Foundation · Offshore Structure · Random Vibration · Statistics

Cyclic Loading Cycles


Cyclic Loading Cycles K.Kurojjanawong 2-Jul-2022 Cyclic loading ที่มีผลต่อกำลังของฐานรากนั้น ปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ ขนาดของ Mean Loading (Qm) และ Cyclic Amplitude (Qc) ต่อ Static Capacity (Qstat) ซึ่งนิยามด้วย Qm/Qstat และ Qc/Qstat โดย Jardine and Standing (2012) แนะนำว่าถ้า Qc/Qstat น้อยกว่า 0.25 ผลของ Cyclic Loading นั้นสามารถยกเว้นได้ อีกส่วนที่สำคัญมากๆ คือ จำนวนรอบของ Cyclic Loading ถึงแม้ว่า Qc/Qstat จะสูงมาก แต่ถ้ามาแค่รอบเดียวอาจจะมีผลน้อยว่า Qc/Qstat ที่ต่ำกว่าแต่มาหลักหลายสิบหรือร้อยรอบ ปัญหาเรื่อง Cyclic loading และความล้าไม่ว่าจะความล้าของเหล็กหรือของดินนั้น การนับจำนวนรอบของ… Continue reading Cyclic Loading Cycles

Building · Earthquake · Offshore Structure · Random Vibration

The Effect of Phase Lag between PSD and Transfer Function


The Effect of Phase Lag between PSD and Transfer Function K.Kurojjanawong 12-Mar-2022 ทำไมเมื่อเห็นพีคของ Ground Motion Power Spectral Density (PSD) ที่กลาง กทม จากผลของแผ่นดินไหวที่กาญจนบุรี และ Transfer Function ของอาคารสูง มันห่างกันแล้ว ถึงควรสบายใจ จากการหลักการของ Frequency Domain นั้น คลื่นแบบ Random Signal นั้นสามารถถอดรหัสออกมาเป็นความถี่ต่างๆ ด้วยการทำ Fourier Transform จะแสดงออกมาเป็นความหนาแน่นของคลื่นที่ความถี่ต่างๆ หมายความว่า ถ้าเราเห็นมันสูงสุดอยู่แถวไหน แสดงว่ามันหนาแน่นที่สุดแถวนั้น และพบว่า Ground Motion PSD กลาง กทม จากผลของแผ่นดินไหวที่กาญจนบุรี ขนาด M4.9 เมื่อ ธันวาคม 2018… Continue reading The Effect of Phase Lag between PSD and Transfer Function

Building · Earthquake · Industry Code · Offshore Structure · Random Vibration

Effect of Frequency Content on the Structural Excitation


Effect of Frequency Content on the Structural Excitation K.Kurojjanawong 6-Mar-2022 ทำไมผลการวัดคลื่นแผ่นดินไหวที่วัดได้ถึงสามารถบอกเราได้ว่ามันจะมีผลต่ออาคารสูงหรือไม่ คิดว่าหลายคนน่าจะงง ในสรุปที่ผมโพสไปเมื่อวันก่อนว่า คลื่นแผ่นดินไหวที่กาญจนบุรี ขนาด M4.9 เมื่อ เดือน ธันวาคม ปี 2018 นั้นมันบอกอะไรได้มากมาย ถ้าเรามีพื้นฐานเรื่องการวิเคราะห์สัญญาณโดยเฉพาะวิธี Frequency Domain Analysis มาก่อน เราสามารถจะพอเดาได้ทันทีว่าคลื่นแบบนี้จะมีผลต่ออาคารสูงหรือไม่ คลื่นแบบ Random Vibration ที่มีความถี่มั่วๆ ผสมกันนั้น ตีความได้ยากและดูด้วยตาเปล่าไม่ได้ ซึ่งคลื่นประเภทนี้ก็คือ คลื่นแผ่นดินไหว ความเร็วลม คลื่นทะเล มันจะสั่นขึ้นลงด้วยคาบและความสูงไม่คงที่และปะปนกัน ไม่เหมือนคลื่นจากอุปกรณ์ที่มนุษย์สร้าง อย่างพวกคลื่นจาก Mechanical Equipment ที่อาจจะสั่นด้วยความถี่คงที่มากๆ จนรู้ว่าจะเกิด Resonance ได้ ต้องความถี่เท่าไร ในขณะที่ คลื่นแบบ Random Vibration นั้นความถี่หรือ Frequency Content… Continue reading Effect of Frequency Content on the Structural Excitation

