Building · Earthquake · Industry Code · Offshore Structure · Reliability · Statistics

High Confidence of Low Probability of Failure (HCLPF)


High Confidence of Low Probability of Failure (HCLPF) K.Kurojjanawong 17-Jun-2022 ในศาสตร์เรื่อง Seismic Risk Based Analysis หรือ Probabilistic Seismic Analysis นั้นมันมีศัพท์เทคนิคอยู่หนึ่งคำคือคำว่า High Confidence of Low Probability of Failure ตัวย่อคือ HCLPF คำนี้จะนิยมใช้มากในพวก Power Plant and Nuclear Facilities Structure และศาสตร์เกี่ยวกับ Risk Analysis ความหมายนั้นก็ตรงตามนิยามเลย คือระดับความเร่งพื้นดิน ที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าจะทำให้โครงสร้างมีโอกาสสูงที่ Probability of Failure (Pf) นั้นจะต่ำกว่าเป้าหมายที่ต้องการ​ (ไม่ได้การันตี​ แต่โอกาสสูงมาก)​ ในทาง Engineering มีสองคำ คือ Deterministic Analysis… Continue reading High Confidence of Low Probability of Failure (HCLPF)

Building · Earthquake · Industry Code · Offshore Structure · Reliability

Hazard Base Analysis VS Risk Base Analysis


Hazard Base Analysis VS Risk Base Analysis K.Kurojjanawong 4-Jun-2022 Hazard Base Analysis กับ Risk Base Analysis แตกต่างกันอย่างไร? คิดว่าหลายคนยังแยกกันไม่ออก มาทำความเข้าใจกันว่ามันแตกต่างกันอย่างไร โดยขอเน้นไปเรื่องแผ่นดินไหว เนื่องจากมีคนสนใจ และคุ้นเคยมากที่สุด จริงๆ แล้วเรื่องอะไรก็ใช้หลักการเดียวกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น แผ่นดินไหว ลม คลื่นทะเล หรือ แรงอะไรก็ได้ มันก็แยกได้ทั้ง Hazard Base Analysisหรือ Risk Base Analysis เหมือนกัน โดยปกติเราจะความน่าจะเป็นสองฝั่ง ดังแสดงในรูปกลาง คือ Demand และ Capacity ซึ่งไม่มีความแน่นอนทั้งคู่ โดยฝั่งซ้ายคือ Demand ในที่นี้คือแรง ถ้าเน้นมาที่แผ่นดินไหว อาจจะเป็นความเร่งพื้นดินก็ได้ เนื่องจากแรงแปรผันตรงกับความเร่งพื้นดิน ส่วนฝั่งขวา Capacity ก็คือกำลังของโครงสร้างที่จะต้านทานแรงให้ได้ ถ้ามันต่ำกว่าแรงกระทำ… Continue reading Hazard Base Analysis VS Risk Base Analysis

Modelling Technique · Ocean Wave · Offshore Structure · Random Vibration · Reliability

Example of DAF Calculation from Nonlinear Inelastic Dynamic Random Wave Analysis (EDAF)


Example of DAF Calculation from Nonlinear Inelastic Dynamic Random Wave Analysis (EDAF) K.Kurojjanawong 30-Sep-2021 การวิเคราะห์เพื่อหา Dynamic Amplification Factor (DAF) นั้นมีหลายระดับมาก ขึ้นอยู่กับระดับความซับซ้อนของปัญหาที่สนใจ ระดับที่ง่ายที่สุด ก็คือ สมมติว่ามันเป็น Single Degree of Freedom (SDOF) แล้วคำนวณตามสมการอย่างง่ายแล้วนำไปใช้เลย ซึ่งเป็นวิธีที่ทุกคนคุ้นเคยที่สุด อย่างไรก็ดีมันเหมาะกับปัญหาอย่างง่ายเท่านั้น เช่น มีคาบธรรมชาติห่างจาก คาบของแรงกระทำอย่างน้อย สัก 3 เท่า ไม่ว่าจะน้อยกว่าสามเท่าหรือสูงกว่าสามเท่า จะสามารถทำให้หลบช่วง Resonance ได้อย่างมีนัยยะ ทำให้ผลของ Dynamic Excitation มันต่ำมาก ดังนั้นการใช้ SDOF จึงค่อนข้างปลอดภัย เพราะให้ค่าสูง และ DAF ที่ได้รับออกมาต่ำอยู่แล้ว เช่นน้อยกว่า 1.10… Continue reading Example of DAF Calculation from Nonlinear Inelastic Dynamic Random Wave Analysis (EDAF)

