Foundation · Installation · Marine Equipments · Offshore Structure · Technology

Noise Abatement by BBC Technique


Noise Abatement by BBC Technique K. Kurojjanawong, 9-Mar-2023 เทคนิคการลดเสียงจากการตอกเสาเข็มในทะเลด้วย Big Bubble Curtain (BBC) Technique BBC คือการใช้ฟองอากาศในน้ำเป็น​ noise damper หรือช่วยลดความดังของเสียงใต้น้ำลง​ โดยทำการวางท่ออากาศรอบๆบริเวณ​ที่จะตอกเสาเข็ม​ ประมาณเส้นผ่าศูนย์กลาง​ 100-150​ เมตร​ จากนั้นอัดอากาศเข้าไปให้เกิดม่านฟองอากาศระหว่างการตอกเสาเข็ม ฟองอากาศจะล้อมบริเวณนั้นๆ เหมือนม่าน จึงเรียก Big Bubble Curtain (BBC) ซึ่งจะช่วยให้เสียงส่งผ่านออกไปได้ลดลงทั้งความดังและระยะทาง เนื่องจากน้ำหนาแน่นกว่าอากาศมาก​ เสียงจึงเดินทางได้เร็วและไกลมากในน้ำ​ โดยเร็ว​ถึง​ 1500​ เมตร​ ต่อ​ วินาทีในน้ำ​ หรือสูงถึง​ 4.5 เท่า​ ของเสียงในอากาศที่​ 340 เมตร​ ต่อ​ วินาที ในปัจจุ​บันการตื่นตัว​เรื่องสิ่งแวดล้อม​สำหรับอุตสาหกรรม​พลังงานนั้นค่อนข้างสูงมาก​ การตอกเสาเข็มขนาดใหญ่​ส่งผลกระทบที่มองไม่เห็นต่อสัตว์​ทะเลในระยะยาวอย่างคาดไม่ถึง​ ทั้งสร้างอาการบาดเจ็บทางการได้ยินของสัตว์​น้ำ​ และส่งผลต่อพฤติกรรมในระยะยาว ปัจจุบันในพื้นที่ที่รัฐบาลให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมมากๆ เริ่มมีการควบคุมระดับเสียงสำหรับสิ่งก่อสร้างในทะเล เช่น พื้นที่ทะเลของประเทศเยอรมัน… Continue reading Noise Abatement by BBC Technique

Marine Equipments · Offshore Structure · Technology · Wind

หน้าตาของ ICCP (Impressed Current Cathodic Protection)


หน้าตาของ ICCP (Impressed Current Cathodic Protection) K. Kurojjanawong 22-Feb-2023 ICCP เป็นระบบกันสนิมที่กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ​ สำหรับแท่นกลางทะเลที่รักษ์สิ่งแวดล้อม​ เช่นพวก​ Green​ Energy​ ICCP​ ย่อมาจาก Impressed Current Cathodic Protection​ ซึ่งระบบนี้มีมานานมากแล้ว​ แต่นิยมใช้สำหรับท่อส่งน้ำมัน​ เรือ​ ไม่นิยมใช้สำหรับแท่นกลางทะเล​ เนื่องจากมีราคาแพง​ และต้องบำรุงรักษา​มากกว่า​ ทำให้ระบบ​ Sacrifice Cathodic Protection นิยมกว่ามาก พอเรื่องรักษ์โลกและสิ่งแวดล้อม​มันมาแรงขึ้นเรื่อยๆ​  เค้าเริ่มคิดถึงการที่ใช้​ Sacrifice Anode ซึ่งเป็น​ Anode แบบสละชีพที่ต้องเสียอิเล็กตรอน​ให้เหล็กเพื่อให้เหล็กไม่โดนกัดกร่อน​ แต่ตัวมันทำจาก​ Aluminum หรือ​ Zinc ที่ต้องโดยสลายลงในทะเลไปเรื่อยๆ​ ปริมาณต่อปีหลักหลายล้านตัน​ ซึ่งส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม​ ทำให้เริ่มมีการนำ​ ICCP​​ มาใช้แทนมากขึ้นเรื่อยๆ​ โดยระบบนี้แตกต่างจาก​ Sacrifice Anode ตรงที่มันไม่ได้มี​ Aluminum หรือ​… Continue reading หน้าตาของ ICCP (Impressed Current Cathodic Protection)

