Accidental · Lesson Learnt · Offshore Structure

Bridge Protection System – The Lesson Learnt from The Sunshine Skyway Bridge


Bridge Protection System - The Lesson Learnt from The Sunshine Skyway Bridge K.Kurojjanawong 31-Mar-2024 หลังเหตุการณ์​เรือบรรทุกสินค้า​พุ่งชนสะพาน Francis Scott Key Bridge ที่ Baltimore เมื่อวันก่อน มีการยกเหตุการณ์​เปรียบเทียบ​กับการวิบัติ​ของสะพาน Sunshine Skyway Bridge เมื่อปี 1980 ซึ่งเหตุการณ์​แทบจะเหมือนกันเลย แทบโครงสร้าง​สะพานค่อนข้างคล้ายกันมากคือเป็น Steel Truss Bridge และเปิดใช้งานในช่วงยุค 70 เหมือนกัน ตัวหนึ่งอยู่ที่ Floarida อีกตัวอยู่ที่ Baltimore สะพาน Sunshine Skyway Bridge ถูกเรือ MV Summit Venture ซึ่งเป็น Bulk Carrier ชนเข้าที่ต่อม่อกลางสะพานในช่วงที่กำลังหนีจากพายุเข้าฝั่ง ทำให้ drift เข้าใส่เสาต่อม่อที่รองรับ… Continue reading Bridge Protection System – The Lesson Learnt from The Sunshine Skyway Bridge

Accidental · Assessment · Details and Construction · Lesson Learnt · Offshore Structure · Structural History

What happened to Alexander L. Kieland


What happened to Alexander L. Kieland K.Kurojjanawong 19-Nov-2023 วันที่ 18 พย ที่ผ่านมาเป็นวันครบรอบ 40 ปีของการจมลงอย่างถาวรของแท่นแบบลอยน้ำในตำนาน Alexander L. Kieland Semisubmersible Alexander L. Kieland อยู่ทางขวา (ที่มา https://en.m.wikipedia.org/wiki/Alexander_L.Kielland(platform)) Alexander L.Kielland หลังจากพลิกคว่ำ แท่น Alexander L. Kieland เป็นแท่นแบบ Semi-Submersible Platform หรือลอยน้ำ สำหรับขุดเจาะน้ำมันในแหล่ง Ekofisk เกิดการวิบัติเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 1980 (43 ปีที่แล้ว แต่ลากมาตรวจสอบและจมลงในอีก 3 ปีถัดมา) และจมลงกลางทะเลเหนือเมื่อปี 1980 โดยมีคนอยู่บนนั้น 212 คน ทำให้มีคนตายถึง 123 คน และรอดชีวิต… Continue reading What happened to Alexander L. Kieland

Accidental · Lesson Learnt · Offshore Structure · Structural History

34 ปี โศกนาฏกรรมในอ่าวไทยของเรือ Drillship Seacrest


34 ปี โศกนาฏกรรมในอ่าวไทยของเรือ Drillship Seacrest K.Kurojjanawong 18-Nov-2023เรือ Drillship Seacrest อับปางลงที่แหล่งปลาทอง ของ เชฟรอน (ยูโนแคล ขณะนั้น) เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ปี 2532 จากผลของ ไต้ฝุ่นเกย์ ที่ผ่าเข้ามากลางแหล่งปลาทองเลย โดยที่ยังไม่มีการอพยพคน เรือ Drillship Seacrest โดยไต้ฝุ่นเกย์ก่อตัวในอ่าวไทยแล้วขึ้นฝั่งเลย เทียบเฮอริเคนระดับ 5 ความเร็วลมที่ 260 กม/ชม (ความเร็วเฉลี่ย 1 นาที) แต่ตอนเข้าถึงเขตไทยลดความเร็วลมเหลือ 190 กม/ชม (ความเร็วเฉลี่ย 1 นาที) เทียบเท่าเฮอริเคนระดับ 3 ถือเป็นพายุลูกเดียวที่มีการบันทึกว่าขึ้นฝั่งบ้านเราขณะที่ยังเป็นไต้ฝุ่นอยู่ ทำคนตายไป 1060 คน ทิศทางการเคลื่อนที่ของพายุไต้ฝุ่นเกย์ ปี 2532 ในจำนวนนั้น คือโศกนาฏกรรมของเรือขุดเจาะน้ำมัน Seacrest สัญชาติสิงคโปร์ เจ้าของคือ… Continue reading 34 ปี โศกนาฏกรรมในอ่าวไทยของเรือ Drillship Seacrest

