Interesting · Offshore Structure

ซื้อหนังสือมาจำเป็นต้องอ่านทุกเล่มทุกหน้าหรือไม่?


ซื้อหนังสือมาจำเป็นต้องอ่านทุกเล่มทุกหน้าหรือไม่? K.Kurojjanawong 22-Jul-2022 ช่วงนี้ขายหนังสือ​ไป​ ก็ได้รับคำถามกลับมาเรื่อยๆ​ โดยเฉพาะจะอ่านยังไงให้รู้ทั้งหมด? คำตอบที่ผมให้คือ​ อ่านแต่สารบัญ​ครับ​ ซื้อหนังสือ​มาเยอะๆ​ ไม่จำเป็นต้องอ่านทุกแผ่น​ อ่านคร่าวๆ​ ก็พอ​ ยกเว้นแต่สนใจเรื่องไหนเป็นพิเศษ​ ซื้อหนังสือมาเก็บนั้นไม่ผิด​ และถือเป็นความชอบของแต่ละคน​ บางท่านชอบเห็นหนังสือในตู้โชว์​ เพราะสันหนังสือมันมีสีสัน​ มันก็เหมือนของตกแต่งบ้านอย่างหนึ่ง​ ที่มีไว้เยอะๆ​ แล้วดูฉลาดในสายตาคนอื่น​ ถึงจะไม่เคยเปิดเลยก็เถอะ​ แต่เมื่อถึงเวลาต้องใช้​ ต้องรู้ว่ามันอยู่ตรงไหน​ อย่างน้อยต้องรู้ว่าอยู่เล่มไหน แล้วไปหาจาก​ Index​ เอา ปัญหา​ของคนส่วนใหญ่​เลย​ คือ​ มีหนังสือมากเกินไป​ เช่น​ มี​ RC​ Design​ หลายเล่ม​ แต่พอเจอปัญหามา​ ไม่รู้มันอยู่เล่มไหน​ หน้าไหน​ ถ้าแบบนี้เก็บหนังสือ​มากก็ไม่มีประโยชน์​ เพราะเมื่อถึงเวลาต้องใช้​ กลับนำมันมาใช้ประโยชน์​ไม่ได้ ดังนั้น​เมื่อได้หนังสือ​มา​ ที่ควรทำเป็นอย่างแรกเลยคือ​ เปิดดูสารบัญ​ว่ามีเรื่องอะไรบ้าง​ จากนั้นเปิด​ สแกนคร่าวๆ​ ให้รู้ว่าแต่ละเรื่องอยู่หน้าไหน​ โดยเฉพาะ​เรื่องแปลกๆ​ ที่หาในเล่มอื่นไม่ได้ยิ่งต้องเปิดดู​ อย่างน้อยแต่ละเล่มควรต้องผ่านตาคร่าวๆ​ หนึ่งครั้ง​ แค่เปิดดู​ว่ามีอะไรบ้าง ไม่ต้องอ่าน การทำงานนั้นไม่เหมือนการเรียน​หนังสือ​ หรือ​… Continue reading ซื้อหนังสือมาจำเป็นต้องอ่านทุกเล่มทุกหน้าหรือไม่?

Interesting

ภาษากังหันลม (De Molentaal)


