Details and Construction · Installation · Marine Equipments · Modelling Technique · Naval Architect · Offshore Structure

Catamaran Tows – Dynamic Load Supports


Catamaran Tows - Dynamic Load Supports K.Kurojjanawong 9-Dec-2023 ความท้าทายของการขนส่งแบบ Catamaran Tows หรือการขนส่งด้วยการนั่งคร่อมบนเรือสองลำนั้น คือจะทำอย่างไรให้มันเคลื่อนที่ไปด้วยกัน โดยมีการ Relative motions น้อยที่สุด เพราะทุกการเคลื่อนที่มันไม่สัมพันธ์กัน แรงจะถูกส่งผ่านไปยังโครงสร้างที่นั่งคร่อมอยู่ข้างบนทันที พูดง่ายๆ ก็คือ โครงสร้างทำหน้าที่เป็น Tie-Beam ยึดเรือสองลำเอาไว้ด้วยกัน ปัญหาก็คือ เรายึดโครงสร้างแน่นกับเรือทั้งสองฝั่งก็ไม่ได้ เพราะแรงจะถูกส่งผ่านมายังโครงสร้างสูงมาก ทำให้ต้องเพิ่มขนาดโครงสร้างเพื่อรับแรงดังกล่าว ในขณะที่การขนส่งแบบนี้ใช้เวลาแค่ไม่กี่อาทิตย์ เมื่อเทียบกับอายุโครงสร้างที่ต้องใช้งานหลายสิบปี การเพิ่มขนาดโครงสร้างเพราะช่วงขนย้ายสั้นๆ จึงไม่สมเหตุสมผล ดังนั้นเราจึงต้องหา Optimum Fixities ระหว่างโครงสร้างและเรือที่จะทำให้มันเคลื่อนที่ไปด้วยกัน โดยไม่สิ้นเปลืองจนเกิดจำเป็น โดยปกติ ก็จะเป็นการนั่งลงไปตรงๆ บน Grillage ที่เรือแต่ละฝั่ง ดังที่เห็นในรูป ซึ่งการนั่งลงไปตรงๆ นั้นจะทำให้โครงสร้างนั้นสามารถที่จะหมุนได้ ดังที่เห็นในรูปทางขวา ทำให้โครงสร้างมีโอกาสที่จะหมุนจนหลุดออกจากเรือได้ เมื่อเกิดคลื่นวิ่งขวางกับเรือทั้งสองลำ การขนส่งแบบนี้จึงมีส่วนที่สำคัญที่ขาดไม่ได้เรียกว่า Dynamic Load Supports หรือบางครั้งจะเรียกว่า Tie-Down Seafastening… Continue reading Catamaran Tows – Dynamic Load Supports

Details and Construction · Installation · Modelling Technique · Naval Architect · Ocean Wave · Offshore Structure

Hydrodynamic Actions on Catamaran Floatover Installation


Hydrodynamic Actions on Catamaran Floatover Installation K.Kurojjanawong 9-Dec-2023 การติดตั้งแบบ Catamaran Floatover Installation คือการที่นำ Topside ขนาดใหญ่ ๆ นั่งคร่อมบนเรือสองลำ เพื่อที่จะลอยคร่อม Substructure แล้ววางลงทั้งยูนิต มันมีข้อดี ไม่จำเป็นต้องแบ่ง Topside เป็นส่วนๆ แล้วใช้เครนยก ทำให้ยกงาน Offshore Hook-up ไม่ต้องรอตารางเวลาของเรือเครนซึ่งอาจจะไม่ว่างในช่วงที่ต้องการ แต่ข้อเสียมันก็มีมาก เนื่องจากเป็นปฏิบัติการที่ค่อนช้างเสี่ยงอันตรายมาก ต้องหาเรือสองลำที่เหมือนกันให้มากที่สุด ถ้าสร้างมาแบบเดียวกันเป็น Sister Barge ได้ยิ่งดี เพราะจะควบคุมให้มันไปพร้อมกันได้ง่าย อย่างไรก็ดีมันมีเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลย คือ Hydrodynamic Actions ที่เกิดกับระบบ Catamaran Systems ซึ่งนอกจากจะยากสำหรับ Naval Architect ที่วิเคราะห์เรือทัั้งสองลำแล้ว ก็ยังยากสำหรับ Structural Engineer ที่วิเคราะห์ Topside ที่นั่งคร่อมเรือสองลำด้วย เนื่องจากเรือสองลำมันเป็นคนละยูนิตกัน… Continue reading Hydrodynamic Actions on Catamaran Floatover Installation