Modelling Technique · Naval Architect · Ocean Wave · Oceanography · Offshore Structure · Random Vibration

Kvitebjørn Platform – A Highly Sensitive Dynamic Structure


Kvitebjørn Platform – A Highly Sensitive Dynamic Structure K.Kurojjanawong 10-Oct-2021 Kvitebjorn Platform เป็นโครงสร้างแท่นขุดเจาะน้ำมันกลางทะเลของบริษัท Statoil (ปัจจุบันคือ Equinor) ก่อสร้างและติดตั้งประมาณ ปี 2003 ในทะเลเหนือ โดยอยู่ในน้ำลึกถึง 190 ม รองรับ Topside หนัก 23000 ตัน โดยที่มีน้ำหนัก Jacket เพียง 8000 ตัน ซึ่งเบามากสำหรับโครงสร้างหัวหนักมากและอยู่ในน้ำลึกขนาดนี้ ซึ่งผมเข้าใจว่าเค้าต้องการรีดเพื่อให้มันสามารถยกได้ เนื่องจากถ้าหนักกว่านี้ อาจจะหาเครนยกไม่ขึ้นและจะต้องเปลี่ยนเป็น Launched Jacket ซึ่งแพงและมีความเสี่ยงช่วงติดตั้งมากขึ้น โดยส่วนฐานมีความกว้างเพียง 50 ม * 50 ม ทำให้มันค่อนข้าง Slender มาก เมื่อวิเคราะห์ออกมาพบว่ามีคาบโหมด 1 สูงถึง 5.1 วินาที และ… Continue reading Kvitebjørn Platform – A Highly Sensitive Dynamic Structure

Modelling Technique · Ocean Wave · Offshore Structure · Random Vibration · Reliability

Example of DAF Calculation from Nonlinear Inelastic Dynamic Random Wave Analysis (EDAF)


Example of DAF Calculation from Nonlinear Inelastic Dynamic Random Wave Analysis (EDAF) K.Kurojjanawong 30-Sep-2021 การวิเคราะห์เพื่อหา Dynamic Amplification Factor (DAF) นั้นมีหลายระดับมาก ขึ้นอยู่กับระดับความซับซ้อนของปัญหาที่สนใจ ระดับที่ง่ายที่สุด ก็คือ สมมติว่ามันเป็น Single Degree of Freedom (SDOF) แล้วคำนวณตามสมการอย่างง่ายแล้วนำไปใช้เลย ซึ่งเป็นวิธีที่ทุกคนคุ้นเคยที่สุด อย่างไรก็ดีมันเหมาะกับปัญหาอย่างง่ายเท่านั้น เช่น มีคาบธรรมชาติห่างจาก คาบของแรงกระทำอย่างน้อย สัก 3 เท่า ไม่ว่าจะน้อยกว่าสามเท่าหรือสูงกว่าสามเท่า จะสามารถทำให้หลบช่วง Resonance ได้อย่างมีนัยยะ ทำให้ผลของ Dynamic Excitation มันต่ำมาก ดังนั้นการใช้ SDOF จึงค่อนข้างปลอดภัย เพราะให้ค่าสูง และ DAF ที่ได้รับออกมาต่ำอยู่แล้ว เช่นน้อยกว่า 1.10… Continue reading Example of DAF Calculation from Nonlinear Inelastic Dynamic Random Wave Analysis (EDAF)