ภาษากังหันลม (De Molentaal) K. Kurojjanawong, 29-May-2021 หลายคนอาจจะไม่ทราบว่าชาวดัตช์นั้นนอกจากจะใช้กังหันลมในการวิดน้ำเพื่อรักษาพื้นที่ให้แห้งแล้วยังใช้กังหันลมในการสื่อสารระหว่างกันด้วยเนื่องจากสมัยก่อนยังไม่มีระบบสื่อสารที่ดีเหมือนสมัยนี้ และบ้านแต่ละหลังอยู่ห่างไกลกัน การสื่อสารระหว่างกันจึงเป็นเรื่องลำบาก กังหันลมจึงเป็นสื่อกลางระหว่างคนในหมู่บ้านเค้าใช้การสื่อสารระหว่างกันผ่านการหมุนใบพัดของกังหันลมไปในตำแหน่งต่างๆ ซึ่งแต่ละตำแหน่งจะมีความหมายหนึ่งอย่าง โดยสำหรับพื้นที่ทางใต้ของเนเธอร์แลนด์นิยมใช้ตำแหน่งกันดังแสดงในรูป พื้นที่อื่นก็มีใช่แตกต่างกันไป แต่ค่อนข้างใกล้เคียงกันมาก และในปัจจุบันก็ยังนิยมใช้กันอยู่ โดยเฉพาะช่วงวันพิเศษของชาติ 1) ตำแหน่งแห่งความเศร้าหรือการไว้ทุกข์ (Rouwstand)ใบพัดจะถูกหมุนตำแหน่งนี้เมื่อมีคนตายภายในบ้าน หรือมีเรื่องไม่ดีเกิดขึ้นในประเทศ เช่น หลังเกิดเหตุการณ์เครื่องบิน MH17 ตกแล้วมีคนดัตช์ตายจำนวนมาก ใบพัดทั่วประเทศก็หมุนไปที่ตำแหน่งนี้ 2) ตำแหน่งแห่งความสุข (Vreugdestand)ใบพัดจะถูกหมุนไปที่ตำแหน่งนี้เมื่อเกิดเรื่องดีๆ ขึ้นภายในบ้าน เช่น มีเด็กเกิด หรือ มีการแต่งงาน 3) ตำแหน่งพักผ่อนระยะสั้น (Korte ruststand)ใบพัดจะถูกหมุนไปที่ตำแหน่งนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่าคนคุมกังหันพักผ่อนอยู่ระยะสั้นๆ ดังนั้นกังหันจะไม่ทำงานสักพัก เดี๋ยวก็จะกลับมาทำงานอีกครั้ง 4) ตำแหน่งพักผ่อนระยะยาว (Lange ruststand)ใบพัดจะถูกหมุนไปที่ตำแหน่งนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่าคนคุมกังหันพักผ่อนอยู่ระยะยาว ดังนั้นกังหันจะไม่ทำงานเป็นเวลานานอาจจะหลายอาทิตย์หรือนานเป็นเดือน 5) ตำแหน่งช่วงเวลาพิเศษ (Feeststand)ใบพัดจะถูกหมุนไปที่ตำแหน่งนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่าถึงช่วงเวลาพิเศษ เช่น วันชาติ ใบพัดจะถูกตกแต่งให้สวยงาม ประดับด้วยธงชาติ 6) ตำแหน่งฉุกเฉิน (Spoedstand)ใบพัดจะถูกหมุนไปที่ตำแหน่งนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น เมื่อมีคนเห็นสัญญาณนี้จะต้องรีบมาที่บ้านเพื่อช่วยเหลือให้เร็วที่สุด… Continue reading ภาษากังหันลม (De Molentaal)

Interesting · Technology

The Netherlands – Room for The River Project


The Netherlands - Room for The River Project K.Kurojjanawong 6-May-2021 Room for the River Project เป็นโครงการบริหารจัดการน้ำโครงการหนึ่งในประเทศเนเธอร์แลนด์ รู้จักกันในชื่อภาษาดัชว่าRuimte voor de Rivier มีอายุโครงการอยู่ในช่วง ปี 2006-2015 เพื่อแก้ปัญหาน้ำเอ่อจากแม่น้ำ Rhine, Wall, IJssel และ Mesuse เข้าท่วมเมือง ซึ่งประเทศเนเธอร์แลนด์มีปัญหาที่มีพื้นที่ต่ำเสี่ยงน้ำท่วมถึง 55% หรือประมาณครึ่งประเทศ ในเมืองที่อยู่ติดทะเล ก็จะมีปัญหาจากการเสี่ยงน้ำท่วมจากพายุ น้ำขึ้นน้ำลง รวมไปถึงผลจากโลกร้อนจนทำให้ระดับน้ำสูงขึ้น ส่วนเมืองที่ลึกเข้ามาในแผ่นดิน ก็จะเจอปัญหาน้ำท่วมจากแม่น้ำเอ่อเข้าท่วมพื้นที่รอบๆ โดยเฉพาะบริเวณปากแม่น้ำ และระบายไม่ทัน จากประวัติศาสตร์ชาวดัชกว่า 800 ปี เค้าต่อสู้กับน้ำด้วยการสร้างโครงสร้างป้องกันมาตลอด ไม่ว่าจะเป็น เขื่อน หรือ คั่นกั้นน้ำ เราจึงจะเห็นโครงการระดับโลกเกี่ยวกับน้ำอยู่หลายโครงการมากว่าไม่ว่าจะเป็น Afsluitdijk ที่เป็นเขื่อนกั้นทะเลยาวถึง 32 กิโลเมตร หรือ… Continue reading The Netherlands – Room for The River Project

