Installation · Ocean Wave · Oceanography · Offshore Structure

Super Large Mono-Tower Structure


Super Large Mono-Tower Structure K.Kurojjanawong 25-Feb-2022 เป็น Study ที่ผมทำไว้ 3 ปีที่แล้ว เผื่อจะมีใครสนใจ ในการศึกษา Piling Template สำหรับการติดตั้ง Mono-Tower ขนาดใหญ่มาก เส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 9 – 11 เมตร (ก็ประมาณท่อเดียวครอบห้องคอนโดขนาด 100 ตร ม ได้เลย) ในน้ำลึกประมาณ 50 เมตร ซึ่งไม่เคยทำมาก่อนในโลก โดยศึกษาว่าจะควรจะออกแบบ Piling Template ยังไงและแรงกระทำต่อ Mono-Tower จากผลของขนาดของมันสูงขนาดไหน เนื่องจากมีผลของ Diffraction effect เข้ามาด้วย พบว่าท่อๆ เดียว สามารถมีแรงกระทำได้สูงถึง 400-700 ตัน และมี Overturing moment สูงประมาณ 20000-30000 ตัน-เมตร สุดท้ายงานนี้เข้าใจว่าอาจจะไม่เกิด เพราะตัว… Continue reading Super Large Mono-Tower Structure

Ocean Wave · Oceanography · Offshore Structure

Wake Turbulence


Wake Turbulence K. Kurojjanawong 23 - Jan - 2022 Vapor Trail ของเครื่องบิน จากผลของ Wake Turbulance Wake Turbulence สำหรับเรื่องการบินหรือกระแสอากาศหมุนวนจากเครื่องบินลำหน้า ซึ่งอาจเป็นอันตรายกับเครื่องบินได้ จึงต้องมีระยะปลอดภัยระหว่างเครื่องบินสองลำ ทำให้เมื่อเครื่องบินลำหน้าขึ้นไปแล้ว ลำถัดมาต้องรอ ขึ้นต่อกันทันทีไม่ได้ เราจึงต้องนั่งแกร่วบนเครื่องแล้วบ่นกันว่า ทำไมเครื่องไม่ขึ้นสักที ในการไหลของของไหลผ่านสิ่งกีดขวาง ล้วนเกิด Wake Turbulance ทั้งสิ้นไม่เพียงแต่เครื่องบิน โครงสร้างที่อยู่ในน้ำ​ การไหลของน้ำ​ (หรือแม้แต่โครงสร้าง​ที่รับแรงลม) ผ่านไปที่ความเร็วค่าหนึ่งๆ​ (มักจะเป็นความเร็วต่ำๆ)​ อาจจะทำให้เกิดการไหลปั่นป่วนเป็นวนหลังวัตถุ​ได้​ ซึ่งมีผลให้เกิดแรงกระทำสูงขึ้น ในทางทฤษฏี​ เราแสดงผลของ​ Wake​ Turbulance​ ผ่านค่า​ Drag Coefficient (Cd) ซึ่งค่า​ Cd นั้นปกติจะไม่คงที่​ ขึ้นกับความเร็วของของไหล​ ขนาดวัตถุ​ และอื่นๆ​ ซึ่งค่าที่ระบุว่า​ Wake​ Turbulance​ จะเกิดหรือไม่​… Continue reading Wake Turbulence

Modelling Technique · Naval Architect · Ocean Wave · Oceanography · Offshore Structure · Random Vibration

Kvitebjørn Platform – A Highly Sensitive Dynamic Structure


Kvitebjørn Platform – A Highly Sensitive Dynamic Structure K.Kurojjanawong 10-Oct-2021 Kvitebjorn Platform เป็นโครงสร้างแท่นขุดเจาะน้ำมันกลางทะเลของบริษัท Statoil (ปัจจุบันคือ Equinor) ก่อสร้างและติดตั้งประมาณ ปี 2003 ในทะเลเหนือ โดยอยู่ในน้ำลึกถึง 190 ม รองรับ Topside หนัก 23000 ตัน โดยที่มีน้ำหนัก Jacket เพียง 8000 ตัน ซึ่งเบามากสำหรับโครงสร้างหัวหนักมากและอยู่ในน้ำลึกขนาดนี้ ซึ่งผมเข้าใจว่าเค้าต้องการรีดเพื่อให้มันสามารถยกได้ เนื่องจากถ้าหนักกว่านี้ อาจจะหาเครนยกไม่ขึ้นและจะต้องเปลี่ยนเป็น Launched Jacket ซึ่งแพงและมีความเสี่ยงช่วงติดตั้งมากขึ้น โดยส่วนฐานมีความกว้างเพียง 50 ม * 50 ม ทำให้มันค่อนข้าง Slender มาก เมื่อวิเคราะห์ออกมาพบว่ามีคาบโหมด 1 สูงถึง 5.1 วินาที และ… Continue reading Kvitebjørn Platform – A Highly Sensitive Dynamic Structure

