Accidental · Assessment · Details and Construction · Lesson Learnt · Offshore Structure · Structural History

What happened to Alexander L. Kieland


What happened to Alexander L. Kieland K.Kurojjanawong 19-Nov-2023 วันที่ 18 พย ที่ผ่านมาเป็นวันครบรอบ 40 ปีของการจมลงอย่างถาวรของแท่นแบบลอยน้ำในตำนาน Alexander L. Kieland Semisubmersible Alexander L. Kieland อยู่ทางขวา (ที่มา https://en.m.wikipedia.org/wiki/Alexander_L.Kielland(platform)) Alexander L.Kielland หลังจากพลิกคว่ำ แท่น Alexander L. Kieland เป็นแท่นแบบ Semi-Submersible Platform หรือลอยน้ำ สำหรับขุดเจาะน้ำมันในแหล่ง Ekofisk เกิดการวิบัติเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 1980 (43 ปีที่แล้ว แต่ลากมาตรวจสอบและจมลงในอีก 3 ปีถัดมา) และจมลงกลางทะเลเหนือเมื่อปี 1980 โดยมีคนอยู่บนนั้น 212 คน ทำให้มีคนตายถึง 123 คน และรอดชีวิต… Continue reading What happened to Alexander L. Kieland

Assessment · Industry Code · Modelling Technique · Offshore Structure

Definition of Reserve Strength​ Ratio​ (RSR) in Offshore Industry Standard


Definition of Reserve Strength​ Ratio​ (RSR) in Offshore Industry Standard K.Kurojjanawong 27-Jul-2022 คำถาม​ 1 Definition of RSR ตาม​นิยามของ API RP2A (1.60 สำหรับ​ L1​ Structure) และ​ ISO​ 19902​ (1.85 สำหรับ​ L1​ Structure) คือ​ ค่า​ A หรือ​ B ? รูปแรก​ A ได้จาก​ การผลักโครงสร้างแบบไม่เชิงเส้น​ (Nonlinear​ Pushover) โดยใช้​ Lateral Load Pattern จาก​ คลื่น+ลม+กระแสน้ำ​ ที่คาบ​การกลับ 100 ปี​ (100 Yrs​ Base​… Continue reading Definition of Reserve Strength​ Ratio​ (RSR) in Offshore Industry Standard

Assessment · Details and Construction · Industry Code · Offshore Structure

Engineering Critical Assessment (ECA)


Engineering Critical Assessment (ECA) K.Kurojjanawong 10-Jun-2022 ECA ย่อมาจากคำว่า Engineering Critical Assessment เป็นวิธีทางวิศวกรรมที่จะทำการประเมินรอยเชื่อมในทางทฤษฏี โดยใช้ Fracture Mechanic Principle เพื่อที่จะระบุว่าจุดต่อใดๆ ปลอดภัยหรือไม่ ในเชิงความเหนียว Fracture toughness ECA นั้นสามารถจะทำได้ทั้งแต่ในช่วง Engineering Phase เพื่อที่จะใช้ประกอบการตัดสินในในการเลือก welding procedure หรือ inspection techniques ในงาน Offshore Fabrication ปกติมักจะใช้ ECA ในการ หลีกเลี่ยงการทำ Post Weld Heat Treatment (PWHT) สำหรับจุดต่อที่มีความสำคัญและมีความหนามากๆ (ปกติจะหนาตั้งแต่ 50 มม ขึ้นไป) เนื่องจากเสียเวลาและราคาสูง โดยจะเริ่มจากการทำ Screening จากจุดต่อที่ Critical ในเชิง Strength… Continue reading Engineering Critical Assessment (ECA)