Accidental · Lesson Learnt · Offshore Structure · Structural History

40 Years Memorial to Alexander L. Kieland


40 Years Memorial to Alexander L. Kieland K.Kurojjanawong 18-Nov-2023 วันที่ 18 พย วันนี้เป็นวันครบรอบ 40 ปีของการจมลงอย่างถาวรของแท่นแบบลอยน้ำในตำนาน Alexander L. Kieland Semisubmersible (ตัวทางขวา) แท่น Alexander L. Kieland เป็นแท่นแบบ Semi-Submersible Platform หรือลอยน้ำ สำหรับขุดเจาะน้ำมันในแหล่ง Ekofisk เกิดการวิบัติเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 1980 (43 ปีที่แล้ว) จากผลของ fatigue crack ที่ major bracing 1 ใน 6 ชิ้น ส่งผลให้ pontoon หลุดออกไปจนเกิดการสูญเสียเสถียรภาพ พลิกคว่ำ และจมลงกลางทะเลเหนือเมื่อปี 1980 โดยมีคนอยู่บนนั้น 212 คน… Continue reading 40 Years Memorial to Alexander L. Kieland

Details and Construction · Lesson Learnt · Offshore Structure · Wind

Wind Bracing Flare boom


Wind Bracing Flare boom K.Kurojjanawong 26-Mar-2023 ตัวนี้เป็นแท่นโบราณ​ อยู่ในทะเลเหนือ​ เซฟไว้นานมากแล้วจำไม่ได้ว่าแท่นอะไร​ อาจจะถอนออกไปแล้วด้วย​ ทรงสีแดงๆ​ แบบนี้ต้องหลัก​อายุ 30-40​ ปี ดูที่​ Flareboom​ จะเห็นว่าไม่ใช่​ Flare​ เดี่ยว​ แต่เป็น​ Flare​boom ที่มีตัวค้ำ​ ทางเทคนิค​เราเรียกกันว่า​ Wind Bracing Flare boom ซึ่งไม่ค่อยมีใครทำกันแล้วในปัจจุบั​นเนื่องจากเปลืองและวุ่นวาย ผมนับได้​ 14​ bays ปกติ​ bays แรกๆ​ จะยาว​ 15-20​ เมตร​ แล้วลงเหลือสัก​ 5-10​ เมตร​ ดังนั้นเป็นไปได้ว่า​ Flare​boom ตัวนี้ยื่นยาว​ 150-160​ เมตรจากตัวแท่นผลิต​ มันจึงยาวมากๆ​ ต้องใช้​ Wind​-strut เป็น​ Space truss ช่วยค้ำทั้งสองฝั่ง​ เนื่องจากในทะเลเหนือลมแรงมาก​ๆ *แก้ไข​ ไปหาข้อมูล​มาใหม่ตัวนี้คือ​… Continue reading Wind Bracing Flare boom

