Details and Construction · Installation · Marine Equipments · Modelling Technique · Naval Architect · Offshore Structure

Catamaran Tows – Dynamic Load Supports


Catamaran Tows - Dynamic Load Supports K.Kurojjanawong 9-Dec-2023 ความท้าทายของการขนส่งแบบ Catamaran Tows หรือการขนส่งด้วยการนั่งคร่อมบนเรือสองลำนั้น คือจะทำอย่างไรให้มันเคลื่อนที่ไปด้วยกัน โดยมีการ Relative motions น้อยที่สุด เพราะทุกการเคลื่อนที่มันไม่สัมพันธ์กัน แรงจะถูกส่งผ่านไปยังโครงสร้างที่นั่งคร่อมอยู่ข้างบนทันที พูดง่ายๆ ก็คือ โครงสร้างทำหน้าที่เป็น Tie-Beam ยึดเรือสองลำเอาไว้ด้วยกัน ปัญหาก็คือ เรายึดโครงสร้างแน่นกับเรือทั้งสองฝั่งก็ไม่ได้ เพราะแรงจะถูกส่งผ่านมายังโครงสร้างสูงมาก ทำให้ต้องเพิ่มขนาดโครงสร้างเพื่อรับแรงดังกล่าว ในขณะที่การขนส่งแบบนี้ใช้เวลาแค่ไม่กี่อาทิตย์ เมื่อเทียบกับอายุโครงสร้างที่ต้องใช้งานหลายสิบปี การเพิ่มขนาดโครงสร้างเพราะช่วงขนย้ายสั้นๆ จึงไม่สมเหตุสมผล ดังนั้นเราจึงต้องหา Optimum Fixities ระหว่างโครงสร้างและเรือที่จะทำให้มันเคลื่อนที่ไปด้วยกัน โดยไม่สิ้นเปลืองจนเกิดจำเป็น โดยปกติ ก็จะเป็นการนั่งลงไปตรงๆ บน Grillage ที่เรือแต่ละฝั่ง ดังที่เห็นในรูป ซึ่งการนั่งลงไปตรงๆ นั้นจะทำให้โครงสร้างนั้นสามารถที่จะหมุนได้ ดังที่เห็นในรูปทางขวา ทำให้โครงสร้างมีโอกาสที่จะหมุนจนหลุดออกจากเรือได้ เมื่อเกิดคลื่นวิ่งขวางกับเรือทั้งสองลำ การขนส่งแบบนี้จึงมีส่วนที่สำคัญที่ขาดไม่ได้เรียกว่า Dynamic Load Supports หรือบางครั้งจะเรียกว่า Tie-Down Seafastening… Continue reading Catamaran Tows – Dynamic Load Supports

Foundation · Installation · Marine Equipments · Offshore Structure

Piling Noise Reduction Equipment


Piling Noise Reduction Equipment K.Kurojjanawong 31-Aug-2023 ในปัจจุบันนอกจากเสาเข็มกลางทะเลจะใหญ่มาก จนเส้นผ่าศูนย์กลางเกิน 10 เมตรไปแล้ว (ครอบห้องคอนโดขนาด 100 ตร ม ได้สบาย) เทคโนโลยีการตอกเข็มก็วิ่งเร็วไม่แพ้กัน เพราะว่าจะไม่มีประโยชน์อะไรที่เสาเข็มใหญ่ได้ แต่ไม่สามารถจะตอกมันลงได้ และอีกเรื่องที่ความรู้วิ่งเร็วไม่แพ้กันก็คือ เรื่องสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบัน การติดตั้งหรือรื้อถอนโครงสร้างในทะเลในประเทศพัฒนาแล้ว มีข้อจำกัดด้านมลภาวะทางเสียงอีกด้วย มีข้อกำหนดทั้งความดังของเสียง และ ระยะเวลาที่เกิดเสียง ซึ่งจะส่งผลต่อ คุณภาพชีวิตของสัตว์ทะเลในระยะยาว ทำให้การติดตั้งหรือรื้อถอนโครงสร้างในทะเลในประเทศที่พัฒนาแล้ว มันยากขึ้นเรื่อยๆ หลายเดือนก่อนเคยเอาเรื่อง BBC (Big Bubble Curtain) หรือ การสร้างม่านฟองอากาศเพื่อลดความดังของเสียงมาเล่าให้ฟัง ซึ่งเป็น Post Mitigation หรือเสียงเกิดมาแล้วหาอะไรไปกั้นมันไว้ ปัจจุบันมีการพัฒนาระบบ Pre Mitigation หรือ ทำให้เกิดเสียงลดลงตั้งแต่ตอนตอกเลย ด้วยการนำ Damper เข้าไปกั้นระหว่าง หัวเสาเข็มกับ Anvil ของค้อน Damper ที่ว่าก็ทำตัวคล้ายๆ กับ… Continue reading Piling Noise Reduction Equipment