Interesting · Offshore Structure

วัฒนธรรมดัตซ์กับการวางแผนชีวิตที่ไม่มีความเสี่ยง


วัฒนธรรมดัตซ์กับการวางแผนชีวิตที่ไม่มีความเสี่ยง พอดีวันนี้ได้รับอีเมล์จากบริษัทประกันจัดงานศพว่าถึงเวลาที่จะต้องต่อสัญญาประกัน เลยอยากจะเอามาเล่าให้ฟังว่าคนดัตซ์เค้าวางแผนชีวิตกันจนถึงวันตายกันอย่างไร วัฒนธรรมคนดัตซ์นั้นวางแผนขั้นตอนการใช้ชีวิตเป็นระบบระเบียบมาก และที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเค้าคือต้องมีความเสี่ยงต่ำที่สุด ดังนั้นจึงมีบริษัทประกันจำนวนมากมายหลายรูปแบบ ที่เรียกว่า Verzekeringen เกิดมารับความเสี่ยงในชีวิตของแต่ละคนไปให้ทั้งหมด มีทั้ง ประกันสุขภาพ ประกันชีวิต ประกันรถยนต์ ประกันของใช้ในบ้าน บลาๆๆ เยอะมากจนถึงมากที่สุด โดยมีประกันหลายรูปแบบที่เราอาจจะไม่เคยได้ยินเลยในบ้านเรา แต่ที่เนเธอร์แลนด์คนกลับนิยมที่จะทำมาก ในบรรดาประกันภัยทั้งหลาย มีเพียงประกันสุขภาพ เท่านั้นที่ทุกคนที่มีอายุเกิน 18 ปี ขึ้นไป จะต้องทำทุกคนตามกฏหมาย โดยจะต้องทำประกันสุขภาพขั้นต่ำที่รัฐบาลกำหนด หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งถือเป็นประกันสุขภาพแบบถ้วนหน้าคล้ายๆ บ้านเรา แต่ทุกคนต้องร่วมในการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้วยประมาณหนึ่ง ซึ่งเอาไว้จะเล่าให้ฟังในโอกาสหน้า ประกันภัยรูปแบบหนึ่ง ที่ไม่ได้บังคับให้ทำ และผมก็ไม่เคยคิดจะทำด้วย ถึงแม้อยู่มาเกือบสิบปีแล้ว แต่คนดัตซ์นิยมทำกันมาก ก็คือการประกันการจัดงานศพ เนื่องจากค่าจัดงานศพที่เนเธอร์แลนด์นั้นสูงมาก สูงได้ทั้งแต่หลักไม่กี่พันจนไปถึงหลักหมื่น อย่างในรูปผมประเมินคร่าวๆ แบบง่ายๆ ที่มีการส่งศพกลับไทยด้วยก็ประมาณ 13000 ยูโร หรือ เกือบๆ ห้าแสนบาท ถ้าจัดแค่ในประเทศอาจจะหลักสักสามแสนห้าหมื่นบาท และนี่คือแบบง่ายๆ เท่านั้น แต่ในความเป็นจริง ถ้ารู้จักคนเยอะๆ มีแขกมาก อาจจะสูงกว่านี้มาก ดังนั้นด้วยราคาขนาดนี้… Continue reading วัฒนธรรมดัตซ์กับการวางแผนชีวิตที่ไม่มีความเสี่ยง