Foundation · Lesson Learnt · Offshore Structure · Wind

Ground Resonance and Rocking Dynamic Mode


Ground Resonance and Rocking Dynamic Mode K.Kurojjanawong 25-Sep-2022 ในรุปเป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่ต้องคำนึงในการออกแบบเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งสามารถอธิบายได้ด้วยหลัก Dynamic of Structure โดยเป็นการทดสอบเฮลิคอปเตอร์แบบจอดอยู่กับที่ในขณะที่ใบพัดยังคงหมุนอยู่ สามารถดูภาพเคลื่อนไหวได้ในลิ้งค์ข้างล่าง https://youtu.be/RihcJR0zvfM?si=B-ib2OJzpXuwheXK หรือ https://www.youtube.com/watch?v=0GEj69NANc8 จะเห็นว่าเมื่อใบพัดหมุนไปได้สักพัก เครื่องเริ่มมีการสั่นและโยก และค่อยๆ โยกรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนวิบัติในที่สุด ปรากฏนี้ในด้านวิศวกรรมเกี่ยวกับ เฮลิคอปเตอร์ เค้าเรียกว่า Ground Resonance ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางพลศาสตร์วิศวกรรมรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมักจะไม่เห็นในโครงสร้างทั่วไปๆ นัก เนื่องจากโครงสร้างทั่วไปๆ มี Vertical Stiffness สูงมากๆ แตกต่างจากกรณีที่เฮลิคอปเตอร์นั่งอยู่บนล้อยางบนพื้นราบ ที่ในการทดสอบนี้ เข้าใจว่าอาจจะวางบน Elastic Rubber ด้วย เพื่อศึกษาพฤติกรรม Ground Resonance เกิดจาก Imbalance Force จากการหมุนของใบพัดที่สร้างแรงเหวี่ยงที่มีความถี่เท่ากับการหมุนของใบพัด ไปตรงกับความถี่ของการสั่นแบบโยก (Rocking Mode) ของเฮลิคอปเตอร์พอดี เมื่อเกิดการโยก (Rocking)… Continue reading Ground Resonance and Rocking Dynamic Mode

Building · Earthquake · Lesson Learnt · Offshore Structure

ผลของแผ่นดินไหว 2011 Tohoku Earthquake ต่อโครงสร้างที่มีคาบธรรมชาติต่างกัน


ผลของแผ่นดินไหว 2011 Tohoku Earthquake ต่อโครงสร้างที่มีคาบธรรมชาติต่างกัน K. Kurojjanawong 20-Sep-2022 แผ่นดินไหวถี่ๆ ผมเลยยกเอาเหตุการณ์แผ่นดินไหวกลางทะลของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 11 มีค 2011 ที่รู้จักกันในชื่อ 2011 Tohoku Earthquake ขนาด Mw9.0 คิดว่าคงจำกันได้ ที่ทำให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิม่าวิบัติ และคนต้องอพยพออกทันที เพื่อหนีรังสีกัมมันตรังสี อาคารทั่วไปมีทั้งเสียหายความเร่งพื้นดินและจากสึนามิขนาดความสูง 14 เมตร มีความน่าสนใจเหตุการณ์นั้นคือมันอยู่ห่างชายฝั่งไม่มาก และมีแหล่งกังหันลมกลางทะเลใกล้ฝั่งอยู่สองแหล่ง คือ Hiyama Wind Farm, และ Kamisu Wind Farm อยู่ในรัศมีประมาณ 200-250 กม จาก Epicenter พบว่า กังหันลมกลางทะเล แทบไม่ได้รับความเสียหาย แต่อาคารใกล้ชายฝั่งที่เป็นแบบตอกเสาเข็มนั้นล้มทั้งยืน (ผมยังสงสัยว่าล้มจากสึนามิรึป่าว แทนที่จะจากความเร่งพื้นดิน) เมื่อนำผลบันทึกคลื่นแผ่นดินไหวหลังเหตุการณ์มาวิเคราะห์แล้วสร้างเป็น Response Spectrum จะพบว่า Peak Acceleration นั้นสูงถึงประมาณ… Continue reading ผลของแผ่นดินไหว 2011 Tohoku Earthquake ต่อโครงสร้างที่มีคาบธรรมชาติต่างกัน

Accidental · Building · Details and Construction · Lesson Learnt · Modelling Technique · Offshore Structure · Structural History · Wind

