Building · Offshore Structure · Structural History

โปรแกรมวิเคราะห์โครงสร้างตัวแรกในโลก


โปรแกรมวิเคราะห์โครงสร้างตัวแรกในโลก K.Kurojjanawong 13-May-2024 โปรแกรมวิเคราะห์โครงสร้างนั้นมีมากมายหลากหลายบริษัทที่พัฒนาออกมาให้ได้ใช้กัน บางตัวก็ค่อนข้างเจาะจงสำหรับโครงสร้างแต่ละชนิด เช่น มีออฟชั่นพิเศษให้เลือกใช้ที่อาจจะไม่มีในโปรแกรมอื่น แต่โดยพื้นฐานแล้วเหมือนกันทั้งหมด แค่แตกต่างกันโดยรายละเอียดและการประยุกต์ใช้เท่านั้น ดังนั้นถ้าเข้าใจหลักการพื้นฐานก็สามารถจะใช้ได้ทุกโปรแกรม โปแกรมวิเคราะห์โครงสร้างอาจจะมีคนรู้จักหลายตัว แต่ตัวที่เป็นตัวแรกในโลกที่เป็นที่รู้จักกันสาธารณะจริงๆอาจจะไม่มีใครรู้ว่ามันคือตัวไหนกันแน่ แล้วยังคงมีให้ใช้อยู่หรือไม่ ผมไม่คอนเฟิร์มนะครับว่าคือตัวนี้ แต่ส่วนตัวผมคิดว่าคือ "IBM FRAN" ย่อมาจาก IBM Framed Structure Analysis Program ซึ่งต้องรันบนเครื่อง IBM 7090-7094 ที่ถือว่า 'สาธารณะ'จริงๆ เพราะขายให้ทุกบริษัทที่สนใจซื้อไปใช้ตั้งแต่ก่อนยุค 60 IBM FRAN แต่ถ้าเอา​โปรแกรม​แรก​ น่าจะเป็น​ SAMECS (STRUCTURAL ANALYSIS SYSTEM) ของโบอิ้ง​ แต่ตัวนี้มันเป็นทรัพย์สิน​ของบริษัทโบอิ้ง​ ไม่ขายสาธารณะ​ และถ้าใครศึกษา​ก็จะรู้ว่า​ หลักการวิเคราะห์โครงสร้าง​ด้วยคอมพิวเตอร์​นั้นเริ่มจากธุรกิจ​การบิน​ ประมาณต้นยุค​ 60​ ก่อนที่จะออกสู่สาธารณะไปสู่อุตสาหกรรมอื่น แต่ถ้าไปหาข้อมูลทั่วไป มักจะบอกว่า NASTRAN ที่พัฒนาโดย NASA คือโปรแกรม 'สาธารณะ' ตัวแรก แต่… Continue reading โปรแกรมวิเคราะห์โครงสร้างตัวแรกในโลก

Accidental · Assessment · Details and Construction · Lesson Learnt · Offshore Structure · Structural History

What happened to Alexander L. Kieland


What happened to Alexander L. Kieland K.Kurojjanawong 19-Nov-2023 วันที่ 18 พย ที่ผ่านมาเป็นวันครบรอบ 40 ปีของการจมลงอย่างถาวรของแท่นแบบลอยน้ำในตำนาน Alexander L. Kieland Semisubmersible Alexander L. Kieland อยู่ทางขวา (ที่มา https://en.m.wikipedia.org/wiki/Alexander_L.Kielland(platform)) Alexander L.Kielland หลังจากพลิกคว่ำ แท่น Alexander L. Kieland เป็นแท่นแบบ Semi-Submersible Platform หรือลอยน้ำ สำหรับขุดเจาะน้ำมันในแหล่ง Ekofisk เกิดการวิบัติเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 1980 (43 ปีที่แล้ว แต่ลากมาตรวจสอบและจมลงในอีก 3 ปีถัดมา) และจมลงกลางทะเลเหนือเมื่อปี 1980 โดยมีคนอยู่บนนั้น 212 คน ทำให้มีคนตายถึง 123 คน และรอดชีวิต… Continue reading What happened to Alexander L. Kieland

