Offshore Structure

The Citicorp Center – อาคารสูงที่เกือบถล่มจากแรงลม


The Citicorp Center - อาคารสูงที่เกือบถล่มจากแรงลม K.Kurojjanawong 9-Feb-2024 มันคืออาคาร Citicorp Center ในนิวยอร์ก ขนาด 59 ชั้น สร้างเสร็จเมื่อกลางปี 1978 โดยวิศวกรชื่อดังมาก คือ William J. LeMessurier W.J. LeMessurier คือวิศวกรโครงสร้างระดับท้อปของอเมริกา ชื่อเสียงนี้เทียบเท่า Theodore V. Gamlambos เลย ทั้งสองคนถือเป็นผู้บุกเบิกที่สำคัญมากเรื่อง Steel Stability ถ้าไม่มี W.J. LeMessurier เราก็จะไม่มีมาตรฐานงานโครงสร้างเหล็กเหมือนที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ โดยเฉพาะเรื่อง ผลของ P-Delta งั้นคือเค้าดังมากๆ และมีเครดิตสูงมากด้วย W.J. LeMessurier ออกแบบอาคาร Citicorp Center ด้วยข้อจำกัดคือมันมีโบสถ์เก่าขวางอยู่มุมหนึ่งของที่ดินซึ่งทุบไม่ได้ ทำให้วางเสาตำแหน่งมุมตึกไม่ได้ จึงหลีกเลี่ยงด้วยการวางเสาเข้ามาที่กลางแต่ละด้านแทน แล้วใช้ Chevron truss ดึงแรงจากพื้นยื่นทั้งหลายเข้ามาที่เสากลาง ซึ่งเค้าผ่านการคิดมาอย่างดี แถมด้วยมีวิศวกรที่ปรึกษาหลายคนระดับท้อปทั้งนั้น… Continue reading The Citicorp Center – อาคารสูงที่เกือบถล่มจากแรงลม

Building · Industry Code · Offshore Structure · Wind

มยผ 1311-50 ตัวคูณลดแรงลมจากลักษณะของอาคาร (Size Reduction Factor)


มยผ 1311-50 ตัวคูณลดแรงลมจากลักษณะของอาคาร (Size Reduction Factor) K.Kurojjanawong 20-Oct-2023

Building · Industry Code · Ocean Wave · Offshore Structure · Statistics · Wind

Caution for using Directional Data


Caution for using Directional Data K.Kurojjanawong 5-Sep-2023 ถ้าเรามีเป้าหมายว่าโครงสร้างเราต้องออกแบบรับแรงอะไรสักอย่าง ที่ 100 Years Return Period หรือ Annual Exceedance Probability เท่ากับ 0.01 จากข้อมูลที่อยู่ในวงกลมแดง ซึ่งในวงกลม ประกอบไปด้วยข้อมูล 4 ชุด คนละทิศทาง เช่น ลมพัดมาจากทิศเหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตก ซึ่งลมคาบการกลับ 100 ปี แต่ละทิศ ไม่จำเป็นต้องเท่ากัน แต่ที่เราใช้ทั่วไปคือ เค้าเลือกมาจากค่าสูงสุดจากทุกทิศ โดยไม่สนใจทิศทาง ถ้าแต่ละทิศมีข้อมูลอย่างละ 100 ชุด ทำให้ข้อมูลทั้งหมดทุกทิศรวมกันคือ 400 ชุด ถ้าเราบอกความน่าจะเป็น 1 ใน 100 นั้นหมายความว่า 1 ใน 100 จากข้อมูลทั้งหมดทุกทิศ ซึ่งคือ 400… Continue reading Caution for using Directional Data

Building · Industry Code · Offshore Structure · Wind

Limitation of Durst Curve – Wind Gust Conversion


Limitation of Durst Curve - Wind Gust Conversion K. Kurojjanawong 27-Aug-2023 ในศาสตร์ด้าน Wind Engineering มันมันจะต้องมีการแปลงความเร็วลมที่ Averaging Period ต่างๆ กลับไปกลับมาอยู่เป็นประจำ โดยมักจะมีความเร็วลมที่ 1 ชม หรือ 1-Hr Mean Wind Speed เป็นหลัก แล้วแปลงไปที่ค่าเฉลี่ยที่เวลาต่างๆ เช่น 10-Min, 1-Min, 30-Sec, 3-Sec เป็นต้น วิธีที่ใช้กันในบ้านเราก็คือการใช้ Durst Curve ซึ่งมาจากบทความชื่อ “Wind Speed over Short Period of Time” เสนอโดย C.S.Durst ปี 1960 ที่นิยมใช้กันมากและแนะนำใน ASCE 7 และ มยผ… Continue reading Limitation of Durst Curve – Wind Gust Conversion