ทำไมสะพานแขวน Humen Bridge ในประเทศจีนจึงเกิดการสั่นขึ้นลงอย่างรุนแรง


ทำไมสะพานแขวน Humen Bridge ในประเทศจีนจึงเกิดการสั่นขึ้นลงอย่างรุนแรง K. Kurojjanawong, 10-May-2020 เมื่อวันที่อังคารที่ 5 พค 2020 ที่ผ่านมา สะพานแขวน Humen Bridge ในประเทศจีนเกิดการสั่นขึ้นลงอย่างรุนแรง Bridge in China shakes like waves after being hit by strong winds ขณะเกิดเหตุมีรถสัญจรเต็มสะพาน ตอนนี้โดนสั่งปิดห้ามสัญจรเพื่อตรวจสอบแล้ว สะพาน Humen Bridge นี้ตั้งอยู่ในประเทศจีน เป็นสะพานแขวนความยาว 3.618 กิโลเมตร มีช่วงพาดระหว่างจุดรองรับหลัก 888 เมตร เปิดใช้เมื่อปี 1997 หรือ 23 ปีมาแล้ว ตำแหน่งของสะพาน Humen ดังนั้นจึงไม่ใช่สะพานสร้างใหม่ และใช้งานมานานมากแล้ว ไม่เคยมีปัญหา ผลการตรวจสอบเบื้องต้น วิศวกรของจีนระบุสาเหตุคร่าวๆ ว่าเกิดจากการติดตั้ง Temporary Water… Continue reading ทำไมสะพานแขวน Humen Bridge ในประเทศจีนจึงเกิดการสั่นขึ้นลงอย่างรุนแรง

Accidental · Details and Construction · Installation · Lesson Learnt · Offshore Structure

Lesson Learnt – Loadout Failure due to incorrect Link Beam Detail


Lesson Learnt - Loadout Failure due to incorrect Link Beam Detail K. Kurojjanawong, 24-Apr-2020 ในรูปเป็นการขนโครงสร้างโครงสร้างขนาดน้ำหนัก 18000 ตัน ขึ้นบนเรือ โดยเป็นการขนขึ้นเรือทางขวาง (Transverse Loadout) แบบลากขึ้นเรือด้วยการใช้แม่แรงและสลิง (Skidding Loadout) ในระหว่างการขนขึ้นเรือ โดยโครงสร้างขึ้นไปนั่งบนเรือเกือบทั้งตัวแล้ว เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด คือ มีเสียงดังเหมือนอะไรขาด และเรือเอียงทางขวาง (Heel) อย่างอย่างรวดเร็วจนกระทั่งแต่แตะพื้นทะเลในที่สุด และปฏิบัติการ Loadout ไม่สำเร็จ โดยกินเวลาในการเกิดเหตุประมาณ 30 นาที หลังจากเกิดอุบัติเหตุขึ้น เค้าได้ทำการสอบสวนหาสาเหตุพบว่า เกิดการการให้รายละเอียดที่จุดต่อของ Link Beam กับ Transition Beam ที่ไม่ถูกต้อง โดยมีไปใส่ Docking Plate เพื่อเชื่อมระหว่าง Link Beam และ Transition… Continue reading Lesson Learnt – Loadout Failure due to incorrect Link Beam Detail

Accidental · Details and Construction · Installation · Lesson Learnt · Offshore Structure

Lesson Learnt – Wrong weight calculation lead to breaking of strand jack during loadout


Lesson Learnt - Wrong weight calculation lead to breaking of strand jack during loadout K. Kurojjanawong, 19-Apr-2020 เค้ากำลังจะ Loadout Jacket ตัวหนึ่งขึ้นเรือ โดยเป็นการ Skidded Loadout หรือ การลากไปตามรางที่วางไว้จากบนฝั่งต่อไปถึงบนเรือ ด้วยการใช้ Strand Jackเนื่องจากงานเร่งมาก และมีปัญหาค่อนข้างมากตั้งแต่ช่วงออกแบบทางวิศวกรรม ปกติงานแบบนี่น้ำหนักที่แน่นอนของโครงสร้างสำคัญมาก เค้าจึงต้องมีการคำนวณและตามมอนิเตอร์น้ำหนักและตำแหน่งจุดศูนย์ถ่วงตลอดเวลา และทำรายงานทุกเดือนเรียกว่า Weight Control Report (WCR) น้ำหนักที่รายงานจะใช้คำนวณจำนวน Strand Jack ที่จะใช้ ซึ่งแรงดึงรวมจะต้องมากกว่าแรงเสียดทานของโครงสร้างกับราง งานนี้เค้าประมาณสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานประมาณ 0.2 ปรากฏว่า WCR รายงานน้ำหนักที่ 6990 ตัน เค้าคำนวณแรงดึงที่ต้องการได้ 1398 ตัน (Breaking Friction) จึงเลือกใช้… Continue reading Lesson Learnt – Wrong weight calculation lead to breaking of strand jack during loadout