Industry Code · Installation · Modelling Technique · Ocean Wave · Oceanography · Offshore Structure

Weather Restricted VS Weather Unrestricted Operation


Weather Restricted VS Weather Unrestricted Operation K.Kurojjanawong 5-Sep-2021 Weather Restricted และ Weather Unrestricted Operation นั้นคืออะไร หลายคนได้ยินคำนี้บ่อยๆ แต่มักไม่เข้าใจความหมายและความสำคัญของมัน และการเลือกผิด นั้นส่งผลโดยตรงต่อราคาค่าก่อสร้างและราคาค่าติดตั้งโครงสร้างในทะเล เราจะเห็นทั้งสองคำนี้ในการติดตั้งโครงสร้างในทะเล โดย Weather Restricted คือการที่เรากำหนดข้อมูล คลื่น ลม กระแสน้ำ หรือ ใดๆ ก็ตามที่เกี่ยวกับสภาพอากาศ ขึ้นมาเอง จากข้อจำกัดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น จากประสบการณ์ที่ผ่านมาจากงานก่อนๆ ที่อาจจะรู้ว่าคลื่นลมแรงขนาดไหนจะทำงานได้หรือไม่ได้ จากข้อจำกัดของอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้ง ตัวเรือ รวมไปถึงตัวโครงสร้างที่จะติดตั้งเอง ที่อาจจะรับแรงได้ถึงแค่ระดับใดระดับหนึ่งเท่านั้น ด้วยข้อจำกัดทั้งหลาย เราจึงมักจะกำหนดขึ้นมาเองว่าจะติดตั้งได้เมื่อ คลื่นลม รุนแรงได้มากที่สุดเท่าใด ถ้าเกินกว่านั้นจะติดตั้งไม่ได้ ซึ่งจะใช้กับการติดตั้งที่สามารถปฏิบัติการได้สำเร็จโดยใช้ระยะเวลาไม่นานมาก ที่สภาพอากาศยังคงไม่เปลี่ยนแปลงมาก โดยปฏิบัติการนั้นจะต้องสามารถเปลี่ยนแผนและพร้อมที่จะยกเลิกได้ตลอดเวลาเมื่อคลื่นลมรุนแรงสูงกว่าที่กำหนดไว้ และต้องสามารถนำโครงสร้างที่จะติดตั้งกลับคืนอยู่ในสภาพที่ปลอดภัยได้ทัน หรือ Reverse Installation เช่น ในสภาวะ On-bottom Stability… Continue reading Weather Restricted VS Weather Unrestricted Operation

Installation · Modelling Technique · Ocean Wave · Oceanography · Statistics · Wind

Probability of Exceedance – Annual Statistic Values VS Seasonal Statistic Values


Probability of Exceedance – Annual Statistic Values VS Seasonal Statistic Values K.Kurojjanawong 7-May-2021 Annual Extreme Statistic Values กับ Seasonal Extreme Statistic Values นั้นแตกต่างกันมาก และวิศวกรโครงสร้างที่ต้องนำค่าทางสถิติไปวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างนั้นพอไม่เข้าใจ ก็มักจะใช้ค่าผิดในการออกแบบอยู่เสมอๆ โดยเฉพาะเมื่อค่า Return Period มันต่ำกว่า 1 ปี นั้นจะทำให้คนสับสนได้ทันที เช่น การออกแบบโครงสร้างในช่วงติดตั้งที่มีช่วงเวลาเพียงสั้นๆ ไม่กี่วันนั้น มาตรฐานยอมให้ใช้ Return Period ต่ำจนสามารถเหลือเพียง 1-3 Months Return Period เท่านั้น เมื่อลงลึกไปยังรายละเอียด เราตั้งใจว่าจะติดตั้งช่วงเดือนไหนของปี แน่นอน เราสามารถใช้ข้อมูลเฉพาะในเดือนนั้นๆ ก็ยังได้ กรณีแบบแรกที่เรากำหนดเพียง Return Period นั้นจะเรียกว่า Annual Statistic… Continue reading Probability of Exceedance – Annual Statistic Values VS Seasonal Statistic Values

Details and Construction · Installation · Lesson Learnt · Modelling Technique · Ocean Wave · Oceanography · Offshore Structure

โครงการออกแบบรายละเอียด จัดซื้อจัดจ้าง และติดตั้ง แท่นขุดเจาะก๊าซโอเซเบิร์ก เอช


โครงการออกแบบรายละเอียด จัดซื้อจัดจ้าง และติดตั้ง แท่นขุดเจาะก๊าซโอเซเบิร์ก เอช (Oseberg Vestflanken 2 Engineering, Construction, Procurement and Installation (EPCI) Project) K.Kurojjanawong 7-Feb-2020

Ocean Wave · Oceanography · Offshore Structure

ผลของคลื่นทะเลลงไปลึกขนาดไหน?