Foundation · Installation · Marine Equipments · Offshore Structure

Piling Noise Reduction Equipment


Piling Noise Reduction Equipment K.Kurojjanawong 31-Aug-2023 ในปัจจุบันนอกจากเสาเข็มกลางทะเลจะใหญ่มาก จนเส้นผ่าศูนย์กลางเกิน 10 เมตรไปแล้ว (ครอบห้องคอนโดขนาด 100 ตร ม ได้สบาย) เทคโนโลยีการตอกเข็มก็วิ่งเร็วไม่แพ้กัน เพราะว่าจะไม่มีประโยชน์อะไรที่เสาเข็มใหญ่ได้ แต่ไม่สามารถจะตอกมันลงได้ และอีกเรื่องที่ความรู้วิ่งเร็วไม่แพ้กันก็คือ เรื่องสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบัน การติดตั้งหรือรื้อถอนโครงสร้างในทะเลในประเทศพัฒนาแล้ว มีข้อจำกัดด้านมลภาวะทางเสียงอีกด้วย มีข้อกำหนดทั้งความดังของเสียง และ ระยะเวลาที่เกิดเสียง ซึ่งจะส่งผลต่อ คุณภาพชีวิตของสัตว์ทะเลในระยะยาว ทำให้การติดตั้งหรือรื้อถอนโครงสร้างในทะเลในประเทศที่พัฒนาแล้ว มันยากขึ้นเรื่อยๆ หลายเดือนก่อนเคยเอาเรื่อง BBC (Big Bubble Curtain) หรือ การสร้างม่านฟองอากาศเพื่อลดความดังของเสียงมาเล่าให้ฟัง ซึ่งเป็น Post Mitigation หรือเสียงเกิดมาแล้วหาอะไรไปกั้นมันไว้ ปัจจุบันมีการพัฒนาระบบ Pre Mitigation หรือ ทำให้เกิดเสียงลดลงตั้งแต่ตอนตอกเลย ด้วยการนำ Damper เข้าไปกั้นระหว่าง หัวเสาเข็มกับ Anvil ของค้อน Damper ที่ว่าก็ทำตัวคล้ายๆ กับ… Continue reading Piling Noise Reduction Equipment

Building · Details and Construction · Foundation · Installation · Offshore Structure