Assessment · Earthquake · Offshore Structure

Seismic Retrofitting System in Japan


Seismic Retrofitting System in Japan K. Kurojjanawong 6-Apr-2022 ตัวกากบาทในรูปเป็นชิ้นส่วนเสริมกำลังรับแรงแผ่นดินไหวของโครงสร้างรางรถไฟความเร็วสูงในญี่ปุ่นที่สร้างมานานแล้ว หลักการเสริมกำลังรับแรงแผ่นดินไหวนั้นคือ 1) Strength และ Stiffness ต้องเสริมให้มีกำลังรับแรงทั่วไปที่เกิดบ่อยๆ ได้เพียงพอ เช่นแรงลม น้ำหนัก คือ แข็งและเคลื่อนตัวน้อย อยู่ในสภาพใช้งานได้ปกติหลังเกิดเหตุการณ์ เน้น ว่าแค่เพียงพอเท่านั้น อย่าใส่เยอะจนเกินเพราะจะมีผลต่อแรงแผ่นดินไหว 2) Ductility ต้องมีความเหนียว สำหรับแรงแผ่นดินไหวที่นานๆจะเกิดครั้งและระดับแรงสูงกว่าแรงปกติข้อ 1 หลายเท่า ต้องไม่แตกหักง่ายๆ ถึงแม้จะต้องรับแรงกลับไปกลับมาหลายรอบ เคลื่อนตัวได้มากเพื่อสลายพลังงาน work done จะเกิดได้โครงสร้างต้องเคลื่อนที่ โครงสร้างที่เคลื่อนที่ได้มาก มักจะถือว่าวิบัติในเชิงโครงสร้างปกติ เพราะใช้หลักการของ Strength based design แบบข้อ 1 สำหรับแรงที่เกิดขึ้นบ่อยๆ แต่โครงสร้างรับแรงแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที้นานๆเกิดครั้งนั้นจะสวนทางกันคือใช้หลัก Ductility based design ต้องทำให้มันเคลื่อนมากๆ ในขณะที่ภาพรวมยังอยู่ คือวิบัติจริง แต่ซ่อมได้ จะซ่อมได้ ก็ต้องกำหนดจุดพังให้ได้… Continue reading Seismic Retrofitting System in Japan

Assessment · Marine Equipments · Offshore Structure

Marine Growth Preventer


Marine Growth Preventer K.Kurojjanawong 9-Sep-2021 มีคนสนใจเรื่อง Marine growth หรือ เพรียงหิน มากผิดปกติ จนผมแปลกใจ อาจจะเห็นเป็นเรื่องประหลาดไม่ค่อยพบกันทั่วไป อย่างที่บอกไปว่า เพรียงหิน นั้นมีหลายรุปแบบมาก แบบที่สร้างปัญหามากที่สุดคือแบบแข็ง (hard marine growth) เช่น พวก Mussels, Oysters, Barnacles พวกนี้แข็งและหนักมาก ถ้าเกาะติดโครงสร้างเมื่อไร จะมีปัญหาเรื่องน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น แต่ที่มีปัญหามากคือมันมีความหนามาก อาจจะถึง 1 ไม้บรรทัด ถ้ามันเกาะรอบท่อสองฝั่งก็จะหนารวมกัน 2 ไม้บรรทัด หรือ 60 ซม ซึ่งเพิ่ม พื้นที่ในการรับแรงจากคลื่นและกระแสน้ำมาก และยังทำให้เกิด Wake amplification หลังโครงสร้างด้วย เนื่องจากขนาดโครงสร้างมันใหญ่ขึ้นทำให้การไหลของน้ำรอบท่อเป็นไปได้ยากและเกิดการปั่นป่วนขึ้นหลังท่อ ดังนั้นจึงมีความพยายามที่จะกำจัด เพรียงหิน นี้ออกไป การที่กำจัดมันออกไปได้ นั้นนอกจากจะทำให้น้ำหนักที่กระทำต่อเข็มลดลง ยังทำให้แรงด้านข้างลดลงได้มากๆ ทั้งในเรื่องของพื้นที่รับแรงและค่า Drag coefficient เนื่องจากทำให้การปั่นป่วนของการไหลรอบท่อมันลดลง… Continue reading Marine Growth Preventer

Assessment · Decommissioning · Details and Construction · Foundation · Installation · Offshore Structure