Accidental · Lesson Learnt · Offshore Structure · Structural History

34 ปี โศกนาฏกรรมในอ่าวไทยของเรือ Drillship Seacrest


34 ปี โศกนาฏกรรมในอ่าวไทยของเรือ Drillship Seacrest K.Kurojjanawong 18-Nov-2023เรือ Drillship Seacrest อับปางลงที่แหล่งปลาทอง ของ เชฟรอน (ยูโนแคล ขณะนั้น) เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ปี 2532 จากผลของ ไต้ฝุ่นเกย์ ที่ผ่าเข้ามากลางแหล่งปลาทองเลย โดยที่ยังไม่มีการอพยพคน เรือ Drillship Seacrest โดยไต้ฝุ่นเกย์ก่อตัวในอ่าวไทยแล้วขึ้นฝั่งเลย เทียบเฮอริเคนระดับ 5 ความเร็วลมที่ 260 กม/ชม (ความเร็วเฉลี่ย 1 นาที) แต่ตอนเข้าถึงเขตไทยลดความเร็วลมเหลือ 190 กม/ชม (ความเร็วเฉลี่ย 1 นาที) เทียบเท่าเฮอริเคนระดับ 3 ถือเป็นพายุลูกเดียวที่มีการบันทึกว่าขึ้นฝั่งบ้านเราขณะที่ยังเป็นไต้ฝุ่นอยู่ ทำคนตายไป 1060 คน ทิศทางการเคลื่อนที่ของพายุไต้ฝุ่นเกย์ ปี 2532 ในจำนวนนั้น คือโศกนาฏกรรมของเรือขุดเจาะน้ำมัน Seacrest สัญชาติสิงคโปร์ เจ้าของคือ… Continue reading 34 ปี โศกนาฏกรรมในอ่าวไทยของเรือ Drillship Seacrest

Accidental · Lesson Learnt · Offshore Structure · Structural History

40 Years Memorial to Alexander L. Kieland


40 Years Memorial to Alexander L. Kieland K.Kurojjanawong 18-Nov-2023 วันที่ 18 พย วันนี้เป็นวันครบรอบ 40 ปีของการจมลงอย่างถาวรของแท่นแบบลอยน้ำในตำนาน Alexander L. Kieland Semisubmersible (ตัวทางขวา) แท่น Alexander L. Kieland เป็นแท่นแบบ Semi-Submersible Platform หรือลอยน้ำ สำหรับขุดเจาะน้ำมันในแหล่ง Ekofisk เกิดการวิบัติเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 1980 (43 ปีที่แล้ว) จากผลของ fatigue crack ที่ major bracing 1 ใน 6 ชิ้น ส่งผลให้ pontoon หลุดออกไปจนเกิดการสูญเสียเสถียรภาพ พลิกคว่ำ และจมลงกลางทะเลเหนือเมื่อปี 1980 โดยมีคนอยู่บนนั้น 212 คน… Continue reading 40 Years Memorial to Alexander L. Kieland

Building · Earthquake · Industry Code · Offshore Structure · Structural History

แผ่นดินไหวระดับ MCE คาบการกลับ 2475 ปี ในอเมริกามีต้นกำเนิดมาจากอะไร?


แผ่นดินไหวระดับ MCE คาบการกลับ 2475 ปี ในอเมริกามีต้นกำเนิดมาจากอะไร? K. Kurojjanawong 20-Apr-2022 คาบการกลับ 2475 ปี หรือ 2% Probability of Exceedance in 50 Years ของ  Maximum Considered Earthquake (MCE) ซึ่งนิยามถึงระดับแผ่นดินไหวที่ทำให้โครงสร้างใกล้วิบัติ (Near Collapse Earthquake) ซึ่งโอกาสเกิดน้อยมากๆ (Very Rare Event) นั้นถูกนำมาใช้ครั้งแรกใน 1997 NEHRP Seismic Provision และถูกอ้างอิงต่อไปในหลายมาตรฐานทั่วสหรัฐอเมริกา ทั้ง ASCE 7, UBC และอื่นๆ ทั้งที่ก่อนหน้าปี 1997 นั้นไม่เคยมีการอ้างอิงถึง MCE มาก่อน มีเพียงระดับแผ่นดินไหวออกแบบ คือ Design Basis Earthquake (DBE)… Continue reading แผ่นดินไหวระดับ MCE คาบการกลับ 2475 ปี ในอเมริกามีต้นกำเนิดมาจากอะไร?

Accidental · Building · Details and Construction · Lesson Learnt · Modelling Technique · Offshore Structure · Structural History · Wind