Installation · Marine Equipments · SACS

2100 mTon Jacket with 2 Blocks Wet Upending, Angola


2100 mTon Jacket with 2 Blocks Wet Upending, Angola K. Kurojjanawong, 19-Apr-2023 ปกติ Offshore Crane จะมี 2 Hooks เป็นอย่างน้อยคือ Main Hook ไม่ได้อยู่ที้ปลายแต่อยู่ถัดจาก Auxiliary Hook กำลังยกจะสูงที่สุด เวลาบอกกำลังยกของเครนจึงมักอ้างที่กำลังของ Main Hook Auxiliary Hook จะอยู่ที่ปลายเครน กำลังยกรองลงมา ถ้าเครนตัวใหญ่ๆจะมี Whip Hook ด้วยซึ่งกำลังยกต่ำที่สุด 2 Blocks Upending คือการยกโครงสร้างแล้วหมุนขึ้นตั้งโดยใช้เครนตัวเดียว แต่ใช้ 2 Crane Blocks คือ Main Hook (กำลังยกสูงที่สุด) และ Auxiliary Hook (กำลังยกรองลงมา) โดยปกติเครนที่จะทำ 2 Blocks… Continue reading 2100 mTon Jacket with 2 Blocks Wet Upending, Angola

Foundation · Installation · Marine Equipments · Offshore Structure · Technology

Noise Abatement by BBC Technique


Noise Abatement by BBC Technique K. Kurojjanawong, 9-Mar-2023 เทคนิคการลดเสียงจากการตอกเสาเข็มในทะเลด้วย Big Bubble Curtain (BBC) Technique BBC คือการใช้ฟองอากาศในน้ำเป็น​ noise damper หรือช่วยลดความดังของเสียงใต้น้ำลง​ โดยทำการวางท่ออากาศรอบๆบริเวณ​ที่จะตอกเสาเข็ม​ ประมาณเส้นผ่าศูนย์กลาง​ 100-150​ เมตร​ จากนั้นอัดอากาศเข้าไปให้เกิดม่านฟองอากาศระหว่างการตอกเสาเข็ม ฟองอากาศจะล้อมบริเวณนั้นๆ เหมือนม่าน จึงเรียก Big Bubble Curtain (BBC) ซึ่งจะช่วยให้เสียงส่งผ่านออกไปได้ลดลงทั้งความดังและระยะทาง เนื่องจากน้ำหนาแน่นกว่าอากาศมาก​ เสียงจึงเดินทางได้เร็วและไกลมากในน้ำ​ โดยเร็ว​ถึง​ 1500​ เมตร​ ต่อ​ วินาทีในน้ำ​ หรือสูงถึง​ 4.5 เท่า​ ของเสียงในอากาศที่​ 340 เมตร​ ต่อ​ วินาที ในปัจจุ​บันการตื่นตัว​เรื่องสิ่งแวดล้อม​สำหรับอุตสาหกรรม​พลังงานนั้นค่อนข้างสูงมาก​ การตอกเสาเข็มขนาดใหญ่​ส่งผลกระทบที่มองไม่เห็นต่อสัตว์​ทะเลในระยะยาวอย่างคาดไม่ถึง​ ทั้งสร้างอาการบาดเจ็บทางการได้ยินของสัตว์​น้ำ​ และส่งผลต่อพฤติกรรมในระยะยาว ปัจจุบันในพื้นที่ที่รัฐบาลให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมมากๆ เริ่มมีการควบคุมระดับเสียงสำหรับสิ่งก่อสร้างในทะเล เช่น พื้นที่ทะเลของประเทศเยอรมัน… Continue reading Noise Abatement by BBC Technique