Battered Pile and Racked Pile


Battered Pile and Racked Pile K.Kurojjanawong 8-Jul-2023 เสาเข็มเอียงในรูป เค้าไม่ได้ตอกผิดจนมันเอียง แต่เค้าตั้งใจทำให้มันเอียง ส่วนใหญ่จะเห็นในสะพานหรือท่าเรือสาเหตุที่ตอกเข็มเอียง ซึ่งเรียกว่า Battered Pile หรือ Racked Pile นั้นคือ สำหรับโครงสร้างที่ต้องรับแรงด้านข้าง ซึ่งปกติเสาเข็มจะรับแรงแนวดิ่งได้ดี แต่รับแรงด้านข้างได้ไม่ดีเท่าแนวดิ่งดังนั้นจะเห็นเข็มเอียงในโครงสร้างที่อยู่ในน้ำเนื่องจากมีแรงจากคลื่นและกระแสน้ำ หรือ แรงจากเรือชน เช่น แท่นขุดเจาะ สะพานหรือท่าเรือ แต่โครงสร้างบนบกที่มีแรงด้านข้าง เช่น สะพาน หรือ รางรถไฟ ที่มีแรงเหวี่ยงจากรถ หรือ รถไฟ ก็อาจจะเห็นเสาเข็มเอียงได้เหมือนกันหลักการก็ตรงไปตรงมา คือ พอมันเอียง แรงแนวราบที่เสาเข็มรับได้ไม่ดีก็ถูกเปลี่ยนกลายเป็นบางส่วนกลายเป็นแรงแนวแกนเสาเข็ม (ซึ่งแนวแกนเสาเข็มไม่จำเป็นต้องเป็นแนวดิ่ง) ทำให้แรงด้านข้างลดลง ยิ่งมุมเอียงมาก แรงด้านข้างยิ่งเปลี่ยนเป็นแรงแนวแกนมากเสาเข็มนั้นรับแรงด้านข้างได้ไม่ดี เนื่องจากหน้าตัดแคบ การจะเพิ่มกำลังรับแรงด้านข้างคือต้องเพิ่มหน้าปะทะดิน คือ ทำให้ขนาดใหญ่ขึ้น ในขณะที่แรงด้านข้างมักจะไม่มาตลอดเลย แต่แรงแนวดิ่งนั้นแน่นอน การเพิ่มแรงแนวดิ่งก็แค่ยืดให้เข็มยาวขึ้นเท่านั้น ดังนั้นการที่แก้ปัญหาแรงด้านข้างจึงมักจะตอกเข็มเอียงกันแต่....โครงสร้างที่รับแรงด้านข้าง ไม่จำเป็นต้องตอกเข็มเอียงเสมอไป มีโครงสร้างจำนวนมากที่เสาเข็มดิ่งก็สามารถรับแรงด้านข้างได้เพียงพอ ยิ่งถ้าแต่ละต่อม่อมีเข็มหลายต้น ถ้ายึดกันดีๆ เข็มดิ่งหลายๆต้นรวมกันกำลังก็อาจจะพอรับแรงด้านข้างได้… Continue reading Battered Pile and Racked Pile

Foundation · Installation · Offshore Structure

Shallow Foundation with Skirted Plate


Shallow Foundation with Skirted Plate K.Kurojjanawong 16-Jun-2023 Shallow foundation คือ ฐานรากตื้น หรือ วางอยู่ใกล้พื้นดิน ซึ่งใกล้ในที่นี้ คือ อาจจะวางอยู่บนพื้นดินหรือ อาจจะวางอยู่ลึกใต้ดินก็ได้ โดยมันจะมี Bearing Failure Surface กินระยะประมาณ 1-1.5 เท่าของความกว้างฐานราก นี่เป็นเหตุผลว่าเวลาคำนวณกำลังรับแรงของฐานรากตื้น จะต้องดูคุณสมบัติของดิน และเลือก Soil Parameters ลึกลงไประยะหนึ่งๆ เช่นอย่างน้อย 1-1.5 เท่าของความกว้างฐานราก ด้วย ไม่ใช่เลือกค่า Soil Parameters ที่ใต้ฐานรากมาคำนวณ ซึ่งจะทำให้มันเกิด Soil Underlying Failure หรือ การวิบัติของดินอ่อนที่อยู่ใต้ฐาน การที่มันวางอยู่ใกล้พื้นดิน ทำให้มันหลีกหนีดินอ่อนที่อยู่บริเวณใกล้ๆ พื้นดินไม่ได้ ถ้าเป็นฐานรากตื้นวางบนฝั่ง เค้าก็แก้ปัญหาง่ายๆ ด้วยการขุดดินลึกลงไปให้พ้นชั้นดินอ่อนแล้ววางฐานรากไว้ที่ชั้นดินแข็งเลย แต่ถ้าเป็นฐานรากตื้นใต้ทะเลลึก มันไม่สามารถที่จะลงไปขุดดินเพื่อที่จะวางฐานรากที่ชั้นดินแข็งได้ เค้าก็จะแก้ปัญหาด้วยการใส่ Skirt Plate… Continue reading Shallow Foundation with Skirted Plate

Foundation · Installation · Offshore Structure

Pile Stick-up Analysis (Pile Sway)