Interesting

คนยุโรปและวัฒนธรรมในการปกป้องสิทธิ์ของตัวเอง – ลูกค้าไม่ใช่พระเจ้า


คนยุโรปและวัฒนธรรมในการปกป้องสิทธิ์ของตัวเอง - ลูกค้าไม่ใช่พระเจ้า วันนี้ได้เห็นเรื่องที่พนักงานร้านโดนัทชื่อดังทำร้ายคุณป้าที่เป็นลูกค้าของร้าน พบว่ามีความเห็นแตกต่างกันทั้งสองรูปแบบ มีทั้งเห็นด้วยกับพนักงานเนื่องจากอาจจะมีเหตุการณ์ที่เกิดมาก่อนหน้าจนทำให้ทนไม่ได้ และไม่เห็นด้วยที่กระทำรุนแรงเพราะลูกค้าคือผู้มาใช้บริการ ไม่ว่าเค้าจะทำหรือพูดอะไรพนักงานต้องอดทน จนมีคำไทยที่บอกว่า ลูกค้าคือพระเจ้า ลิ้งค์ข่าว - https://fb.watch/4WpAMiRLDP/FACEBOOK.COMเหวี่ยงลูกค้าพนักงานร้านโดนัทชื่อดังเหวี่ยงลูกค้ากลางห้าง เรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึงข้อสอบข้อหนึ่ง ของการสอบหน้าที่พลเมืองของเนเธอร์แลนด์ ที่ทุกคนที่ต้องการเป็น ผู้อยู่อาศัยถาวรหลังจากพำนักครบ 5 ปี จะต้องสอบทั้ง ฟัง พูด อ่าน เขียน สัมภาษณ์งาน รวมไปถึงพื้นฐานวัฒนธรรมของประเทศมีข้อสอบหนึ่งข้อแสดงในรูป ที่มันขัดกับวัฒนธรรมไทยมากๆ ทำให้คนไทยสอบครั้งแรกก็คงจะตอบผิดกันหมด ข้อสอบคือ ซาร่าเป็นพนักงานเซริฟ์ในร้านๆ หนึ่ง แล้วมีลูกค้าเป็นผู้หญิงแก่คนหนึ่งเข้ามาสั่งอาหาร และแสดงกริยาไม่ดีต่อซาร่าในขณะที่กำลังเซริฟเครื่องดื่ม เช่น อาจจะ ต่อว่า หรือ เหยียดผิว อะไรก็ตามแต่ ซาร่าควรจะทำอย่างไร ก) ไปบอกผู้จัดการร้าน ข) แสดงอาการไม่พอใจ แล้วไม่เสริฟเครื่องดื่มให้ ค) สงบ สติอารมณ์ แล้ว ก็บอกลูกค้าคนนั้นว่า เราไม่ชอบสิ่งที่เค้าพูด คนไทยเจอข้อสอบแบบนี้ ถ้าใช้วัฒนธรรมไทย ก็ต้องตอบข้อ ก… Continue reading คนยุโรปและวัฒนธรรมในการปกป้องสิทธิ์ของตัวเอง – ลูกค้าไม่ใช่พระเจ้า

