมา จากผลของการเขียนเกี่ยวกับเรื่องลมและแผ่นดินไหว

ปีที่ผ่านมามีเรื่องใหม่ 147 เรื่อง รวม 113,236 ตัวอักษร

โดยในปีที่ผ่านมา บทความยอดนิยมก็ยังเหมือนเดิมคือ เรื่อง “วิศวกรรมโครงสร้างนอกชายฝั่งเบื้องต้น” มีจำนวนคนเข้าชมทั้งหมด 4457 ครั้ง ตามมาด้วยน้องใหม่ปีนี้คือ “ประวัติและความเป็นมาเบื้องหลังตัวคูณแรงลม” จำนวน 1589 ครั้ง และ “น้ำขึ้นน้ำลง” จำนวน 997 ครั้ง (ทำไมคนอ่านเรื่องนี้มาก ผมก็งงๆ)

ในจำนวนการเข้าชม 33251 ครั้ง คิดเป็นคนไทยทั้งหมด 23340 หรือ 70% และคนต่างชาติ 30% ซึ่งมีทั้งจาก U.S., UAE, SIngapore, Indonesia etc. (ซึ่งอาจจะเป็นคนไทยที่อยู่ในต่างประเทศ เนื่องจากสถิติบันทึกขา IP Address ที่ใช้ในการเข้าชม)

แต่ก็ยังมีคนต่างชาติแวะเข้ามาเยี่ยมชมเสมอทั้งที่เขียนบอกเสมอว่าบล๊อกนี้เป็นภาษาไทย จนมีคนต่างชาติรีวิวเพจนี้ซะเรตติ้งตกเพราะไม่เขียนภาษาอังกฤษ ใครว่างก็รีวิวเพจให้ผมหน่อย กลายเป็นเพจสามดาวไปเฉยเลย 😭

อย่างไรก็ดี ยังมีปริมาณการเข้าชมที่สูงกว่านี้ แต่ไม่ได้มีการบันทึกไว้ โดยเฉพาะในเฟสบุ๊คที่ บางเรื่องผมลงในเฟสบุ๊คก่อน จึงเอาไปลงบล๊อก แต่ไม่สามารถรวมสถิติออกมาได้

และอย่างที่บอกเสมอ ผมไม่ใช่นักวิชาการหรืออาจารย์สอนหนังสือ ดังนั้นผมไม่มีเครดิต อยากเชื่อก็เชื่อ ไม่อยากเชื่อก็ไม่ต้องเชื่อ แล้วเวลามีคนมาถาม ผมจะบอกเสมอว่าอย่าเชื่อผมมาก ให้ไปอ่านแล้วทำความเข้าใจเอาเองด้วย ซึ่งโดยส่วนตัวผมก็ไม่เคยเชื่อใคร ไม่ว่าเค้าจะเป็นใคร มีเครดิตดีขนาดไหน เพราะทุกคนเข้าใจผิดได้เสมอ ดังนั้นงานที่ตัวเองรับผิดชอบ เชื่อตัวเองดีที่สุด ผิดพลาดมาจะได้ไม่ต้องโทษใคร

ส่วนใหญ่ผมจะสนใจการประยุกต์ใช้มากกว่าทฤษฎี ดังนั้นทุกอย่างที่เขียนเน้นไปเรื่องการนำไปใช้ซะมากกว่า บางเรื่องผมก็ยังใหม่ พิมพ์เร็วคำผิดเยอะ หรือ อาจจะเข้าใจผิดเลย ก็ต้องขออภัย เพราะผมก็ไม่ไปตามแก้อีก บล๊อกผมทำเป็นเหมือนสมุดโน๊ต ผิดก็ทิ้งไว้เลย หลายปีต่อมากลับมาอ่านใหม่ จะได้รู้ว่าตอนนั้นผมเคยเข้าใจแบบนั้น งั้นผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณในการเลือกเสพเอาเอง

สำหรับท่านที่สนใจในบทความเก่าๆ ของผมสามารถติดตามได้จาก เพจนี้ หรือค้นได้จาก Blog ตามลิ้งค์ข้างล่างครับ

https://kkurojjanawong.wordpress.com

แอดมิน

๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒

Email – kkurojjanawong@gmail.com

Facebook Fanpage – https://facebook.com/Offshore.Structural.Corner/

——————————————————————————————————————————-

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว๊ปเพจ Offshore Structural Corner (มุมเล็กๆ สำหรับคนสนใจโครงสร้างนอกชายฝั่งทะเล