Pile Stick-up Analysis (Pile Sway) K.Kurojjanawong 28-Apr-2023 Pile Stick-up Analysis หรือ บางที่จะเรียกว่า Pile Sway Analysis จะเรียกชื่ออะไรก็ได้ แต่ความหมายเหมือนกัน คือเป็นการวิเคราะห์เสาเข็มช่วงกำลังตอกด้วยค้อน ซึ่งการวิเคราะห์เสาเข็มช่วงกำลังตอกด้วยค้อน นั้นมี สองอย่าง คือ หนึ่ง ดูความเป็นไปได้ว่าตอกได้หรือไม่ด้วยอุปกรณ์ เช่น ขนาดค้อน หมอนรองเข็ม ขั้นตอนการทำงาน หยุดตอกเป็นช่วงๆ หรือ ตอกต่อเนื่อง อันนั้นเรียกว่า Pile Drivability Analysis ซึ่งเป็นคนละความหมายกัน และจะเล่าให้ฟังต่างหากว่าคืออะไร สองคือ Pile Stick-up Analysis ซึ่งไม่สนว่าอุปกรณ์และขั้นตอนที่ใช้ จะตอกได้หรือไม่ได้ แต่สนว่ากำลังของเสาเข็มนั้นรับแรงช่วงการตอกได้หรือไม่ จะหักมั้ย Buckling หรือเปล่า เสาเข็มในทะเล นั้นเป็นเสาเข็มตอก ทั้งหมด ไม่มีเสาเข็มเจาะ เนื่องจากมันเจาะยากเพราะอยู่ใต้น้ำ จึงต้องตอกเอา ดังนั้นเสาเข็มจะยาวมากๆ นอกจากจะต้องปักลงไปใต้พื้นทะเลให้ได้กำลังที่ต้องการ… Continue reading Pile Stick-up Analysis (Pile Sway)

Installation · Marine Equipments · SACS

2100 mTon Jacket with 2 Blocks Wet Upending, Angola


2100 mTon Jacket with 2 Blocks Wet Upending, Angola K. Kurojjanawong, 19-Apr-2023 ปกติ Offshore Crane จะมี 2 Hooks เป็นอย่างน้อยคือ Main Hook ไม่ได้อยู่ที้ปลายแต่อยู่ถัดจาก Auxiliary Hook กำลังยกจะสูงที่สุด เวลาบอกกำลังยกของเครนจึงมักอ้างที่กำลังของ Main Hook Auxiliary Hook จะอยู่ที่ปลายเครน กำลังยกรองลงมา ถ้าเครนตัวใหญ่ๆจะมี Whip Hook ด้วยซึ่งกำลังยกต่ำที่สุด 2 Blocks Upending คือการยกโครงสร้างแล้วหมุนขึ้นตั้งโดยใช้เครนตัวเดียว แต่ใช้ 2 Crane Blocks คือ Main Hook (กำลังยกสูงที่สุด) และ Auxiliary Hook (กำลังยกรองลงมา) โดยปกติเครนที่จะทำ 2 Blocks… Continue reading 2100 mTon Jacket with 2 Blocks Wet Upending, Angola

Foundation · Installation · Marine Equipments · Offshore Structure · Technology

Noise Abatement by BBC Technique


Noise Abatement by BBC Technique K. Kurojjanawong, 9-Mar-2023 เทคนิคการลดเสียงจากการตอกเสาเข็มในทะเลด้วย Big Bubble Curtain (BBC) Technique BBC คือการใช้ฟองอากาศในน้ำเป็น​ noise damper หรือช่วยลดความดังของเสียงใต้น้ำลง​ โดยทำการวางท่ออากาศรอบๆบริเวณ​ที่จะตอกเสาเข็ม​ ประมาณเส้นผ่าศูนย์กลาง​ 100-150​ เมตร​ จากนั้นอัดอากาศเข้าไปให้เกิดม่านฟองอากาศระหว่างการตอกเสาเข็ม ฟองอากาศจะล้อมบริเวณนั้นๆ เหมือนม่าน จึงเรียก Big Bubble Curtain (BBC) ซึ่งจะช่วยให้เสียงส่งผ่านออกไปได้ลดลงทั้งความดังและระยะทาง เนื่องจากน้ำหนาแน่นกว่าอากาศมาก​ เสียงจึงเดินทางได้เร็วและไกลมากในน้ำ​ โดยเร็ว​ถึง​ 1500​ เมตร​ ต่อ​ วินาทีในน้ำ​ หรือสูงถึง​ 4.5 เท่า​ ของเสียงในอากาศที่​ 340 เมตร​ ต่อ​ วินาที ในปัจจุ​บันการตื่นตัว​เรื่องสิ่งแวดล้อม​สำหรับอุตสาหกรรม​พลังงานนั้นค่อนข้างสูงมาก​ การตอกเสาเข็มขนาดใหญ่​ส่งผลกระทบที่มองไม่เห็นต่อสัตว์​ทะเลในระยะยาวอย่างคาดไม่ถึง​ ทั้งสร้างอาการบาดเจ็บทางการได้ยินของสัตว์​น้ำ​ และส่งผลต่อพฤติกรรมในระยะยาว ปัจจุบันในพื้นที่ที่รัฐบาลให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมมากๆ เริ่มมีการควบคุมระดับเสียงสำหรับสิ่งก่อสร้างในทะเล เช่น พื้นที่ทะเลของประเทศเยอรมัน… Continue reading Noise Abatement by BBC Technique