Interesting · Technology

The Netherlands – Room for The River Project


The Netherlands - Room for The River Project K.Kurojjanawong 6-May-2021 Room for the River Project เป็นโครงการบริหารจัดการน้ำโครงการหนึ่งในประเทศเนเธอร์แลนด์ รู้จักกันในชื่อภาษาดัชว่าRuimte voor de Rivier มีอายุโครงการอยู่ในช่วง ปี 2006-2015 เพื่อแก้ปัญหาน้ำเอ่อจากแม่น้ำ Rhine, Wall, IJssel และ Mesuse เข้าท่วมเมือง ซึ่งประเทศเนเธอร์แลนด์มีปัญหาที่มีพื้นที่ต่ำเสี่ยงน้ำท่วมถึง 55% หรือประมาณครึ่งประเทศ ในเมืองที่อยู่ติดทะเล ก็จะมีปัญหาจากการเสี่ยงน้ำท่วมจากพายุ น้ำขึ้นน้ำลง รวมไปถึงผลจากโลกร้อนจนทำให้ระดับน้ำสูงขึ้น ส่วนเมืองที่ลึกเข้ามาในแผ่นดิน ก็จะเจอปัญหาน้ำท่วมจากแม่น้ำเอ่อเข้าท่วมพื้นที่รอบๆ โดยเฉพาะบริเวณปากแม่น้ำ และระบายไม่ทัน จากประวัติศาสตร์ชาวดัชกว่า 800 ปี เค้าต่อสู้กับน้ำด้วยการสร้างโครงสร้างป้องกันมาตลอด ไม่ว่าจะเป็น เขื่อน หรือ คั่นกั้นน้ำ เราจึงจะเห็นโครงการระดับโลกเกี่ยวกับน้ำอยู่หลายโครงการมากว่าไม่ว่าจะเป็น Afsluitdijk ที่เป็นเขื่อนกั้นทะเลยาวถึง 32 กิโลเมตร หรือ… Continue reading The Netherlands – Room for The River Project

Offshore Structure · Technology · Wind

Offshore Wind Farm Components


Offshore Wind Farm Components K. Kurojjanawong 14-Sep-2020 สำหรับ Offshore Wind Farm มันก็จะคล้ายๆ กับ Oil and Gas Field ถ้าเทียบง่ายๆ Oil and Gas Field ในหนึ่งแหล่งก็จะมี Wellhead Platform ซึ่งคือแท่น Template ที่วางตำแหน่งหลุมเจาะไว้ล่วงหน้า (แท่นเจาะจริงๆ จะไม่อยู่ประจำ มาเจาะเสร็จแล้วก็ออกไปทำงานที่อื่น) ในหนึ่งแหล่งจะมี Wellhead จำนวนหลายตัวขนาดเล็กกระจายวงกว้างคล้ายในอ่าวไทยหรืออาจจะมีแค่ตัวเดียวตัวใหญ่ ขึ้นกับสภาพแหล่งกักเก็บใต้พื้นทะเล ตัว Wellhead Platform นั้นเทียบกับ Wind Farm ก็คือ Offshore Wind Turbine ที่ต้องตั้งกระจายเป็นจำนวนมากๆ ขึ้นกับสภาพลม ขนาดของใบพัด และระดับน้ำในบริเวณนั้นๆ ในแหล่งน้ำมันหรือแก๊ส ถ้าแหล่งขนาดใหญ่พอสมควร ก็จะมีแท่นผลิต หรือ Processing Platform… Continue reading Offshore Wind Farm Components