Interesting

ในประเทศที่ติดไวรัสกันมากๆ เค้าใช้ชีวิตกันยังไง


ในประเทศที่ติดไวรัสกันมากๆ เค้าใช้ชีวิตกันยังไง 10 Apr 2021 เห็นคนไทยตื่นตระหนกมากกับการระบาดรอบที่ 3 ในประเทศ ซึ่งยังอยู่ในหลักร้อยต่อวัน เลยอยากจะเล่าให้ฟัง ว่าการใช้ชีวิตอยู่ในประเทศที่บวกกันหลักหลายพันนั้นเค้าอยู่กันยังไงเพื่อนหลายคนในไทยอ่านข่าวในยุโรป​แล้วจินตนาการ​ว่าคนยุโรป​คงแอบอยู่แต่ในบ้านเพราะไวรัสระบาดหนักมาก ซึ่งก็อาจจะเป็นจริงนิดหน่อยแค่ช่วงเดือนแรก ของการระบาดเท่านั้น ที่ยังไม่มีข้อมูล​เกี่ยวกับโรค และมีข่าวคนตายจากประเทศอื่นทุกวันณ วันนี้ การระบาดที่นี่ เฉลี่ยวันละ 7000 ต่อวัน มาหลายอาทิต​ย์ติดกันแล้ว หลังจากเริ่มผ่อนคลาย​มาตรการ​ที่ใช้มาตั้งแต่ปลายปีที่แล้วที่ระบาดรอบที่ 2 กันวันละ 10000 โดยปิดร้านอาหาร ปิด รร และบริการทุกอย่าง​ที่มีการปฏิสัมพันธ์​กันใกล้ชิดทั้งหมด จนกดลงไปได้เหลือวันละ 3000 เมื่อต้น กพหลังจากผ่อนคลาย​มาตรการ​ ด้วยการเปิด รร ประถม ก่อน (เด็กโต เรียนที่บ้าน)​ และบริการบางอย่าง เมื่อเดือน กพ ถึงต้นเดือน เมย กินเวลาสองเดือน ตอนนี้กลับไปบวกวันละ 7000 คน เข้าสู่การระบาดรอบที่ 3 เรียบร้อย​แล้วเค้ากลัวกันมั้ย? ตอบเลยว่า กลัวบ้างแต่ไม่ตระหนก ยังใช้ชีวิต​ปกติมาก แต่ระวังตัวกันมากขึ้น… Continue reading ในประเทศที่ติดไวรัสกันมากๆ เค้าใช้ชีวิตกันยังไง

Interesting

ท่านล็อคประตูห้องนอนตอนหลับกันมั้ย?


ท่านล็อคประตูห้องนอนตอนหลับกันมั้ย? K. Kurojjanawong 3 April 2021 วันนี้ตื่นมาหันไปมองที่ประตูแล้วเกิดสงสัยเรื่องกลอนประตู เลยเอามาเล่าให้ฟัง ท่านล็อคประตูห้องนอนตอนหลับกันมั้ย? คิดว่าคงตอบไปคนละทิศละทาง มีทั้งล็อคและไม่ล็อค หลายคนชอบความเป็นส่วนตัวก็คงจะล็อคประตูห้องนอนตอนนอนหลับ หลายคนไม่แคร์อะไรก็คงจะตอบว่าไม่ล็อค แต่นั่นคือเราสามารถเลือกได้ว่าจะล็อคหรือไม่ล็อค เพราะว่ามันมีตัวล็อคหรือกลอนอยู่ที่บานประตู ไม่ว่าจะห้องไหนในเมืองไทย ยิ่งประตูห้องนอนนี่ส่วนใหญ่ในบ้านเราเป็นแบบกลอนที่ต้องใช้กุญแจไขด้วย ท่านรู้หรือไม่บ้านในยุโรปส่วนใหญ่ประตูห้อง ไม่ว่าจะห้องนอนเล็ก ห้องนอนใหญ่ ห้องหนังสือ นั้นไม่มีกลอนให้ล็อค!! ประตูที่มีกลอนล็อคจะมีแค่ประตูเข้าบ้าน ที่เป็นกลอนล็อคแบบที่ต้องใช้กุญแจไข ส่วนประตูในบ้านนั้นจะมีเพียงแค่ ห้องน้ำ และ ห้องส้วม เท่านั้นที่มีกลอนประตูให้ล็อค แต่เป็นกลอนล็อคจากภายใน ที่ไม่ต้องใช้กุญแจไข และด้านนอกจะมีช่องสำหรับเปิดจากด้านนอกกรณีฉุกเฉินด้วยการใช้เหรียญหรือไขควงหมุน สาเหตุที่ไม่มีกลอนภายในประตูบ้านนั้น เท่าที่ศึกษามา เหตุผลมันหายไป คนรุ่นใหม่ทุกวันนี้ก็ไม่เข้าใจ แต่คิดว่าเพราะความปลอดภัย กรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน ทำให้คนภายนอกสามารถเข้าไปช่วยเหลือได้ทัน ดังนั้นบ้านส่วนใหญ่จึงไม่มีกลอนที่ประตูภายในบ้าน บ้านบางหลังไม่มีแม้กระทั่งกลอนที่ประตูห้องน้ำ ห้องส้วม อย่างไรก็ดี ก็ไม่ใช่บ้านทุกหลังจะไม่มีกลอนที่ประตูภายใน แต่ส่วนใหญ่มักจะไม่มี ผมอยู่มาสี่หลัง ยังไม่เคยเจอกลอนที่ประตูภายในสักหลัง แม้กระทั่งไปบ้านเพื่อน ก็ยังไม่เคยเห็น ปัญหาอยู่ที่บ้านที่ปล่อยเช่าแบบแชร์ห้องกัน ซึ่งนิยมในหมู่นักเรียน นั้นจะต้องระวัง โดยเฉพาะนักเรียนไทยที่ไปเรียน ต่างประเทศ อาจจะคิดว่าเค้าแบ่งห้องให้เช่า… Continue reading ท่านล็อคประตูห้องนอนตอนหลับกันมั้ย?

