Building · Industry Code · Offshore Structure · Wind

Typical Wind Code Format


Typical Wind Code Format K. Kurojjanawong 16-Aug-2023 ภาพรวมกว้างๆ ของ มาตรฐานเกี่ยวกับแรงลมทั่วโลก ก็จะอยุ่ในรูปที่แสดงในกรอบข้างล่าง นี่คือแบบกว้างๆ ชัดเจนที่สุด แต่ทีนี้ในแต่ละมาตรฐานอาจจะไปปรับเปลี่ยน จับแต่ละตัวคูณรวมกันให้มันเหลือตัวคูณน้อยลง ก็แล้วแต่ว่าเค้าจะปรับอย่างไร แต่โดยรวมจะมีตัวคูณ ดังแสดงในกรอบ อันนี้แบบเท่าที่ผมเข้าใจเองนะ อาจจะตกหล่นไปบ้าง ถ้าเราไม่สนใจเรื่อง Return Period แล้วจับสมการในมาตรฐานมาเทียบกัน แล้วแยกมันออกเป็นส่วนๆ มันควรจะได้อย่างที่แสดงในกรอบ คือ Wind Force = Basic Wind * Gust * Dynamic * Size * Topography * Pressure Coefficient * Return Period Conversion เช่น ถ้าเทียบ มยผ 1311-50 กับ ASCE 7 หลายคนก็อาจจะงงๆ… Continue reading Typical Wind Code Format

Accidental · Building · Industry Code · Offshore Structure

Car Impact Load: 1321-61 VS ASCE 7-22


Car Impact Load: 1321-61 VS ASCE 7-22 K.Kurojjanawong 10-Aug-2023 จากเรื่องที่แล้ว เรื่องแรงกระแทกต่อโครงสร้างจากของที่ลอยมากับน้ำ (Debris Impact) ถ้าเรานำอีกเรื่องมาเปรียบเทียบคือ เรื่องแรงกระแทกจากรถยนต์ (Car Impact)ไปที่ราวกันตกที่แนะนำอยู่ใน มยผ 1321-61 จะเห็นว่ารูปแบบสมการไม่เหมือนกันทั้งที่เป็นแรงกระแทกเหมือนกัน ความน่าสงสัยคือ 1 ) สมการแรงกระแทกจากรถยนต์ (Car impact) ที่อยู่ใน มยผ 1321-61 แตกต่างจากสมการแรงกระแทกจากของลอยน้ำ (Debris Impact) ที่อยู่ใน ASCE 7-22 อย่างไร ? ตอบ จริงๆ แล้วทั้ง เรื่อง Debris Impact ใน ASCE7-22 และ Car Impact ใน มยผ 1321-61 นั้นอยู่บนพื้นฐานเดียวกัน คือ Energy Conservation… Continue reading Car Impact Load: 1321-61 VS ASCE 7-22

Accidental · Industry Code · Offshore Structure

Debris Impact : มยผ 1312-51 VS ASCE 7-22


Debris Impact : มยผ 1312-51 VS ASCE 7-22 #OffshoreStructuralCorner 9-Aug-2023 กรณีที่มีวัตถุที่มีมวลเคลื่อนที่วิ่งมาด้วยความเร็วชนเข้ากับโครงสร้าง เราสามารถคำนวณแรงกระทำต่อโครงสร้างได้ ดังที่แนะนำใน มยผ 1312-51 (เข้าใจว่าลอกมาจาก FEMA-361 และ FEMA-55), ASCE 7  ซึ่งจะอยู่ในเรื่อง Tsunami Load หัวข้อเรื่อง Debris Impact หลักการนั้นก็มาจากหลักฟิสิกส์เบื้องต้นเลย โดยผมตัด มยผ 1312-51, ASCE 7-10 และ ASCE 7-22 มาให้ดู จะเห็นว่า มยผ 1312-51 และ ASCE 7-10 นั้นอยู่บนพื้นฐานของกฏข้อที่สองของนิวตั้น คือ F = m*a = m*v/t แต่พอมา ASCE 7-22 สมการเปลี่ยน​รูปกลายเป็น F… Continue reading Debris Impact : มยผ 1312-51 VS ASCE 7-22