ครบรอบ 4 ปี ที่ผมเปิดบล๊อกส่วนตัวเขียนเกี่ยวกับเรื่องทางเทคนิค สำหรับคนไม่ได้ตาม อาจจะงงว่าเขียนที่ไหนทำไมไม่เคยเห็น จริงๆ เขียนเล่นๆ มาสัก 6-7 ปีได้แล้วลงในกลุ่มปิดเล็กๆในเฟสบุ๊ค มีคนอยู่ไม่กี่ร้อยคน เขียนแก้เหงา เนื่องจากอยู่ ต่างประเทศ ไม่ค่อยมีอะไรทำ ปีนี้ครบรอบที่อยู่ต่างประเทศ มา 10 ปี พอดี ย้ายไปๆมาๆ หลายที่ หลายประเทศ ได้เห็นโลกกว้าง โดยเฉพาะเรื่องทางเทคนิค ที่หาดูหรืออ่านไม่ได้ในบ้านเรา เลยอยากจะเอามาเล่าให้ฟัง ต้องปิดกลุ่มและรับคนจำกัด เนื่องจากบางอย่างที่เอามาให้ดู มันอาจจะเซนซิทีฟ อย่างกำลัง on-going หรือ บิท อยู่ หรืออาจจะเป็นรูปที่มีลิขสิทธิ์ เลยให้ดูในวงจำกัด

บล๊อกส่วนตัวใน WordPress เปิดเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หลังจากเขียนเรื่อง วิศวกรรมโครงสร้างนอกชายฝั่งเบื้องต้น ลงในเว๊ปไซต์หนึ่ง แล้วคนนิยมอ่านมาก เนื่องจากเรื่องทางเทคนิคในอุตสาหกรรมนี้อาจจะค่อนข้างเป็นเรื่องลึกลับสำหรับคนวงนอก คนจึงมีความอยากรู้อยากเห็นค่อนข้างมาก

ผมเพิ่งเริ่มรวบรวมเรื่องเก่าๆ ที่เคยเขียนในเฟสบุ๊คมาลงในบล๊อกจริงๆจังๆ เมื่อต้นปีที่แล้ว และเปิดเป็นสาธารณะพร้อมกับเปิดเฟสบุ๊คเพจ จึงได้พบว่ามีคนสนใจเป็นจำนวนมาก ทั้งคนไทย และคนต่างชาติ ซึ่งแทบจะคิดเป็นครึ่งต่อครึ่ง ทั้งที่ผมเขียนบทความเป็นภาษาไทย

ซึ่งผมเข้าใจว่าเรื่องทางเทคนิคประยุกต์ในการทำงานที่เป็น practical จริงๆ ด้าน offshore มันหาอ่านยาก ไม่มีสอนในมหาลัย และ หาอ่านไม่ได้ในหนังสือ แต่มาจาก ประสบการณ์ การทำงาน ทุกวันนี้ ผมจึงได้รับอีเมล์จากคนต่างชาติบ่อยมาก ขอให้เขียนบทความเป็นภาษาอังกฤษแทน เพราะบางเรื่องผมแปะลงบล๊อกเป็นรูปภาพ เนื่องจากมีสมการเยอะ ทำให้เค้าใช้ google translate ไม่ได้ ข้างล่างเป็นสถิติชาติของคนเข้าชมครึ่งปีนี้

บล๊อกนี้ รวมแล้วตลอด 4 ปี มี 282 เรื่อง (จริงๆมากกว่านี้ ผมต้องไปตามเก็บออกมาจากกลุ่มเฟสบุ๊คก่อน) มีคนเข้าชม 33528 คน กดอ่าน 58636 ครั้ง ซึ่งมาเยอะจริงๆ คือหลังจากผมเปิดสาธารณะเมื่อต้นปีที่แล้ว

เฉพาะครึ่งปีนี้มีคนเข้าชมแล้ว 9800 คน กดดูแล้ว 18800 ครั้ง จบสิ้นปีน่าจะเป็นสถิติสูงที่สุดของบล๊อกนี้ เนื่องจาก ผมเริ่มเขียนเรื่องเกี่ยวกับงานบนฝั่ง เช่น ลม แผ่นดินไหว แล้ว มยผ ทำให้คนสนใจเข้ามาดูเยอะขึ้นมากจนน่าตกใจ ถึงขนาดมีคนมาตามอ่านประวัติผมเยอะขึ้นจนผิดปกติ คงสงสัยว่าไอ้นี่ใครกัน