Pile Gripper for Through-Leg Pile


Pile Gripper for Through-Leg Pile K.Kurojjanawong 23-Jul-2021 หลังจากโพสเรื่อง​ Pile Gripper​ ไป​ ซึ่งเราจะพบเสมอกับ​ skirt pile แบบ​ Grouted หรือเข็มที่อยู่ใต้น้ำ​ที่มีการ Grouted​ ด้วย ส่วน​ Trough-Leg Pile ที่เป็นการเสียบเข็มผ่านขา​ Jacket​ จากเหนือน้ำนั้น​ ในปัจจุบั​นเราจะหาไม่มีเลยที่จะใช้ระบบ​ Grouted จะพบในแท่นเก่าๆ​ อายุ​ 30​ ปี​ ขึ้นไปทั้งสิ้น​ เช่น​ แท่นผลิตเก่าๆ​ ในอ่าวไทยจะเป็น​ Trough-Leg Pile with Grouted ทั้งหมด​ แต่กลับพบว่าแท่นเก่าๆ​ พวกนี้​ ในปัจจุบั​นกลับไม่เห็นร่องรอยของ​ Pile Gripper​ หลงเหลืออยู่เลย​ (ใครไปออฟชอร์แล้วเคยเห็นบ้าง) ซึ่งปกติมันติดตั้งแล้วถาวร​ เอาออกไม่ได้​ ต้องอยู่กับโครงสร้าง​จนชั่วชีวิต​ เพราะเชื่อมติด แล้วถ้าต้องใช้กับ​ Trough-Leg Pile มันจะอยู่ตรงไหน?… Continue reading Pile Gripper for Through-Leg Pile

Assessment · Building · Earthquake · Offshore Structure

From IDA Curves to Seismic Fragility Curve


From IDA Curves to Seismic Fragility Curve K.Kurojjanawong 14 Dec 2020 การวิเคราะห์แบบ Probabilistic Based Design หรือ การวิเคราะห์และตัดสินใจโดยใช้หลักการทางสถิติเป็นหลักนั้น กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ยังคงอยู่ในวงงานวิจัยเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากยังใช้งานค่อนข้างยาก ทำให้การวิเคราะห์แบบ Deterministic Based Design ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้นยังคงได้รับความนิยมอยู่มาก อย่างไรก็ดีมันมีแนวโน้มสูงมากที่จะถูกแทนที่ด้วย Probabilistic Based Design ในอนาคต เนื่องจากตอบโจทย์และอธิบายลักษณะของปัญหาได้มากกว่า เพราะในความเป็นจริงนั้นไม่มีอะไรมีค่าแน่นอนแบบหนึ่งต่อหนึ่ง ทุกๆ พารามิเตอร์มีความไม่แน่นอนในตัวเองทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นแรงที่กระทำหรือคุณสมบัติของวัสดุ Probabilistic Based Design นั้นก็ต้องอาศัยข้อมูลทางสถิติของแรงกระทำและกำลังต้านทาน ซึ่งการใช้ Probabilistic Based Design มาออกแบบโครงสร้างรับแรงแผ่นดินไหวนั้น ในฝั่งของแรงกระทำจะแทนด้วย Probability ของแรงแผ่นดินไหว ซึ่งอาจจะแทนด้วยความเร่ง ในทางทฤษฏีมันจึงคือ Seismic Hazard Curve หรือ เส้นโค้งความเสี่ยงจากแผ่นดินไหว ที่มาจากการวิเคราะห์ด้วย… Continue reading From IDA Curves to Seismic Fragility Curve

Assessment · Building · Earthquake · Industry Code · Offshore Structure

Probability-Based Demand and Capacity Factor Design (DCFD)