Industry Code · Ocean Wave · Offshore Structure · Reliability

Environmental Contour Line and IFORM Omission Factor


Environmental Contour Line and IFORM Omission Factor K.Kurojjanawong 18-Sep-2021 บทความก่อนหน้านี้ได้แนะนำคร่าวๆ ในเรื่อง IFORM (Inverse First Order Reliability Method) ซึ่งจะเป็นการสลับกับ FORM (First Order Reliability Method) โดย FORM นั้นเราต้องการหา Probability of Failure (Pf) เมื่อรู้การกระจายของ Action และ Capacity ในขณะที่ IFORM นั้นเรารู้ Pf จากที่มาตรฐานกำหนดมาว่าต้องการที่เท่าไร และรู้การกระจายของ Actions เราจะต้องหาว่าเราต้องการ Capacity ที่เท่าใด ในการไปให้ถึง Pf ที่ต้องการ ใครต่อไม่ติดสามารถกลับไปอ่านบทความก่อนหน้า และอีกหลายบทความเกี่ยวกับ Reliability ย้อนหลังได้ https://kkurojjanawong.wordpress.com/2021/07/03/approximated-long-term-extreme-response-by-using-environmental-contour-line/ การนำ Environmental Contour… Continue reading Environmental Contour Line and IFORM Omission Factor

Industry Code · Ocean Wave · Offshore Structure · Reliability · Statistics

Approximated Long-Term Extreme Response by using Environmental Contour Line


Approximated Long-Term Extreme Response by using Environmental Contour Line K.Kurojjanawong 3-Jul-2021 ในการออกแบบโครงสร้างนั้นเราต้องการรู้ว่าจะทำให้โครงสร้างมี Resistance อยู่ที่เท่าใด ซึ่งเราไม่สามารถจะกำหนดได้ถ้าเราไม่รู้ว่าผลตอบสนองของโครงสร้างมันอยู่เท่าไร เช่น เราต้องรู้ว่าโครงสร้างจะเกิด Base Shear เท่าไร หรือ โครงสร้างจะโยกไปมากน้อยขนาดไหน เมื่อเรารู้ Extreme Response ของโครงสร้าง เราก็แค่หาวัสดุหรือขนาดโครงสร้างที่เหมาะสมมาใส่ เพื่อให้มันสามารถที่จะรับ Extreme Responses นั้นได้ ในการหา Extreme Resposnes นั้นจะต้องวิเคราะห์ชุดข้อมูลที่มีทั้งหมดแล้วใช้หลักสถิติในการทำนายค่าสูงสุดที่ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ตลอดอายุการใช้งาน เรียกว่า Long-Term Response Analysis ซึ่งสามารถจะทำได้ไม่ยากถ้าโครงสร้างมีพฤติกรรมแบบ Linear โดยอาจจะใช้วิธี Frequency Domain Analysis หรือ Spectral Analysis ในการวิเคราะห์เพื่อหาค่าตอบสนองออกมา แต่เมื่อโครงสร้างมีพฤติกรรมแบบ Nonlinear นั้นมันจะยากในทางปฏิบัติทันที เนื่องจากต้องวิเคราะห์ Time History… Continue reading Approximated Long-Term Extreme Response by using Environmental Contour Line

Industry Code · Offshore Structure · Reliability · Statistics

The Benefit of Environmental Contour Line


The Benefit of Environmental Contour Line K.Kurojjanawong 27-Jun-2021 ทำไม Environmental Contour Line มันถึงมีประโยชน์ และถ้าไม่ใช้หลักการนี้เราจะต้องทำอย่างไร บทความนี้จะเล่าให้ฟังแบบคร่าวๆ การวิเคราะห์โครงสร้างที่เป้าหมายอยู่ที่ Response ไม่ใช่ Environmental Events  แบบมาตรฐาน NORSOK ของนอร์เวย์นั้นทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากสิ่งที่มาตรฐานต้องการนั้นไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับระบบโครงสร้างที่เราสนใจ ไม่เหมือนมาตรฐาน API ของอเมริกันที่เป้าหมายอยู่ที่ Environmental Events อย่างไรก็ดีการตั้งเป้าหมายที่ Structural Response นั้นโดยหลักการทางด้าน Structural Safety ก็ถือว่าถูกต้องกว่าเนื่องจากเป็นสิ่งที่เราต้องการควบคุม แต่วิเคราะห์ได้ยากลำบากมากกว่าการตั้งเป้าหมายที่ Environmental Events มาก โดยเฉพาะเมื่อระบบโครงสร้างนั้นมีพฤติกรรมแบบ Nonlinear การที่เราต้องการที่จะควบคุม Structural Response ให้มี Probability of Exceedance ให้ไม่เกินค่าเป้าหมายที่กำหนด เราจะต้องทำอย่างเดียวคือ Long Term Response… Continue reading The Benefit of Environmental Contour Line