Interesting · Offshore Structure

วิศวกรรมโครงสร้างนอกชายฝั่ง VS วิศวกรรมโครงสร้างชายฝั่ง VS วิศวกรรมโครงสร้าง VS วิศวกรรมต่อเรือ


วิศวกรรมโครงสร้างนอกชายฝั่ง VS วิศวกรรมโครงสร้างชายฝั่ง VS วิศวกรรมโครงสร้าง VS วิศวกรรมต่อเรือ K.Kurojjanawong, 13-Sep-2020 เรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีคนถามมาที่ผมบ่อยมากๆ ตอบจนหลังๆ นี่ก๊อบเป็น patterns วางเลย ไม่พิมพ์แล้ว หลายคนคิดว่าจบหลักสูตรในไทยแล้วจะออกมาทำงานโครงสร้างนอกฝั่งแบบที่เห็นอยู่ในเพจได้ วิศวกรรมนอกฝั่ง วิศวกรรมชายฝั่ง มันเป็นสาขาที่พันกันระหว่าง วิศวกรรมโยธา และ วิศวกรรมเรือ ในต่างประเทศจะมีสาขาเฉพาะ เช่นที่ NTNU ในนอร์เวย์ เรียกสาขา Marine Technology ที่ TU Delft ในเนเธอร์แลนด์ เรียกสาขา Dredging and Offshore Engineering จะจบออกมาได้ ต้องเรียนทั้งวิศวกรรมเรือและวิศวกรรมโยธา คือ ต้องรู้ทั้งเรื่องโครงสร้างและเรื่องเรือ ไล่ตั้งแต่ ยึดพื้นดิน ยัน ลอยน้ำ ขอบอกว่าในเมืองไทยไม่มีสาขาแบบนี้ครับ ไม่ว่าจะมหาวิทยาลัยไหนที่บอกว่าหลักสูตร Offshore ก็ตาม คนจบโยธารู้เรื่องน้ำน้อยมาก คนจบเรือก็ไม่รู้เรื่องโครงสร้างแบบยึดพื้นหรืองานโครงสร้างทั่วๆไป ที่ AIT เปิดรับคนจบตรี… Continue reading วิศวกรรมโครงสร้างนอกชายฝั่ง VS วิศวกรรมโครงสร้างชายฝั่ง VS วิศวกรรมโครงสร้าง VS วิศวกรรมต่อเรือ