ครึ่งปีหลังนี้ ผมอาจจะใช้เพจนี้แทนกลุ่มเฟสบุ๊คแทน เนื่องจากจะลดการเล่นเฟสบุ๊คลง (เล่นมากๆ อ่านข่าวเยอะๆ เครียด และกินเวลาค่อนข้างเยอะ เลยคิดจะเล่นเพจอย่างเดียว)

โดยผมยังสนใจเรื่องแผ่นดินไหว และ ลมอยู่ อาจจะมีเรื่องพวกนี้มากหน่อย เนื่องจากเป็นเรื่องที่ผมไม่เคยสนใจมาก่อนเลยต้องใช้เวลาอ่านมากหน่อย เพราะเป็น Minor Effect สำหรับโครงสร้างในทะเล เพราะแรงจากคลื่นและกระแสน้ำสูงกว่าค่อนข้างมาก เลยไม่ค่อยได้สนใจมาก่อน

การเริ่มศึกษาโค๊ดเกี่ยวกับแรงกระทำสำหรับโครงสร้างบนฝั่ง อย่าง มยผ หรือ asce 7 ถือเป็นการเปิดโลกทัศน์ผมค่อนข้างมาก เนื่องจากผมหลุดออกมาจากวงการวิศวกรรรมโยธาก่อนที่จะนำโค๊ดพวกนี้เข้ามาใช้ ทำให้ได้ศึกษาเปรียบเทียบการคำนวณแรงเรื่องเดียวกันระหว่างโครงสร้างสองชนิด โดยเฉพาะ Offshore Structure ที่นำ Advanced Technique เข้ามาใช้เยอะมาก ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบ ทำให้ผมเข้าใจโค๊ดบนฝั่งได้เร็ว และค่อนข้างลึก ซึ่งผมจะค่อยๆ ชำแหละ และอธิบายให้ฟัง ว่าทำไมเค้าถึงเขียนแบบนั้น มีวิธีอื่นที่ดีกว่านั้นมั้ย ถ้าเราเข้าใจเหตุผลเบื้องหลัง เราสามารถจะประยุกต์ใช้เองโดยไม่ต้องตามโค๊ดร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ยังได้

อย่างไรก็ดี บ้างเรื่องผมก็ยังใหม่ พิมพ์เร็วคำผิดเยอะ หรือ อาจจะเข้าใจผิดเลย ก็ต้องขออภัย เพราะผมก็ไม่ไปตามแก้อีก บล๊อกผมทำเป็นเหมือนสมุดโน๊ต ผิดก็ทิ้งไว้เลย หลายปีต่อมากลับมาอ่านใหม่ จะได้รู้ว่าตอนนั้นผมเคยเข้าใจแบบนั้น งั้นผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณในการเลือกเสพเอง

สำหรับท่านที่สนใจในบทความของผมสามารถติดตามได้จาก บล๊อกนี้ หรือ Facebook Fanpage และ Facebook Group ตามลิ้งค์ข้างล่างครับ

แอดมิน

Kasiphon Kurojjanawong

18 สิงหาคม 2561

Email – kkurojjanawong@gmail.com

Facebook Fanpage – https://facebook.com/Offshore.Structural.Corner/

——————————————————————————————————————————-

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว๊ปเพจ Offshore Structural Corner (มุมเล็กๆ สำหรับคนสนใจโครงสร้างนอกชายฝั่งทะเล)

สุขสันต์วันปีใหม่ พศ 2561 ทุกท่าน ขอให้มีแต่ความสุขความเจริญ ประสบความสำเร็จในชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว เงินทองไหลมาเทมากันถ้วนหน้า