Building · Industry Code · Offshore Structure · Wind

The Confusing Terms in Wind Engineering


The Confusing Terms in Wind Engineering K. Kurojjanawong 27-Aug-2023 ในศาสตร์ด้าน Wind Engineering มันมีอยู่หลายคำที่เจอกันบ่อยๆ และบางครั้งใช้ปนกันมั่วจนงงไปหมด คือ 1) Peak Factor (PF) 2) Gust Factor (GF) 3) Gust Loading Factor (GLF) 4) Gust Response Factor (GRF) 5) Gust Effect Factor (GEF) ไอ้ 5 คำนี้ มันเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ? แรงลมนั้นแปลผันกับความเร็วลมยกกำลังสอง ความเร็วลมที่ใช้ในมาตรฐานนั้นมีหลายแบบ คืออาจจะเป็น Sustained/Mean Wind Speed (มยผ 1311) หรือ Gust Wind Speed… Continue reading The Confusing Terms in Wind Engineering

Building · Industry Code · Offshore Structure · Wind

Dynamic Wind Effect : มยผ 1311-50 VS EN 1991-1-4


Dynamic Wind Effect : มยผ 1311-50 VS EN 1991-1-4 K.Kurojjanawong 20-Aug-2023 ผมเทียบ มยผ 1311-50 กับ Eurocode EN 1991-1-4 ให้ดู จะเห็นว่ามันไม่ได้เทียบกันง่ายๆ เพราะรูปแบบการจัดเรียงมันไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ดี ถ้าเข้าใจพื้นฐานกว้างๆมันจะต้องแยกออกมาได้ดังที่ผมแยกให้ดูในกรอบ ถ้าเราตัดผลของ Topography กับ Return Period ออก มยผ 1311-50 จะเหลือแค่ p = q*Cg*Cp Eurocode EN 1991-1-4 จะได้ p = q*Cpe q ของ มยผ 1311-50 คือ Basic Pressure จากลม 1 ชม ไม่มีผลของ Gust, Dynamic… Continue reading Dynamic Wind Effect : มยผ 1311-50 VS EN 1991-1-4

Building · Industry Code · Offshore Structure · Wind

Typical Wind Code Format


Typical Wind Code Format K. Kurojjanawong 16-Aug-2023 ภาพรวมกว้างๆ ของ มาตรฐานเกี่ยวกับแรงลมทั่วโลก ก็จะอยุ่ในรูปที่แสดงในกรอบข้างล่าง นี่คือแบบกว้างๆ ชัดเจนที่สุด แต่ทีนี้ในแต่ละมาตรฐานอาจจะไปปรับเปลี่ยน จับแต่ละตัวคูณรวมกันให้มันเหลือตัวคูณน้อยลง ก็แล้วแต่ว่าเค้าจะปรับอย่างไร แต่โดยรวมจะมีตัวคูณ ดังแสดงในกรอบ อันนี้แบบเท่าที่ผมเข้าใจเองนะ อาจจะตกหล่นไปบ้าง ถ้าเราไม่สนใจเรื่อง Return Period แล้วจับสมการในมาตรฐานมาเทียบกัน แล้วแยกมันออกเป็นส่วนๆ มันควรจะได้อย่างที่แสดงในกรอบ คือ Wind Force = Basic Wind * Gust * Dynamic * Size * Topography * Pressure Coefficient * Return Period Conversion เช่น ถ้าเทียบ มยผ 1311-50 กับ ASCE 7 หลายคนก็อาจจะงงๆ… Continue reading Typical Wind Code Format

Building · Industry Code · Ocean Wave · Offshore Structure · Wind

Vortex Induced Vibration-Mean Drag Load Amplification


Vortex Induced Vibration-Mean Drag Load Amplification K.Kurojjanawong 6-Jul-2023 Vortex Induced Vibration (VIV) คือการที่โครงสร้างสั่นจากการที่มีของไหลวิ่งผ่าน ไม่ว่าจะเป็นลม น้ำ หรือ ของไหลชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อตัวแปรต่างๆ อยู่ในช่วง VIV Lock-in มันสามารถจะทำให้โครงสร้างสั่นได้ ทั้งในแนวขนานหรือตั้งฉากกลับทิศทางการไหลของไหล และสามารถจะเกิดปรากฏการณ์นี้ได้กับทุกหน้าตัด แต่จะเกิดกลับหน้าตัดวงกลมมากเป็นพิเศษ โครงสร้างที่มีของไหลวิ่งผ่าน ถ้ามันไม่เกิด Vortex Induced Vibration (VIV) มันก็เกิดแค่แรงในทิศทางที่ของไหลวิ่งผ่านเป็น Drag Force (Fd) แต่เมื่อเกิด VIV เมื่อไร เช่นเกิด Cross-flow VIV ซึ่งเป็นการสั่นแนวตั้งฉากกับทิศทางการไหล มันจะเกิดแรงที่เรียกว่า Lift Force (Fl) ซี่งมันเป็นแรงวัฏจักรกลับไปมา ทำให้โครงสร้างสั่นได้ แต่อีกอย่างหนึ่งที่คนมักคิดไม่ถึงคือ การเกิด VIV นั้นนอกจากมันทำให้โครงสร้างสั่นมันยังเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอื่นอีกด้วย ยิ่งสั่นด้วย Amplitude สูงยิ่งมีผลมาก… Continue reading Vortex Induced Vibration-Mean Drag Load Amplification