Installation · Marine Equipments · Offshore Structure

Plough Dredger


Plough Dredger (อุปกรณ์​ปรับระดับพื้นทะเล) K.Kurojjanawong 25-Feb-2023 Plough หรือ​ Plow dredger เป็นอุปกรณ์ปรับระดับพื้นทะเลใต้น้ำ​ สำหรับวางโครงสร้าง​หรือท่อ​ เพื่อทำให้พื้นได้ระดับ​ กำจัดสิ่งกีดขวางที่อาจจสร้างความเสียหาย​ต่อโครงสร้าง​ได้ เป็นโครงเหล็กแบบทื่อๆ​ ที่เห็นในรูป​ ด้านหนึ่งทำหน้าตรงหรือเอียงเล็กน้อยไว้กวาดดินใต้ทะเลให้เรียบ​ ใช้เรือหย่อนลงไปแล้วลากไปตามเส้นทางที่ต้องการ Plough หรือ​ Plow แปลว่า ไถ​ มันก็เหมือนการไถนาใต้ทะเลนั่นละ #OffshoreStructuralConner#Dredging ที่มารูป https://www.dredgingtoday.com/2019/06/24/damens-plough-proves-success-in-the-caspian-sea/?fbclid=IwAR2c8AHBtAr86r0T7eH0WziEY6kWYYY7TQZPnpO8fXOLiiA7bj3_r6Xvoxc https://www.dredgingtoday.com/.../damens-plough-proves.../

Building · Foundation · Installation · Offshore Structure

Soil Parameters and Foundation Bearing Failure Surface


Soil Parameters and Foundation Bearing Failure Surface K.Kurojjanawong 5-Feb-2023 ปัญหาโลกแตกที่วิศวกรโครงสร้างไม่ค่อยเข้าใจวิศวกรฐานราก และแม้กระทั่งวิศวกรฐานรากบางคนยังไม่เข้าใจก็คือ การเลือก Soil Parameters มาเพื่อใช้ประเมินกำลังของฐานราก ซึ่งมักจะเลือกกันผิดและอยู่บนความเสี่ยงโดยไม่จำเป็นอยู่เสมอๆ สิ่งที่ต้องเข้าใจเป็นอย่างแรกคือ Bearing Capacity ของฐานรากไม่ว่าจะฐานรากตื้นหรือฐานรากลึกนั้นอยู่บนพื้นฐานของสมมติฐานของ Bearing Failure Surface ด้วย การที่จะเกิดกำลังแบกฐานใต้ปลายเสาเข็มหรือใต้ฐานรากตื้นได้นั้นต้องเกิดการพัฒนากำลัง “ใต้และเหนือปลายเข็ม หรือ ใต้ฐานราก” นั้น เน้นว่า “ใต้และเหนือ” ดูในรูปจะเห็นว่ามันเกิด Failure Surface ครอบเป็นวงหรือเป็นแนวโค้ง ก็ขึ้นกับว่าใช้ทฤษฏีของใคร ซึ่งการพัฒนากำลังแบกทานของฐานรากนั้น ก็ขึ้นกับ Failure Surface ที่ว่าและ Soil Parameters ที่อยู่ในบริเวณที่ครอบคลุมโดย Failure Surface เน้น “Soil Parameters บริเวณที่อยู่ภายใน Failure Surface” ไม่ใช่ Soil Parameters… Continue reading Soil Parameters and Foundation Bearing Failure Surface