ผลของคลื่นทะเลลงไปลึกขนาดไหน? K.Kurojjanawong 21-Jan-2019 ตาม Rule of Thumb คือ ครึ่งหนึ่งของความยาวลูกคลื่น เช่น คลื่นสูง 15 ม คาบ 10 วินาที ถ้าเป็นคลื่นน้ำลึกความยาวคลื่นประมาณได้คือ (g/2*π)*T^2 (~1.56*T^2) จะได้ (9.81/2*3.14)*10^2 = 156m ดังนั้นคลื่นลูกนี้จะมีผลกับน้ำลึกไม่เกิน 156m/2 = 78 m หมายความว่า ถ้าคลื่นสูง 15ม คาบ 10วิ ไปอยู่ในน้ำลึก 78ม มันสามารถที่จะพาของที่พื้นทะเลให้เคลื่อนที่ไปกับมันได้ (ถ้าแรงมากพอ) แต่ถ้าเกิดในน้ำลึก 90ม ของที่พื้นทะเลจะแทบไม่ขยับเพราะว่าผลของมันลงมาไม่ถึง หรือถึงแค่ความลึกประมาณ 78ม จากระดับน้ำ หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ โครงสร้างอะไรที่อยู่ในช่วงตั้งแต่ผิวน้ำลงมาที่ความลึกไม่เกินครึ่งหนึ่งของความยาวคลื่น มันจะเรียกว่าอยู่ใน Wave Dominant Zone หรือ โซนที่โดนแรงจากคลื่นกระทำ ถ้าลึกเกินกว่านั้น จะเป็น Current Dominant… Continue reading ผลของคลื่นทะเลลงไปลึกขนาดไหน?

Industry Code · Naval Architect · Ocean Wave · Oceanography · Offshore Structure

Douglas Seastate Scale


Douglas Seastate Scale K.Kurojjanawong 5-Jan-2019 เห็นมีดราม่ากันในโซเซียลเรื่องเรือหลวงจักรีนฤเบศ ว่าออกไปทำไมช่วงนี้ ก็เห็นมีทหารเรือออกมาอธิบาย เพราะว่าเรือลำนี้ใหญ่ที่สุดและทน Seastate ได้ระดับ 9 เนื่องจากคลื่นสูงมาก เรือลำอื่นปฏิบัติการได้ไม่เต็มที่ แล้วไอ้ Seastate ระดับ 9 คืออะไร มาดูกัน มันมาจากมาตรวัดโบราณ ที่กำหนดโดยกัปตัน H.P. Douglas ชาวอังกฤษ มาตั้งแต่ปี 1920 ปัจจุบันใช้อ้างอิงโดย WMO (World Meteorological Organisation) ด้วย รู้จักกันในชื่อ Douglas Seastate Scale หรือ Ship Code ซึ่งเป็นระดับความสูงของคลื่นในทะเล มี 2 มาตรวัด คือ ระดับของ Wind Sea และ Swell Sea แต่ละมาตร มี 9 ระดับ… Continue reading Douglas Seastate Scale

Modelling Technique · Ocean Wave · Oceanography · Offshore Structure · Wind

Typical Environmental Load Level on North Sea Offshore Structure


Typical Environmental Load Level on North Sea Offshore Structure K.Kurojjanawong 14-Dec-2018 เนื่องจากช่วงนี้ผมกำลังหาไอเดียใหม่ในการเอามาใช้กับโครงสร้างในทะเล เลยไปค่อยๆ ไล่อ่านระบบรับแรงด้านข้างของตึกสูงๆ ที่นิยมใช้กัน ไม่ว่าจะเป็น Brace Frame, Rigid Frame, Shear Wall, Tube in Tube, Outrigger คือผมก็สงสัยมานานมาแล้วว่าทำไมระบบพวกนี้มันถึงใช้ในโครงสร้างที่อยู่ในทะเลไม่ได้ หลังจากลองศึกษาสักพัก พบว่ารูปแบบโครงสร้างนั้นแตกต่างกันแบบหน้ามือกับหลังมือ เพราะแรงจากคลื่นและกระแสน้ำในทะเลนั้นสูงกว่าแรงจากลมและแผ่นดินไหวเยอะมากๆ ซึ่งผมก็พอรู้บ้างแต่ไม่เคยลงมาดูตัวเลขจริงๆ สักที เท่าที่หาดูคร่าวๆ นั้น อาคารสูงๆ ระดับ 300 กว่าเมตร อย่าง อาคาร มหานครนั้น มี 2475Yrs Seismic Base Shear ประมาณ 6000-7000 ตัน มี Overturning Moment ประมาณ 500,000-600,000 ตัน-ม… Continue reading Typical Environmental Load Level on North Sea Offshore Structure