Modelling Technique · Ocean Wave · Offshore Structure · Random Vibration

Spectral Wave VS Deterministic Wave


Spectral Wave VS Deterministic Wave K.Kurojjanawong 26-Mar-2021 วันนี้ผมเอามาเรื่องผลการเลือกวิธีการวิเคราะห์โครงสร้างมาเล่าให้ฟัง วันนี้มีคนเอาเรื่องนี้มาถามเลยนำมาเล่าให้ฟัง โดยเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่ผมรู้จากการโดนคอมเมนท์รายงานเมื่อหลายปีมาแล้ว คอมเมนท์นี้จะพบเฉพาะจาก DNV สำนักงานใหญ่เท่านั้น ผมไม่เคยเจอใครคอมเมนท์แบบนี้ และทำให้ผมจำขึ้นใจเลยทีเดียว ทุกครั้งที่ได้รับการคอมเมนท์ นั่นคือการเรียนรู้ชั้นดี การไม่โดนใครคอมเมนท์เลย ทำให้เราไม่รู้เลยว่าเราลืมหรือทำอะไรผิดไปบ้าง คลื่นในทะเลนั้นมีคุณลักษณะเป็น Random Vibration โดยธรรมชาติ ความถี่จะไม่คงที่เปลี่ยนแปลงไปมา ดังนั้นในการวิเคราะห์ด้านความล้าของโครงสร้าง (Fatigue Analysis) นั้นจะใช้วิธี Spectral Analysis เป็นหลัก เนื่องจากสามารถที่จะจำลองพลังงานของลูกคลื่นจากทุกความถี่ได้ผ่าน Wave Density Spectrum   อย่างไรก็ดีจุดบอดของวิธีนี้คือ การที่มันอยู่บนหลักของ Linear Wave ที่ทำการ Superposition กันจำนวนมากจนกลายเป็น Random Wave การที่มันอยู่บนพื้นฐานของ Linear Wave Theory ที่ต้องมีการรวมจำนวน Sin/Cos Wave จำนวนมากนั้นทำให้มันมีข้อจำกัดคือไม่สามารถที่จะใช้กับคลื่นลูกใหญ่ๆ ที่มีความเป็น Nonlinearity… Continue reading Spectral Wave VS Deterministic Wave

Building · Offshore Structure · Random Vibration · Statistics · Wind

Wind Turbulence Analysis – Basic Statistic for Two Point Measurement, Spatial and Time Effect


Wind Turbulence Analysis – Basic Statistic for Two Point Measurement, Spatial and Time Effect K. Kurojjanawong 14-May-2020 บทความที่แล้วเราทำความเข้าใจกับค่าทางสถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลความเร็วลมที่วัดมาจากคนละจุดที่อยู่ห่างกันระยะหนึ่ง โดยยังไม่คำนึงถืงผลของเวลา ด้วย หรือ เป็นการพิจารณาถึงผลของการที่มัน Random in Space เพียงอย่างเดียว หรือทางเทคนิคเรียกว่า Spatial Separation Effect ในบทความนี้เราจะขยับความซับซ้อนขึ้นไปอีกขั้นพิจารณาทั้งผลของตำแหน่งและเวลา หรือ Spatial and Time Separation ถ้าตามตารางก็คือ ตารางฝั่งด้านขวามือที่อยู่ข้างล่าง Cross-Covariance Function, Cij (r, r’, τ) Cross-Covariance Function เป็นส่วนผสมของ Autocovariance Function ที่เป็นค่าเฉลี่ยของความเร็วลมยกกำลังสองที่ตำแหน่งเดียวกันแต่มี Time Lag ของเวลากัน และ Spatial… Continue reading Wind Turbulence Analysis – Basic Statistic for Two Point Measurement, Spatial and Time Effect

Building · Offshore Structure · Random Vibration · Wind

Wind Turbulence Analysis – Basic Statistic for Two Point Measurement, Spatial Effect


Wind Turbulence Analysis – Basic Statistic for Two Point Measurement, Spatial Effect K. Kurojjanawong 13-May-2020 บทความที่แล้วเราทำความเข้าใจกับค่าทางสถิติที่สำคัญสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลความเร็วลมที่วัดมาจากจุดใดจุดหนึ่ง ณ เวลาต่างๆ กัน ทั้งที่เกิดจาก Gust Wind ทิศทางเดียว หรือ สองทิศทาง โดยค่าทางสถิติในบทความที่แล้วซึ่งอยู่ในตารางข้างล่างทางฝั่งซ้ายมือใช้อธิบายถึงความไม่แน่นอนของความเร็วลมที่ตำแหน่งใดๆ จากผลของเวลา หรือ ผลของการที่มัน Random in Time ในบทความนี้เราจะขยับความซับซ้อนขึ้นไปอีกขั้น คือเป็นค่าทางสถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลความเร็วลมที่วัดมาจากคนละจุดที่อยู่ห่างกันระยะหนึ่ง โดยยังไม่คำนึงถืงผลของเวลา ด้วย หรือ เป็นการพิจารณาถึงผลของการที่มันRandom in Space เพียงอย่างเดียว หรือทางเทคนิคเรียกว่า Spatial Effect ถ้าตามตารางก็คือ ตารางฝั่งด้านขวามือที่อยู่ข้างบนที่เป็น Spatial Separation Only Spatial Covariance Function, Cii (r, r’)… Continue reading Wind Turbulence Analysis – Basic Statistic for Two Point Measurement, Spatial Effect