Interesting · Offshore Structure

The Hope Experiment


The Hope Experiment K.Kurojjanawong 3-May-2020 ความหวังเพียงน้อยนิดทำให้ช่วยยืดชีวิตให้ยืนยาวจริงหรือไม่? ในปี 1950 มีการทดสอบที่ได้รับการพูดถึงเป็นอย่างมากที่ John Hopkins University ทั้งในแง่ของผลลัพธ์ บทสรุปและความโหดร้ายของการทดสอบ การทดสอบนี้รู้จักกันในชื่อว่า Hope Experiment โดยเป็นการทดสอบการเอาตัวรอดของหนูที่พยายามจะหนีออกจากสภาพที่กำลังจะจมน้ำ เค้าใส่หนูไว้ในเหยือกกลมที่มีน้ำเพียงครึ่งเดียว แล้วศึกษาว่าหนูจะเอาตัวรอดอย่างไร ซึ่งเหยือกกลมเรียบนั้นลื่นและไม่มีทางที่หนูจะออกมาได้เลย ในรอบแรกเค้าใช้หนูบ้านสิบสองตัว ปรากฏว่าสามตัวแรก พยายามว่ายน้ำและหาทางออก และสุดท้ายจมน้ำตายในเวลาไม่เกิน 2 นาที อีกเก้าตัวสามารถที่จะเอาตัวรอดได้มากถึงเกือบ 24 ชม แต่สุดท้ายก็จมน้ำตายในที่สุด รอบที่สองเค้าใช้หนูป่าที่คิดว่ามีทักษะการเอาตัวรอดได้ดีกว่าหนูในเมือง ปรากฏว่าได้ผลเหมือนกันคือหนูจมน้ำตายในเวลาไม่กี่นาที ดังนั้นผลที่เค้าสรุปคือ การที่หนูจะเอาตัวรอดได้นานหรือไม่นั้นไม่เกี่ยวทักษะการเอาตัวรอดของหนู แล้วอะไรที่ทำให้หนูเอาตัวรอดอยู่ได้นานที่สุด รอบที่สาม เค้าทำเหมือนเดิม แต่สิ่งที่แตกต่างคือ รอบนี้ พอเค้าเห็นว่าหนูเริ่มที่จะจมน้ำในเวลาไม่กี่นาที เค้าช่วยมันออกมา เช็ดตัวมันให้แห้ง ให้มันพักสักครู่ จากนั้น นำมันใส่เข้าไปในเหยือกใหม่ในสถานการณ์ที่เหมือนเดิม ปรากฏว่าพบว่าหลังจากหนูตัวเดิมที่เกือบจะจมน้ำตายในเวลาไม่กี่นาที รอบที่สองที่มันเข้าไปอยู่ในสถานการณ์เดิมกลับทำได้ดีกว่าเดิมมาก หนูสามารถลอยคออยู่ได้นานกว่าเดิมมาก จากผลการทดสอบ 228 ครั้งพบว่าหนูที่ได้รับการช่วยเหลือก่อนจมน้ำในรอบแรก สามารถลอยคอเอาตัวรอดเฉลี่ยได้นานถึง 72 ชม… Continue reading The Hope Experiment

Interesting · Offshore Structure · Structural History

Principia หนังสือเปลี่ยนโลก


Principia หนังสือเปลี่ยนโลก K.Kurojjanawong, 3-Apr-2020 ในบรรดาหนังสือจำนวนหลายพันล้านเล่มที่ได้รับการตีพิมพ์มาตลอดหลายศตวรรษ แต่มีหนังสือเพียงไม่กี่เล่มที่ได้รับการจดจำและกล่าวถึง และในจำนวนนั้นมีหนังสืออยู่หนึ่งเล่มที่ได้ชื่อว่าเป็นหนังสือที่มีเนื้อหาที่อัดแน่นไปทุกตัวอักษรและทฤษฏีใหม่ที่เปลี่ยนแปลงโลกใบนี้จากหน้ามือเป็นหลังมือ หนังสือเล่มนี้มีชื่อว่า Philosophiae Naturalis Principia Mathematica ชื่อเรียกสั้นๆ ว่า Principia ซึ่งเขียนโดย เซอร์ ไอแซก นิวตัน ในระหว่างปี ค.ศ. 1684 ถึง 1686 และได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1687 หรือกว่าสามร้อยปีที่แล้ว Principia หรือที่มีชื่อเต็ม ๆ ในภาษาละตินว่า Philosophiæ Naturalis Principia Mathematica เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นโดยบุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล นั่นก็คือ เซอร์ไอแซค นิวตัน (Sir Isaac Newton) นั่นเอง Principia เป็นหนังสือชุดสามเล่ม ประกอบด้วยเล่ม 1 De motu corporum (On the motion of body)… Continue reading Principia หนังสือเปลี่ยนโลก