Details and Construction · Installation · Technology

หลักการคร่าวๆ ของการติดตั้งหลังคาขนาดใหญ่ด้วยแรงดันลม


หลักการคร่าวๆ ของการติดตั้งหลังคาขนาดใหญ่ด้วยแรงดันลม (General Concept of Roof Air Raising) K. Kurojjanawong, 22-May-2020 เค้าจะสร้างหลังคาโดมจนเสร็จที่ระดับพื้น โดยมี Temporary Support คอยรองรับช่วงก่อสร้าง จากนั้นจะติดตั้ง Air Seal รอบๆขอบหลังคา และเมื่อพร้อมติดตั้งจะอัดลมเข้าไปข้างใต้หลังคาจนแรงดันลมสมดุลและสูงจนยกหลังคาให้ลอยขึ้นได้ โดยระหว่างหลังคายกตัว จะมี Levelling Cable คอยช่วยปรับระดับของหลังคาไม่ให้เอียงตัวระหว่างลอยขึ้น ที่จุดบนสุดจะติดตั้ง Stoppers ไว้ เมื่อหลังคาลอยขึ้นมาถึงตำแหน่งจะชนและหยุด จากนั้นเค้าจะยึดเข้ากับตัวถัง และค่อยเปิด Relieved Value ที่ส่วนบนหลังคา เพื่อลดแรงดัน จนน้ำหนักหลังคาแขวนอยู่ที่จุดต่อส่วนบน ทำไมเค้าต้องทำแบบนั้น? 1) ถังเก็บขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่มาก เช่นมากกว่า 60 ม ติดตั้งและก่อสร้างหลังคายาก เพราะหนักมากและอยู่สูงมาก 2) สร้างที่พื้นทำได้ง่ายและควบคุมคุณภาพได้ดีกว่า 3) สามารถก่อสร้างหลังคาได้ตั้งแต่ต้นโดยไม่ต้องรอก่อสร้างถังจนเสร็จ 4) หลักการแบบนี้ทำได้กับถังทุกขนาดเพียงแต่ถ้าขนาดเล็กมากอาจจะไม่คุ้ม ใครอยากดูคลิปติดตั้งจริง เลื่อนลงไปโพสก่อนหน้า หรือกดที่ลิ้งค์… Continue reading หลักการคร่าวๆ ของการติดตั้งหลังคาขนาดใหญ่ด้วยแรงดันลม

Details and Construction · Modelling Technique · Offshore Structure · Technology · Wind

Slip-Joint Connection – Plug and Go Concept


Slip-Joint Connection - Plug and Go Concept K.Kurojjanawong 30-Apr-2020 โดยปกติ Offshore Wind Turbine จะแบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือส่วน Substructure ที่อยู่ใต้น้ำ และส่วน Tower ซึ่งรวมไปถึงใบพัดที่อยู่เหนือน้ำ ความแตกต่างของ Turbine ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ส่วน Substructure ที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งขึ้นกับหลายปัจจัย โดยปัจจัยใหญ่และสำคัญที่สุด คือความลึกของน้ำ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดว่าจะเป็นแบบยึดพื้นทะเล หรือ แบบลอยน้ำ ในที่นี้เราจะพูดถึงแบบยึดพื้นทะเล หรือ Fixed Structure เป็นหลัก ซึ่งก็ยังแยกย่อยได้อีกหลายรูปแบบ เช่นแบบ Fixed Jacket, Gravity Based หรือ แบบ Monotower ในจุดที่เชื่อมต่อกันระหว่างโครงสร้างส่วนบนและส่วนล่างจะเรียกว่า Transition Piece ซึ่งมีหลายรูปแบบมาก และมีการพัฒนาเรื่อยมา โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ ต้องแข็งแรง และ ต้องประหยัด… Continue reading Slip-Joint Connection – Plug and Go Concept

Building · Details and Construction · Interesting · Offshore Structure · Structural History · Technology