Installation · Marine Equipments · Offshore Structure

Plough Dredger


Plough Dredger (อุปกรณ์​ปรับระดับพื้นทะเล) K.Kurojjanawong 25-Feb-2023 Plough หรือ​ Plow dredger เป็นอุปกรณ์ปรับระดับพื้นทะเลใต้น้ำ​ สำหรับวางโครงสร้าง​หรือท่อ​ เพื่อทำให้พื้นได้ระดับ​ กำจัดสิ่งกีดขวางที่อาจจสร้างความเสียหาย​ต่อโครงสร้าง​ได้ เป็นโครงเหล็กแบบทื่อๆ​ ที่เห็นในรูป​ ด้านหนึ่งทำหน้าตรงหรือเอียงเล็กน้อยไว้กวาดดินใต้ทะเลให้เรียบ​ ใช้เรือหย่อนลงไปแล้วลากไปตามเส้นทางที่ต้องการ Plough หรือ​ Plow แปลว่า ไถ​ มันก็เหมือนการไถนาใต้ทะเลนั่นละ #OffshoreStructuralConner#Dredging ที่มารูป https://www.dredgingtoday.com/2019/06/24/damens-plough-proves-success-in-the-caspian-sea/?fbclid=IwAR2c8AHBtAr86r0T7eH0WziEY6kWYYY7TQZPnpO8fXOLiiA7bj3_r6Xvoxc https://www.dredgingtoday.com/.../damens-plough-proves.../

Marine Equipments · Offshore Structure · Technology · Wind

หน้าตาของ ICCP (Impressed Current Cathodic Protection)


หน้าตาของ ICCP (Impressed Current Cathodic Protection) K. Kurojjanawong 22-Feb-2023 ICCP เป็นระบบกันสนิมที่กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ​ สำหรับแท่นกลางทะเลที่รักษ์สิ่งแวดล้อม​ เช่นพวก​ Green​ Energy​ ICCP​ ย่อมาจาก Impressed Current Cathodic Protection​ ซึ่งระบบนี้มีมานานมากแล้ว​ แต่นิยมใช้สำหรับท่อส่งน้ำมัน​ เรือ​ ไม่นิยมใช้สำหรับแท่นกลางทะเล​ เนื่องจากมีราคาแพง​ และต้องบำรุงรักษา​มากกว่า​ ทำให้ระบบ​ Sacrifice Cathodic Protection นิยมกว่ามาก พอเรื่องรักษ์โลกและสิ่งแวดล้อม​มันมาแรงขึ้นเรื่อยๆ​  เค้าเริ่มคิดถึงการที่ใช้​ Sacrifice Anode ซึ่งเป็น​ Anode แบบสละชีพที่ต้องเสียอิเล็กตรอน​ให้เหล็กเพื่อให้เหล็กไม่โดนกัดกร่อน​ แต่ตัวมันทำจาก​ Aluminum หรือ​ Zinc ที่ต้องโดยสลายลงในทะเลไปเรื่อยๆ​ ปริมาณต่อปีหลักหลายล้านตัน​ ซึ่งส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม​ ทำให้เริ่มมีการนำ​ ICCP​​ มาใช้แทนมากขึ้นเรื่อยๆ​ โดยระบบนี้แตกต่างจาก​ Sacrifice Anode ตรงที่มันไม่ได้มี​ Aluminum หรือ​… Continue reading หน้าตาของ ICCP (Impressed Current Cathodic Protection)