สรุปเหตุการณ์ประจำปีที่ผ่านมา พศ 2560 ของ บล๊อกนี้ หลังจากผมเปิดบล๊อกเป็นสาธารณะเมื่อวันเดียวกันนี้เมื่อ 1 ปีที่แล้ว พบว่ามีคนเข้าชมเพิ่มขึ้นประมาณสามพันกว่าคน และเปิดชมบทความเพิ่มขึ้นประมาณหนึ่งหมื่นครั้ง เมื่อเทียบกับปี 2559 ที่ผมไม่ได้ลงบทความอะไรเลย มีเพียงบทความ “วิศวกรรมโครงสร้างนอกชายฝั่งเบื้องต้น” ที่คนชอบเข้ามาอ่านเป็นปกติตั้งแต่ปี 2558 แสดงว่ามีคนสนใจพอสมควร

stat2017.PNG

โดยบทความยอดนิยมยังคงเป็นเรื่อง “วิศวกรรมโครงสร้างนอกชายฝั่งเบื้องต้น” อยู่เหมือนเดิม มีคนเปิดอ่านถึง 4571 ครั้ง รองลงมาคือเรื่อง “Simplified Method of Hogging and Sagging Effect for Structural Calculation” และเรื่องอื่นๆ ตามลำดับ ทำให้ผมมีความคิดที่จะเขียนเรื่องแบบกว้างๆ ของการวิเคราะห์โครงสร้างนอกชายฝั่งแบบภาพรวม ซึ่งคิดว่าคงจะมีคนสนใจว่าเราทำอะไรกันในอุตสาหกรรมนี้ หลายๆท่านอาจจะนึกไม่ถึงว่างาน Offshore มันไปไกลขนาดไหนเมื่อเทียบกับงานทั่วๆ ไปที่อยู่บนฝั่ง

stat2017-1.PNG

ประเทศที่ครองแชมป์การเข้าชมมากที่สุดมาจากประเทศไทย ซึ่งก็แน่ละ ก็ผมเขียนเป็นภาษาไทยนี่น่า แต่ผมได้รับการร้องขอ ทั้งจากเพื่อนต่างชาติ และ ผู้เข้าชมอื่นๆ อยู่บ่อยๆ ให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งอันนี้ก็เป็นเรื่องที่คิดหนักอยู่เหมือนกัน เพราะตั้งใจจะเขียนให้คนไทยอ่าน ทำไปทำมา มีคนต่างชาติเข้ามาเยอะพอสมควร (ประมาณ 50-50 กับคนไทย) ก็อาจจะต้องทบทวนดูอีกครั้งเกี่ยวกับเรื่องนี้

stat2017-2.PNG

สำหรับเรื่องที่ผมสนใจในช่วงนี้ คงเป็นการออกแบบโครงสร้างรับแรงระเบิด ที่กำลังเรียบเรียงเป็นบทความให้อ่านเข้าใจง่ายๆ และเอาตัวอย่างจากที่เคยทำมาบ้างมาให้ดูเป็นไอเดีย และอีกเรื่องที่สนใจคือ พวก Random Wave Analysis by using Advance Dynamic Time Domain Analysis และ Reliability ซึ่งจะนำมาลงต่อๆ ไป

สำหรับท่านที่สนใจในบทความของผมสามารถติดตามได้จาก บล๊อกนี้ หรือ Facebook Fanpage และ Facebook Group ตามลิ้งค์ข้างล่างครับ

แอดมิน

Kasiphon Kurojjanawong

3 มกราคม 2561

Email – kkurojjanawong@gmail.com

Facebook Fanpage – https://facebook.com/Offshore.Structural.Corner/

Facebook Group –

——————————————————————————————————————————-

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว๊ปเพจ Offshore Structural Corner (มุมเล็กๆ สำหรับคนสนใจโครงสร้างนอกชายฝั่งทะเล)

บล๊อกนี้เปิดมาได้ 3 ปีแล้ว ตั้งแต่ปี 2557 แต่ผมแชร์บางเรืองสู่สาธารณะเท่านั้น ทีเหลือผมล๊อกเอาไว้ให้เฉพาะคนที่ผมอนุญาตอ่านเท่านั้น เนื่องจากที่ผ่านมามีหลายคนสนใจบางเรื่องที่ผมล็อกเอาไว้และส่งข้อความมาขอรหัสผ่าน เปิดปีใหม่ 2560 ผมเลยทำการเปิด Public ให้อ่านกันทั้งหมดเลยแล้วกัน แล้วก็รวมรวมอีกหลายเรื่องที่ผมเคยเขียนไว้ใน facebook group มาลงเพิ่มด้วย เนื่องจากเขียนมาสัก 6-7 ปี แล้ว มันเลยมีจำนวนหลายร้อยเรื่องอยู่ จะค่อยๆ ทยอย นำมาลง