ความสำคัญของ Pinnacle สำหรับโครงสร้างแบบ Gothic Architect


ความสำคัญของ Pinnacle สำหรับโครงสร้างแบบ Gothic Architect K. Kurojjanawong, 5-Jan-2019 Pinnacle คืออะไรและอยู่ตรงไหน? Pinnacle จะอยู่ส่วนบนสุดของ Buttresses ซึ่งเป็นกำแพงอิฐ (Masonry Structure) ดังแสดงในรูป หลายๆ อาจจะคิดว่ามีไว้เพื่อความสวยงาม ซึ่งถูกต้องเพียงครึ่งเดียว จริงๆ แล้ว Pinnacle มีประโยชน์อย่างอื่นด้วยในทางวิศวกรรมโครงสร้างของตัวโครงสร้างแบบโกธิค ซึ่งถือว่าเป็นความฉลาดของคนสมัยโบราณเป็นอย่างมาก จากการลองผิดลองถูกหลายครั้ง เนื่องจากโครงสร้างจากอิฐ (Masonry Structure) ที่นิยมในสมัยยุคกลางของยุโรป (Middle Age) นั้นโดยปกติรับแรงดึงได้ไม่ดี แต่สามารถรับแรงอัดได้ และเทคโนโลยีด้านวัสดุสมัยนั้นยังไม่ดี ยังไม่รู้จักการเสริมกำลังของโครงสร้าง หลักการถ่ายแรงจากส่วนบนลงมายังฐานรากของโครงสร้างแบบโกธิคนั้นถ่ายแรงจากส่วนหลังคาที่เป็น Ribbed Vault มายังตัวค้ำยันแบบครีบลอยหรือ Flying Buttresses ซึ่งจะยันไปยังส่วนหัวของกำแพงหรือ Buttresses เนื่องจาก Buttresses นั้นสร้างมาจากอิฐ ซึ่งรับแรงดึงและแรงเฉือนได้ไม่ดี การที่มีแรงกระทำเป็นจุด จึงมีผลทำให้ตัว Buttresses เกิดการเสียหายเฉพาะจุดได้ เนื่องจากแรงเสียดทานในวัสดุนั้นขึ้นกับสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานของวัสดุและแรงกดที่กระทำตั้งฉากกับพื้นผิว การที่มีน้ำหนักของ Pinnacle… Continue reading ความสำคัญของ Pinnacle สำหรับโครงสร้างแบบ Gothic Architect

Interesting · Naval Architect · Offshore Structure · Technology

Akademik Lomonosov – โรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบลอยน้ำลำแรกของโลก


Akademik Lomonosov - โรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบลอยน้ำลำแรกของโลก (World First Floating Nuclear Power Plant) K. Kurojjanawong, 3-Jan-2020 รัสเซียประกาศว่า Akademik Lomonosov ซึ่งเป็น โรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบลอยน้ำลำแรกของโลก พร้อมปฏิบัติการผลิตกระแสไฟฟ้าจ่ายให้ 100000 ครัวเรือนแล้ว โครงการโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบลอยน้ำนั้น เป็นโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่อยู่บนเรือ ลอยลำอยู่กลางทะเล ทำให้หลีกเลี่ยงปัญหาในด้านความปลอดภัยและการต่อต้านจากกลุ่มอนุรักษ์นิยมเมื่อเทียบกับโรงงานแบบเดียว เนื่องจากลอยน้ำอยู่กลางทะเล ไม่ต้องเวนคืนที่ดิน และไม่ต้องสร้างใกล้กับพื้นที่พักอาศัยของประชาชน จึงตัดปัญหาเรื่องการต่อต้านจากประชาชนออกไป โดยโครงการนี้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2007 โดยมีแผนจะผลิตเรือสำหรับโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ทั้งหมด 7 ลำ ให้ได้ภายในปี 2015 แต่ติดขัดปัญหาหลายประการทำให้ไม่สามารถทำตามแผนเดิมได้ หลังจากใช้เวลากว่าสิบปี เรือลำแรกเพิ่งเริ่มปฏิบัติการได้ โดยมีชื่อว่า Akademik Lomonosov ซึ่งตั้งตามชื่อของนักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีชื่อ Mikhail Lomonosov ที่มีชื่อเสียงอยู่ในช่วงทศวรรษที่ 18 Akademik Lomonosov เริ่มก่อสร้างโดยวางกระดูกเรือในปี 2007 ที่อู่ต่อเรือ Sevmash Submarine-Building Plant… Continue reading Akademik Lomonosov – โรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบลอยน้ำลำแรกของโลก