Building · Earthquake · Industry Code · Offshore Structure · Reliability · Statistics

High Confidence of Low Probability of Failure (HCLPF)


High Confidence of Low Probability of Failure (HCLPF) K.Kurojjanawong 17-Jun-2022 ในศาสตร์เรื่อง Seismic Risk Based Analysis หรือ Probabilistic Seismic Analysis นั้นมันมีศัพท์เทคนิคอยู่หนึ่งคำคือคำว่า High Confidence of Low Probability of Failure ตัวย่อคือ HCLPF คำนี้จะนิยมใช้มากในพวก Power Plant and Nuclear Facilities Structure และศาสตร์เกี่ยวกับ Risk Analysis ความหมายนั้นก็ตรงตามนิยามเลย คือระดับความเร่งพื้นดิน ที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าจะทำให้โครงสร้างมีโอกาสสูงที่ Probability of Failure (Pf) นั้นจะต่ำกว่าเป้าหมายที่ต้องการ​ (ไม่ได้การันตี​ แต่โอกาสสูงมาก)​ ในทาง Engineering มีสองคำ คือ Deterministic Analysis… Continue reading High Confidence of Low Probability of Failure (HCLPF)

Building · Earthquake · Industry Code · Offshore Structure

Seismic Risk Comparison–Offshore Platform VS Onshore Building (DPT 1302/ASCE 7)


Seismic Risk Comparison–Offshore Platform VS Onshore Building (DPT 1302/ASCE 7) K.Kurojjanawong 20-May-2022 เปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดๆ เมื่อสิบปีกว่าปีที่แล้ว ผมได้มีส่วนร่วมในงานของ ปตท สผ ในพม่างานหนึ่ง ได้เข้าไปร่วมตั้งแต่งานเกิดยังไม่มีชื่อเรียกเลย จนกระทั่งจบช่วงงานวิศวกรรม ตอนนั้นเรียกว่างาน M9 เพราะอยู่ในบล๊อกสัมปทาน M9 ในอ่าวเมาตะมะในพม่า ตอนหลังมันมีชื่อว่าแหล่ง ซอติก้า แหล่งนี้มันน่าสนใจเพราะว่าห่างจากรอยเลื่อน สะแกง ซึ่งเป็นรอยเลื่อนมีพลัง เพียงแค่ 20 กม ! ดังที่เห็นในจุดที่ชี้ให้ดู จะเห็นว่ามันมีเหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดรอบๆ จนแทบจะหาที่ว่างไม่เจอ ดังนั้นมันจะได้รับผลจากแผ่นดินไหวโดยตรงเนื่องจากอยู่ใกล้มาก และมันเป็นแท่นผลิตแบบมีส่วนพักอาศัย ซึ่งสามารถมีคนอยู่ได้เต็ม ถึง 128 คน ตลอด 24 ชม แท่นนี้ออกแบบตามมาตรฐาน API และ ISO ซึ่งถือเป็นแท่นระดับความสำคัญสูงมาก ระดับ L1 คือถ้าวิบัติจะมี Consequence… Continue reading Seismic Risk Comparison–Offshore Platform VS Onshore Building (DPT 1302/ASCE 7)