ทำไมสะพานแขวน Humen Bridge ในประเทศจีนจึงเกิดการสั่นขึ้นลงอย่างรุนแรง


ทำไมสะพานแขวน Humen Bridge ในประเทศจีนจึงเกิดการสั่นขึ้นลงอย่างรุนแรง K. Kurojjanawong, 10-May-2020 เมื่อวันที่อังคารที่ 5 พค 2020 ที่ผ่านมา สะพานแขวน Humen Bridge ในประเทศจีนเกิดการสั่นขึ้นลงอย่างรุนแรง Bridge in China shakes like waves after being hit by strong winds ขณะเกิดเหตุมีรถสัญจรเต็มสะพาน ตอนนี้โดนสั่งปิดห้ามสัญจรเพื่อตรวจสอบแล้ว สะพาน Humen Bridge นี้ตั้งอยู่ในประเทศจีน เป็นสะพานแขวนความยาว 3.618 กิโลเมตร มีช่วงพาดระหว่างจุดรองรับหลัก 888 เมตร เปิดใช้เมื่อปี 1997 หรือ 23 ปีมาแล้ว ตำแหน่งของสะพาน Humen ดังนั้นจึงไม่ใช่สะพานสร้างใหม่ และใช้งานมานานมากแล้ว ไม่เคยมีปัญหา ผลการตรวจสอบเบื้องต้น วิศวกรของจีนระบุสาเหตุคร่าวๆ ว่าเกิดจากการติดตั้ง Temporary Water… Continue reading ทำไมสะพานแขวน Humen Bridge ในประเทศจีนจึงเกิดการสั่นขึ้นลงอย่างรุนแรง

Interesting · Offshore Structure · Structural History

Principia หนังสือเปลี่ยนโลก


Principia หนังสือเปลี่ยนโลก K.Kurojjanawong, 3-Apr-2020 ในบรรดาหนังสือจำนวนหลายพันล้านเล่มที่ได้รับการตีพิมพ์มาตลอดหลายศตวรรษ แต่มีหนังสือเพียงไม่กี่เล่มที่ได้รับการจดจำและกล่าวถึง และในจำนวนนั้นมีหนังสืออยู่หนึ่งเล่มที่ได้ชื่อว่าเป็นหนังสือที่มีเนื้อหาที่อัดแน่นไปทุกตัวอักษรและทฤษฏีใหม่ที่เปลี่ยนแปลงโลกใบนี้จากหน้ามือเป็นหลังมือ หนังสือเล่มนี้มีชื่อว่า Philosophiae Naturalis Principia Mathematica ชื่อเรียกสั้นๆ ว่า Principia ซึ่งเขียนโดย เซอร์ ไอแซก นิวตัน ในระหว่างปี ค.ศ. 1684 ถึง 1686 และได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1687 หรือกว่าสามร้อยปีที่แล้ว Principia หรือที่มีชื่อเต็ม ๆ ในภาษาละตินว่า Philosophiæ Naturalis Principia Mathematica เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นโดยบุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล นั่นก็คือ เซอร์ไอแซค นิวตัน (Sir Isaac Newton) นั่นเอง Principia เป็นหนังสือชุดสามเล่ม ประกอบด้วยเล่ม 1 De motu corporum (On the motion of body)… Continue reading Principia หนังสือเปลี่ยนโลก

Assessment · Building · Decommissioning · Details and Construction · Interesting · Lesson Learnt · Offshore Structure · Structural History

ขวางใช่มั้ย ย้ายแม่มเลยยย


ขวางใช่มั้ย ย้ายแม่มเลยยย K.Kurojjanawong, 5-Jan-2020 มาดูวิธีที่โรมาเนียใช้เปลี่ยนแปลงผังเมืองเมื่อสามสิบกว่าปีก่อน อาคารเก่า 5 ชั้น ที่เป็นอุปสรรคของแผนการท่านผู้นำ โรมาเนียในปี 1987 ในสมัยการปกครองของผู้นำเผด็จการ มีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงผังเมืองของเมือง Alba Iulia ด้วยการตัดถนนสายหลักผ่ากลางเมือง (boulevard) อาคารถูกตัดเป็นสองส่วน อาคารถูกตัดเป็นสองส่วน เมือง Alba Iulia ซึ่งเต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่องในสไตล์สังคมนิยมโซเวียตจำนวนมาก เป็นที่ขวางหูขวางตาท่านผู้นำ Nicolae Ceausescu เป็นอย่างมาก รวมไปถึงโบสถ์จำนวนมากในเมือง ในจำนวนตึกเก่าทั้งหลาย มีอยู่หนึ่งตึกที่ตั้งขวางเส้นทางของถนนเส้นนี้ จึงจำเป็นต้องหาทางกำจัดออกไป ซึ่งจากการศึกษาเค้าพบว่าการจะทำลายอาคาร 5 ชั้น ขนาดหนัก 7600 หลังนี้ นั้นต้องใช้ค่าใช้จ่ายและค่าชดเชยจำนวนมาก เมื่อเทียบกับค่าขนย้าย อาคารถูกตัดเป็นสองส่วน ระบบไฮดรอลิกและรางที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายอาคาร ระบบไฮดรอลิกและรางที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายอาคาร เค้าจึงตัดสินใจทำการย้ายทั้งอาคารแทน โดยตัดอาคารออกเป็นสองส่วน แล้วตัดฐานรากออกจากตัวอาคาร จากนั้นใช้ Hydraulic Jack และ Steel Frame ยกอาคารขึ้นทีละอาคาร แล้วค่อยๆ ขยับมันออกไปตามรางเหล็กที่วางไว้ โดยแต่ละฝั่งขยับด้านข้างระยะ… Continue reading ขวางใช่มั้ย ย้ายแม่มเลยยย