Interesting · Offshore Structure · Structural History · Technology

Oil Rock – เมืองน้ำมันที่เก่าแก่ที่สุดในโลก


Oil Rock - เมืองน้ำมันที่เก่าแก่ที่สุดในโลก K.Kurojjanawong, 5-Dec-2019 Oil Rock เป็นเมืองแห่งการขุดเจาะน้ำมันที่ได้รับการจัดอันดับโดยกินเนสเรคคอร์ดว่าเป็น "the oldest offshore oil platform in the world" หรือแท่นขุดเจาะน้ำมันที่เก่าแก่ที่สุดในโลก Oil Rock ตั้งอยู่ในทะเลแคสเปียนพื้นที่ของประเทศอาเซอร์ไบจาน มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า Neft Daşları โดยอยู่ห่างชายฝั่ง 55 กม และประกอบไปด้วย เกาะเทียม (Artificial Island) ที่มีทั้งแท่นขุดเจาะน้ำมันกว่าสองพันแท่น โรงแรม ศูนย์การค้า และคอมเพล็กซ์อื่นๆ ที่เชื่ิอมต่อกันด้วยถนนที่สร้างลอยกลางทะเลที่มีความยาวรวมกันถึง 300 กม ว่่ากันว่าในช่วงพีค ประมาณปี 1960 มีคนทำงานอยู่ในเมืองนี้สูงถึง 5000 คนเลยทีเดียว Oil Rock ถือเป็นมรดกตกถอดมาจากยุคสหภาพโซเวียตในสมัย โจเซฟ สตาลิน หลังจากสำรวจผลน้ำมันใต้ทะเลแคสเปียนที่ระดับความลึก 1.1 กมโดยเริ่มโครงการตั้งแต่ปี 1945 และเริ่มผลิตได้ในปี 1951… Continue reading Oil Rock – เมืองน้ำมันที่เก่าแก่ที่สุดในโลก

Interesting · Lesson Learnt · Offshore Structure · Structural History · Technology

โครงการ เดลต้าเวิร์ค (โครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของประเทศเนเธอร์แลนด์) ที่ถูกขนานนามว่าเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ ตอนที่ 1


The Delta Works (The Netherlands Flood Defense Project) – The Seven Wonders of the Modern World Part 1 โครงการ เดลต้าเวิร์ค (โครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของประเทศเนเธอร์แลนด์) ที่ถูกขนานนามว่าเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ ตอนที่ 1 K. KUROJJANAWONG, 25-Nov-2019 คำว่า Netherlands ถ้าสะกดตามภาษาดัชคือ Nederland ถ้าแปลตรงตัว จะแปลว่า Low Land หรือ พื้นที่ต่ำ ซึ่งอธิบายสภาพภูมิประเทศเค้าได้เป็นอย่างดี ในรูปแรกจะเห็นว่ากรณีที่ไม่มีระบบป้องกันน้ำ ประเทศนี้ แทบจะเหลือพื้นที่เพียงไม่เท่าไรเท่านั้นเองพื้นที่ถึงประมาณ 26 % ของประเทศนี้อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และกรณีที่มีน้ำหนุนสูง พื้นที่ถึงประมาณ 60% มีความเสี่ยงที่จะโดนน้ำท่วม และด้วยสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงของโลก โลกร้อนขึ้นและ น้ำทะเลสูงขึ้น ทำให้ความเสี่ยงที่จะมีพื้นที่จมน้ำของประเทศนี้สูงขึ้นจนน่ากลัว ในรูปที่สองจะเห็นพื้นที่เสี่ยงของเนเธอร์แลนด์ สีฟ้าเข้ม คือ… Continue reading โครงการ เดลต้าเวิร์ค (โครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของประเทศเนเธอร์แลนด์) ที่ถูกขนานนามว่าเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ ตอนที่ 1