Industry Code · Offshore Structure · Reliability · Statistics

Introduction to Environmental Contour Line


Introduction to Environmental Contour Line K.Kurojjanawong 26-Jun-2021 วันนี้จะพามารู้จัก Environmental Contour Line คิดว่าหลายคนอาจจะไม่เคยได้ยินชื่อนี้เลยว่ามันคืออะไร แม้กระทั่งคนที่ทำงาน Offshore Structure มาหลายสิบปีก็อาจจะไม่เคยได้ยิน เพราะในบ้านเราไปไม่ถึงสิ่งพวกนี้ หรือ ตามหลังทฤษฏีที่ใช้ในงานต่างประเทศไปเกิน 20-30 ปี ซึ่งถ้าไม่ออกมาทำงานต่างประเทศก็คงจะไม่มีทางได้เห็นเรื่องพวกนี้ ยกเว้นออกมาเรียนต่อ ซึ่งพอกลับไปก็ไม่มีใครใช้อีก เพราะเทคโนโลยีบ้านเรามันล้าหลังเค้าไปมาก ผมก็จะเอาประสบการณ์ที่ได้เห็นมา ค่อยๆ เล่าให้ฟัง ถ้าใครรับไปพัฒนาวงการวิศวกรรมในบ้านเราก็คงจะดีใจไม่น้อย Environmental Contour Line เป็นชื่อเฉพาะที่นำมาใช้กับความน่าจะเป็นของ Seastate หรือความสูงคลื่นในทะเล จริงๆ แล้วชื่อตามทฤษฏีสถิติก็คือ Iso-Probability Coutours ซึ่งเป็นเส้นที่มีความน่าจะเป็นเท่ากันทั้งเส้น ซึ่งจะนำไปใช้ทำอะไร เดี๋ยวจะเล่าให้ฟัง Reliability Index คือระยะทางสั้นที่สุดจากจุด Mean ของ Limit State Function (g = Q-R) ไปยัง Failure… Continue reading Introduction to Environmental Contour Line

Industry Code · Offshore Structure · Reliability · Statistics

Reliability Index VS LRFD Load Factor


Reliability Index VS LRFD Load Factor K.Kurojjanawong 22-Jun-2021 หลังจากได้เล่าเรื่อง Reliability Index มาหลายบทความ คิดว่าตอนนี้คงพอเข้าใจกันแล้วว่ามันคืออะไร แล้วมันสัมพันธ์อะไรกับวิธี Load and Resistance Factor (LRFD) ที่เราใช้กัน พอจะคิดกันออกบ้างมั้ย หลักการก็ง่ายๆ เลย เป้าที่เราต้องการคือ Probability of Failure (Pf) ซึ่งมันมีความสัมพันธ์กับค่า Reliability Index เมื่อรู้ค่าใดค่าหนึ่งจะรู้อีกค่าหนึ่งทันที โดย Reliability Index จะคือ Negative Z-Score ของ Limit State Distribution (g) ที่ผ่านการแปลงมาเป็น Standard Normal Distribution ดังนั้นเมื่อเราตั้งเป้าที่ค่า Probability of Failure (Pf) ที่ต้องการ เราจะสามารถคำนวณ Reliability… Continue reading Reliability Index VS LRFD Load Factor

Industry Code · Offshore Structure · Reliability · Statistics

Reliability Index VS Z-Score


Reliability Index VS Z-Score K.Kurojjanawong 21-Jun-2021 บทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจว่า Reliability Index มันเกี่ยวอะไรกับ Standard Z-Score หลายคนอาจจะงงแม้กระทั่ง Z-Score คืออะไร เพราะคืนครูกันหมดแล้ว จริงเราเรียนเรื่องความน่าจะเป็นกันตั้งแต่มัธยมปลาย แล้วเน้นไปที่ Normal Distribution และ Standard Score หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า Z-Score ด้วย เป้าหมายในการทำ Reliability Analysis คือ Probability of Failure (Pf) โดยมีค่า Reliability Index เป็นตัวช่วยให้คำนวณ Pf ได้ง่ายขึ้น โดย Pf คือพื้นที่ของ Limit State Distribution (g) เมื่อ g < 0 โดย Probability Distribution… Continue reading Reliability Index VS Z-Score