บ้างเรื่อง ก็ไร้สาระ บ้างเรื่อง ผมอาจจะเข้าใจผิดเอง ก็เลือกเสพ กันเอาเองนะครับ ถ้าจะกรุณา ก็ช่วย response ด้วย หรือ อะไร ผิด ก็แจ้งหน่อย

ผมจัดไว้ เป็นหมวดหมู่ สามารถเลือกดูได้ เป็นเรื่องตามข้างล่างเลย

ถ้าเปิดจาก มือถือ จะเห็น Menu ข้างบน กดลงไป จะเห็น หมวดหมู่ กดเลือก แล้วจะเห็น บทความในแต่ละหมวดหมู่ ตามรูป

ถ้าเข้าจากคอม ก็ กดที่ส่วนบนสุดของ เพจ ได้เลยครับ

เนื่องจากหลายคนกดติดตามใน wordpress ไม่เป็น ผมเลยเปิดแฟนเพจในเฟสบุ๊คไว้ ตามลิ้งค์ข้างล่าง เพื่อให้ง่ายในการติดตามมากขึ้น

https://facebook.com/Offshore.Structural.Corner/

หวังว่าจะมีประโยชน์บ้าง

แอดมิน

Kasiphon Kurojjanawong

Email -kkurojjanawong@gmail.com

3 มกราคม 2560

15822991_10208138674880700_6866241786615801934_n.jpg

Capture.PNG

——————————————————————————————————————————-

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว๊ปเพจ Offshore Structural Corner

เพจนี้เป็นเพจส่วนตัวของผมในการแชร์เรื่องเกี่ยวกับโครงสร้างนอกชายฝั่ง (Offshore Structure) ทั้งในเรื่องการเทคนิคออกแบบ ก่อสร้าง ติดตั้ง และรื้อถอน รวมไปถึง lesson learnt ในงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ต่างๆ ในด้านนี้ ทั้งที่อยู่ในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยผมรวบรวมและเขียนขึ้นจากประสบการณ์การทำงานส่วนตัวทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมไปถึงจากบทความทางวิชาการ โดยสรุปออกให้คนทั่วๆ สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ

ในบทความที่เกี่ยวกับเรื่องเทคนิคเชิงวิศวกรรมมากๆ ผมขอล็อคพาสเวิร์ดเอาไว้ให้คนที่ผมอนุญาต เข้าอ่านได้เท่านั้น เนื่องจากบางครั้งมีการนำข้อมูลในงานจริงมาร่วมอธิบายในบทความด้วย ซึ่งบางอย่างเป็นข้อมูลของแต่ละบริษัทที่ลงทุนศึกษามา จึงไม่อยากให้มันกระจายในวงกว้างเกินไปนัก เพราะผมก็ไม่ได้ข้ออนุญาตเป็นทางการ ส่วนเรื่องที่เป็นเรื่องกว้างๆ ทั่วไป เปิดให้เข้าชมและแชร์ได้ทั่วไป

สำหรับท่านที่เข้ามาใหม่ ท่านสามารถกดอ่านบทความได้ จาก sidebar ทางด้านขวามือหรือด้านบนสุดของเพจสำหรับคนที่เปิดจากคอมพิวเตอร์ หรือเลื่อนลงไปล่างสุดสำหรับที่อ่านจากมือถือ โดยสามารถเลือกได้จาก categories, top post หรือ recent post ก็ได้ ตามความสะดวกส่วนตัว

พึงระลึกไว้ด้วยว่า มารยาทในการเข้าชมและแชร์บทความในเว๊ปเพจนี้ คือควรต้องให้เครดิตผู้เขียนด้วย เนื่องจากผมเห็นว่าขณะนี้มีบางเพจและกลุ่มในเฟสบุ๊ค นำบทความที่ผมเขียนไปแชร์และเผยแพร่ โดยคัดลอกไปแต่เนื้อความและตัดชื่อผู้เขียนออก ซึ่งถือเป็นการกระทำที่มิใช่วิสัยของผู้มีการศึกษาพึงกระทำ

ด้วยความเคารพ

K.Kurojjanawong

Email -kkurojjanawong@gmail.com

26 เมษายน 2558

——————————————————————————————————————————-

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว๊ปเพจ Offshore Structural Corner

K.Kurojjanawong

Email -kkurojjanawong@gmail.com

31 กรกฏาคม 2557

Leave a comment