Marine Equipments · Offshore Structure

ความแตกต่างระหว่าง Sacrificial Anodes และ ICCP


ความแตกต่างระหว่าง Sacrificial Anodes และ ICCP K. Kurojjanawong 19-Feb-2023 ระบบป้องกันการกัดกร่อนแบบ Sacrificial Anodes และ ICCP แตกต่างกันหลักๆ คือตัวที่เสียอิเล็กตรอนแทนเหล็ก Sacrificial Anodes นั้นตัวที่เสียอิเล็กตรอน​คือ​ Anode​s​ เอง​ ซึ่งทำจาก​ Aluminum​ หรือ​ Zinc ดังนั้นตัวมันจึงถูกกัดกร่อนไปเรื่อยๆ​ จึงเรียกว่า​ต้องสละชีพตัวเองปกป้องเนื้อเหล็ก​ (Sacrifice) ส่วน​ ICCP​ (Impressed​ Current​ Cathodic Protection) นั้นตัวที่เสียอิเล็กตรอนคือแหล่งกำเนิดไฟฟ้า​ที่ส่งมาจาก​ Rectifier​ โดยมี​ Anodes   หลอกคือ​ Titanium หรือ​ Platinum ที่อยู่ในระบบให้ครบวงจร​ Corrosion Cell แต่มีศักย​์สูงมากจึงแทบจะไม่โดนกัดกร่อน​  ดังนั้นข้อแตกต่างคือ Sacrificial Anodes ใช้แล้วหมดไป เมื่อถูกกัดจนหมดก็ป้องกันอะไรไม่ได้อีก ต้องติดตั้งตัวใหม่เข้าไปแทน แต่มีข้อดีคือแทบไม่ต้องบำรุงรักษา แต่เนื่องจากตัวมันปล่อยพลังออกมาเองด้วยคุณสมบัติส่วนตัว จึงป้องกันได้ในวงจำกัดไม่ไกลจากตัวเองมาก และถ้าเจอสภาพแวดล้อมที่ความต้านทานไฟฟ้าสูง… Continue reading ความแตกต่างระหว่าง Sacrificial Anodes และ ICCP

Marine Equipments · Offshore Structure

ICCP (Impressed Current Cathodic Protection)


ICCP (Impressed Current Cathodic Protection) K.Kurojjanawong 19-Feb-2023 ระบบกันสนิมที่กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ​ สำหรับแท่นกลางทะเล ก็คือ​ ICCP​ หรือ​ Impressed Current Cathodic Protection​ จริงๆ​ แล้วระบบนี้มีมานานมากแล้ว​ แต่นิยมใช้สำหรับท่อส่งน้ำมัน​ เรือ​ ไม่นิยมใช้สำหรับแท่นกลางทะเล​ เนื่องจากมีราคาแพง​ และต้องบำรุงรักษา​มากกว่า​ ทำให้ระบบ​ Sacrifice Cathodic Protection นิยมกว่ามาก พอเรื่องรักโลกและสิ่งแวดล้อม​มันมาแรงขึ้นเรื่อยๆ​ เค้าเริ่มคิดถึงการที่ใช้​ Sacrifice Anode ซึ่งเป็น​ Anode แบบสละชีพที่ต้องเสียอิเล็กตรอน​ให้เหล็กเพื่อให้เหล็กไม่โดนกัดกร่อน​ แต่ตัวมันทำจาก​ Aluminum หรือ​ Zinc ที่ต้องโดยสลายลงในทะเลไปเรื่อยๆ​ ปริมาณต่อปีหลักหลายล้านตัน​ ซึ่งส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม​ ทำให้เริ่มมีการนำ​ ICCP​​ มาใช้แทนมากขึ้นเรื่อยๆ​ โดยระบบนี้แตกต่างจาก​ Sacrifice Anode ตรงที่มันไม่ได้มี​ Aluminum หรือ​ Zinc แต่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรงจากแหล่งกำเนิดปล่อยอิเล็กตรอนแทน​ โดยติดตั้ง​ Reference… Continue reading ICCP (Impressed Current Cathodic Protection)