Building · Earthquake · Industry Code · Offshore Structure

ทำไมคาบการกลับของความเร่งพื้นดินระดับ DBE ใน กทม ถึงมีค่าประมาณ 1000 ปี


ทำไมคาบการกลับของความเร่งพื้นดินระดับ DBE ใน กทม ถึงมีค่าประมาณ 1000 ปี K.Kurojjanawong 14-May-2022 ทำไมคาบการกลับของความเร่งพื้นดินระดับ DBE ใน กทม ถึงมีค่าประมาณ 1000 ปี ซึ่งมีค่าสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง อย่างเช่น มาเลเซีย สิงค์โปร์ บรูไน และเวียดนาม ที่อ้างอิงมาตรฐาน Eurucode 8 ซึ่งใช้คาบการกลับของความเร่งระดับออกแบบคงที่ ที่ค่า 475 ปี ในขณะที่ ไทยอ้างอิงมาตรฐาน ASCE 7-05 ซึ่งเริ่มจากการกำหนดคาบการกลับระดับ MCE ก่อนที่ 2475 ปี โดยประเทศในอาเซียนนั้นมีเพียง ไทย และ พม่า ที่อ้างอิงมาตรฐาน ASCE 7-05 ประเทศไหนอ้างอิงมาตรฐานไหนบ้างสามารศึกษาได้จากลิ้งค์ข้างล่าง Asean Seismic Code Comparison, K.Kurojjanawong, 3-Aug-2022 https://kkurojjanawong.wordpress.com/2022/04/03/asean-seismic-code-comparison/ การที่ไทยอ้างอิงมาตรฐาน ASCE… Continue reading ทำไมคาบการกลับของความเร่งพื้นดินระดับ DBE ใน กทม ถึงมีค่าประมาณ 1000 ปี

Building · Earthquake · Industry Code · Offshore Structure

คาบการกลับและความเร่งพื้นดินระดับ MCER และ DBE ใน กทม ควรเป็นเท่าไร ตามเป้าหมายล่าสุดของ ASCE 7


คาบการกลับและความเร่งพื้นดินระดับ MCER และ DBE ใน กทม ควรเป็นเท่าไร ตามเป้าหมายล่าสุดของ ASCE 7 K.Kurojjanawong 11-May-2022

Building · Earthquake · Industry Code · Offshore Structure

ความไม่สมเหตุสมผลของ Seismic Hazard Curve ใน พื้นที่ กทม


ความไม่สมเหตุสมผลของ Seismic Hazard Curve ใน พื้นที่ กทม K.Kurojjanawong 11-May-2022 ในรูปทางซ้ายมือ จะเห็นว่าเค้าเขียนไว้ชัดเจนว่า Typical Seismic Hazard Curve ของพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการเกิดแผ่นดินไหวสูง (Curve A) เช่นจะชันกว่าพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการเกิดแผ่นดินไหวต่ำ (Curve B) ซึ่งข้อสรุปนี้มันเป็นจริงกับทุกพื้นที่ เช่น ในรูปข้างล่างจะพบว่าพื้นที่ฝั่งตะวันตกของอเมริกานั้นมีความเสี่ยงในการเกิดแผ่นดินไหวสูงกว่าพื้นที่ฝั่งตะวันออก ดังจะเห็นได้จาก Contour Color ถ้าเราไปดูที่ Seismic Hazard Curve ของอเมริกามันก็จะชัดเลยดังแสดงในรูปทางขวามือ ซึ่งจะเห็นว่า West US เส้นสีแดง (ลอสแองเจลลิส) นั้นมันชันกว่า East US เส้นสีเขียว (นิวยอร์ก) แต่พอเอา Seismic Hazard Curve ของ กทม ซึ่งตีพิมพ์ในบทความวิชาการหนึ่งโดย กรรมการร่าง มยผ 1301/1302 มาพลอตเทียบดูดังแสดงในเส้นสีน้ำเงิน จะพบว่ามันไปคนละทางกับเส้นสีเขียวของพื้นที่ East… Continue reading ความไม่สมเหตุสมผลของ Seismic Hazard Curve ใน พื้นที่ กทม