Building · Details and Construction · Interesting · Offshore Structure · Structural History · Technology

ความสำคัญของ Pinnacle สำหรับโครงสร้างแบบ Gothic Architect


ความสำคัญของ Pinnacle สำหรับโครงสร้างแบบ Gothic Architect K. Kurojjanawong, 5-Jan-2019 Pinnacle คืออะไรและอยู่ตรงไหน? Pinnacle จะอยู่ส่วนบนสุดของ Buttresses ซึ่งเป็นกำแพงอิฐ (Masonry Structure) ดังแสดงในรูป หลายๆ อาจจะคิดว่ามีไว้เพื่อความสวยงาม ซึ่งถูกต้องเพียงครึ่งเดียว จริงๆ แล้ว Pinnacle มีประโยชน์อย่างอื่นด้วยในทางวิศวกรรมโครงสร้างของตัวโครงสร้างแบบโกธิค ซึ่งถือว่าเป็นความฉลาดของคนสมัยโบราณเป็นอย่างมาก จากการลองผิดลองถูกหลายครั้ง เนื่องจากโครงสร้างจากอิฐ (Masonry Structure) ที่นิยมในสมัยยุคกลางของยุโรป (Middle Age) นั้นโดยปกติรับแรงดึงได้ไม่ดี แต่สามารถรับแรงอัดได้ และเทคโนโลยีด้านวัสดุสมัยนั้นยังไม่ดี ยังไม่รู้จักการเสริมกำลังของโครงสร้าง หลักการถ่ายแรงจากส่วนบนลงมายังฐานรากของโครงสร้างแบบโกธิคนั้นถ่ายแรงจากส่วนหลังคาที่เป็น Ribbed Vault มายังตัวค้ำยันแบบครีบลอยหรือ Flying Buttresses ซึ่งจะยันไปยังส่วนหัวของกำแพงหรือ Buttresses เนื่องจาก Buttresses นั้นสร้างมาจากอิฐ ซึ่งรับแรงดึงและแรงเฉือนได้ไม่ดี การที่มีแรงกระทำเป็นจุด จึงมีผลทำให้ตัว Buttresses เกิดการเสียหายเฉพาะจุดได้ เนื่องจากแรงเสียดทานในวัสดุนั้นขึ้นกับสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานของวัสดุและแรงกดที่กระทำตั้งฉากกับพื้นผิว การที่มีน้ำหนักของ Pinnacle… Continue reading ความสำคัญของ Pinnacle สำหรับโครงสร้างแบบ Gothic Architect

Building · Interesting · Structural History

สถาปัตยกรรมแบบโกธิคและความเจริญทางด้านวิศวกรรมโยธาในยุคสมัยกลาง


สถาปัตยกรรมแบบโกธิคและความเจริญทางด้านวิศวกรรมโยธาในยุคสมัยกลาง K.Kurojjanawong, 30-Dec-2019 สถาปัตยกรรมแบบโกธิค (Gothic Architect) คือสถาปัตยกรรมสิ่งก่อสร้างที่พัฒนาขึ้นในสมัยกลางของยุโรป (Middle Ages) ซึ่งอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 5 ถึง 16 Gothic Architecture: 9 Iconic Cathedrals from the Depths of History, https://www.arch2o.com/gothic-architecture-9-iconic-cathedrals-from-the-depths-of-history/amp/ ช่วงสมัยกลางนั้นบางครั้งจะเรียกว่ายุคมืด (Dark Age) ซึ่งกินเวลาถึง 1000 ปี เนื่องจากเป็นรอยต่อของความก้าวหน้าระหว่างยุคโบราณ (Classic Period) และยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลาง, https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87 สมัยกลางนั้นอยู่ในช่วงหลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันในยุโรป ไปสู่การเปลี่ยนผ่านทางประวัติศาสตร์สู่ยุคใหม่ โดยสมัยนี่ถือเป็นช่วงถดถอยทางความคิด ปรัชญา งานศิลปะ ไร้ซึ่งความก้าวหน้าทางสังคม เต็มไปด้วยความมืดมน งานศิลปะ ภาพวาด งานปั้น ไร้มิติ ไร้อารมณ์ จึงถูกเรียกว่ายุคมืด… Continue reading สถาปัตยกรรมแบบโกธิคและความเจริญทางด้านวิศวกรรมโยธาในยุคสมัยกลาง