Details and Construction · Foundation · Installation · Marine Equipments · Offshore Structure

Pile Underleg Jacket and Pile Gripper


Pile Underleg Jacket and Pile Gripper K.Kurojjanawong 25-Jul-2022 ในรูปเป็นขาของ​ Wind​ Turbine​ Foundation แบบ​ Jacket​ Type​ แบบพิเศษ​ที่เรียกว่า​ Pile Underleg Jacket หลักการคือ​ ติดตั้งจำนวนมากๆ​ สร้าง​ Piling​ templates สำหรับตอกเข็ม​แยกต่างหาก​ ทำการตอกเสาเข็มล่วงหน้าในตำแหน่งที่จะติดตั้ง​ Wind​ Turbine​ โดยเสาเข็มจะมีขนาดใหญ่กว่าขาของ​ Jacket​ ทำการติดตั้งโดยหย่อน​ Jacket​ ให้ขาเสียบเข้าไปในเสาเข็มที่ตอกจนมิดระดับพื้นทะเลล่วงหน้า​ จากนั้น​ Grout ให้ติดกัน​ ดังนั้นรูปแบบนี้เสาเข็มจะอยู่ใต้ขา​ Jacket​ โดยตรง​ เค้าจึงเรียกว่า​ Pile Underleg Jacket​ Concept จะเห็นสีเทาเป็นวงแหวนที่ขาโครงสร้างคือ​ Pile Gripper​ มีหน้าทีล๊อก​ Jacket​ และเสาเข็มให้ติดกันในช่วงการ​ Grout ก่อนที่มันจะ​ Set ตัว Hydraulic… Continue reading Pile Underleg Jacket and Pile Gripper

Details and Construction · Installation · Marine Equipments · Offshore Structure

Shifting of Rocker Beam


Shifting of Rocker Beam K.Kurojjanawong 8-July-2022 เครนกำลังย้ายตำแหน่งของ​ Rocker Beam หรือ​ Tilting Beam Rocker Beam หรือ​ Tilting Beam จะมีในเรือที่เป็น​ Launched​ Barge ซึ่งไว้สำหรับ​ Launching​ โครงสร้าง​ขนาดใหญ่ลงจากเรือ​ มันจะเป็น​ pinned ที่หมุนได้​ วัตถุประสงค์​คือช่วยส่งโครงสร้าง​ให้หลุดออกจากเรือให้เร็วที่สุด​ โดยเมื่อโครงสร้าง​ไถลมาถึงปลายเรือ​ พอจุดศูนย์ถ่วงเลยจุดหมุนของ​ Rocker Beam​ มันจะเริ่มหมุน​ ทำให้เกิดมุมในการไถลลงจากเรือสูงขึ้น​ โครงสร้างจะไถลด้วยความเร็วสูงขึ้น​จึงสามารถหลุดจากเรือได้เร็วขึ้น ช่วงที่โครงสร้าง​และเรือแยกจากกัน​ เรียกว่า​ Separation phase ซึ่งสำคัญที่สุด​ เพราะถ้าแยกไม่ขาดอาจจะเหวี่ยงมาชนกันจนเสียหายได้ ระยะห่างของ​ Rocker Beam​ บนเรือนั้นปกติกำหนดจาก​ Skid rail spacing ซึ่ง​เรือที่ดีต้องจะสามารถขยับ​ Skid rail spacing และ​ Rocker Beam ได้​… Continue reading Shifting of Rocker Beam