Building · Earthquake · Industry Code · Offshore Structure

Target Probability of Failure for Earthquake – ASCE 7 vs ISO 19901-2


Target Probability of Failure for Earthquake - ASCE 7 vs ISO 19901-2 K.Kurojjanawong 2-May-2022 ทำไมผมถึงบอกว่ามาตรฐาน ASCE 7 นั้นเป็นมาตรฐานที่เขียนวกวน อ่านแล้วไม่รู้เรื่องว่าต้องการอะไรกันแน่ โดยปกติมาตรฐานที่ดี จะต้องระบุเป้าหมายให้ชัดเจนว่าต้องการอะไร ทำไปทำไม ASCE 7 นั้นเขียนวนไปวนมา มาตั้งแต่ไหนแต่ไร ไม่ว่าจะเรื่องแรงลม หรือ แผ่นดินไหว เนื่องจากเริ่มมาจากประสบการณ์ของคนรุ่นเก่าก่อน จากนั้นค่อยๆ หาคำอธิบายตามทฤษฏีไปอธิบายแล้วปัดเลขไปมาให้ลงตัวขึ้น เพื่อไม่ให้ระดับแรงออกแบบและค่าก่อสร้างมันเปลี่ยนแปลงไปจากที่ใช้กันอยู่มากนัก ก็คือ เค้าค่อยๆ ปรับ เข้าหาทฤษฏี แต่พยายามไม่ให้ระดับ Demand ที่ต้องการถึงขนาดกระโดดจากเดิมแบบยอมรับไม่ได้ ไม่งั้นก็จะเกิดกระแสต่อต้านทันที หลังจากปี 2010 (ASCE 7-10 ขึ้นมา) นั้นเรื่องแผ่นดินไหว เปลี่ยนแปลงหลักการค่อนข้างมาก จาก Hazard Based Concept (ตั้งแต่ ASCE7-05 ลงไป)… Continue reading Target Probability of Failure for Earthquake – ASCE 7 vs ISO 19901-2

Building · Earthquake · Industry Code · Offshore Structure

Maximum Considered Earthquake (MCE) VS Abnormal Level Earthquake (ALE)


Maximum Considered Earthquake (MCE) VS Abnormal Level Earthquake (ALE) K.Kurojjanawong 1-May-2022 ในเรื่องวิศวกรรมแผ่นดินไหว​ ระหว่างโครงสร้าง​บนฝั่ง​ กับ​ โครงสร้าง​ในทะเล​ มันมีคาบการกลับที่ตรงกันอยู่คือ​ 2500​ ปี​ (หรือ​ 2475 ปี​ ก็ได้)​ แต่ความหมายและเป้าหมายไม่เหมือนกัน​ และวิศวกรโครงสร้าง ถึงแม้ว่าจะบอกว่าตัวเองเป็นผู้เชี่ยวชาญแผ่นดินไหวขนาดไหน ร้อยเปอร์​เซ็นต์​คิดว่าเหมือนกัน​ แม้แต่ผมเองที่ทำงานเรื่องพวกนี้นี้มายี่สิบปี ก็ยังเคยคิดว่ามันคือเป้าหมายเดียวกัน เนื่องจากมาตรฐานของงาน Offshore มันไม่เขียนอธิบายสาเหตุ และหาเอกสารอ้างอิงค่อนข้างยาก จึงต้องพิสูจน์และทำความเข้าใจเอง เมื่อได้ศึกษาลงรายละเอียดไปเรื่อยๆ ถึงเข้าใจว่าเป้าหมายไม่เท่ากัน โดยเป้าหมายของโครงสร้างบนฝั่งนั้น Conservative กว่าโครงสร้างในทะเลมาก มาตรฐานบนฝั่งอย่าง ASCE 7  นั้นผมเคยบอกหลายครั้งว่าเขียนวกวน ไม่ตรงไปตรงมา หลายครั้งไม่มีทฤษฏีอ้างอิงด้วย แต่กำหนดจากประสบการณ์ของวิศวกรในอดีต จากนั้นทฤษฏีอ้างอิงจะค่อยๆ ตามมาทีหลัง ทำให้มันสับสนมาก ซึ่งต่างจากมาตรฐานในทะเลที่จะเขียนตรงๆ ต้องการอะไร ก็ใช้อันนั้น ความสับสนมันอยู่ที่การกำหนดเป้าหมายของ ASCE 7 นั้นไม่ตรงไปตรงมา… Continue reading Maximum Considered Earthquake (MCE) VS Abnormal Level Earthquake (ALE)