Probability-Based Demand and Capacity Factor Design (DCFD) K.Kurojjanawong 15-Nov-2020 Probability-Based Demand and Capacity Factor Design (DCFD) เป็นวิธีใหม่ที่เค้าเสนอเพื่อมาใช้ออกแบบโครงสร้างรับแรงแผ่นดินไหวแทนวิธี Load Resistance Factor Design (DCFD) เดิม ที่เป็น Deterministic Approach ในขณะที่พฤติกรรมของโครงสร้างไม่ว่าจะในด้านแรงกระทำหรือกำลังต้านทานนั้นไม่สามารถที่จะอธิบายได้ด้วย Deterministic Approach ที่เป็นแบบหนึ่งต่อหนึ่งได้ เนื่องจากมันมีความไม่แน่นอนอยู่ทั้งสองฝั่ง แต่เนื่องจากความยุ่งยากในทั้งทางทฤษฏีและทางปฏิบัติเราก็ยังคงใช้กันอยู่ ถึงแม้ว่ามันจะไม่สามารถตอบโจทย์ได้ทั้งหมด วิธี DCFD นั้นเป็น Probability-Based Approach ที่คำนึงถึงความไม่แน่นอนจากทั้งสองฝั่ง โดยใช้หลักสถิติและความน่าจะเป็นในการอธิบาย ผลลัพธ์ที่ได้สุดท้ายจะเป็น Probability of Failure (Pf) ซึ่งจะถือว่าโครงสร้างยอมรับได้เมื่อ Pf ที่ได้มีค่าต่ำกว่า Target Pf ที่ต้องการ เช่น สำหรับโครงสร้างรับแรงแผ่นดินไหวจะต้องมี Target Pf… Continue reading Probability-Based Demand and Capacity Factor Design (DCFD)

Assessment · Building · Earthquake · Industry Code · Offshore Structure

NLRHA for New Build Structure VS IDA for Assessment of Existing Structure


NLRHA for New Build Structure VS IDA for Assessment of Existing Structure K.Kurojjanawong 29-Oct-2020 Incremental Dynamic Analysis (IDA) นั้นมันสัมพันธ์กันยังไง กับวิธีการวิเคราะห์ที่แนะนำในมาตรฐานทั่วๆ ไป เช่น หัวข้อ 4.3 ใน มยผ 1302 หรือ บทที่ 16 ใน ASCE 7-16 คิดว่าหลายๆ คนน่าจะงงและมึนแน่นอน วิธีการวิเคราะห์ด้วย IDA และ การสร้าง Seismic Fragility Curve เพื่อไปทำ Performance Based Design นั้น ไม่ได้บรรจุอยู่ในมาตรฐานทั่วไป (หรืออาจจะเขียนไว้แค่กว้างๆ ตามความเข้าใจของผมเอง) และยังไม่ได้นิยมแพร่หลายในการนำมาใช้งานจริง แต่ยังได้รับความสนใจค่อนข้างมากในหมู่นักวิจัย เนื่องด้วยมันยังค่อนข้างเสียเวลาและทรัพยากรมากจนไม่คุ้มในการนำมาใช้งานโดยเฉพาะการออกแบบและก่อสร้างโครงสร้างใหม่ๆ ยกเว้นไม่มีทางเลือกจริงๆ เช่น… Continue reading NLRHA for New Build Structure VS IDA for Assessment of Existing Structure

Assessment · Building · Earthquake · Offshore Structure

Incremental Dynamic Analysis (IDA)


Incremental Dynamic Analysis (IDA) K.Kurojjanawong 29-Oct-2020 การวิเคราะห์โครงสร้างรับแรงแผ่นดินไหวนั้นสามารถทำได้สองรูปแบบใหญ่ๆ คือ Nonlinear Static Analysis ซึ่งวิธีที่รู้จักกันที่นิยมทั่วไปคือ Nonlinear Static Pushover Analysis (SPO) และอีกรูปแบบหนึ่งคือ Nonlinear Dynamic Analysis ซึ่งวิธีที่รู้จักนิยมทั่วไปคือ Nonlinear Response History Analysis (NLRHA) ความแตกต่างระหว่างวิธี Nonlinear Static Pushover Analysis และ Nonlinear Response History Analysis นอกเหนือจากวิธีการในการวิเคราะห์แล้วคือ Nonlinear Static Pushover Analysis นั้นจะสามารถวิเคราะห์จนโครงสร้างวิบัติด้วยการให้แรงด้านข้างเพิ่มขึ้นเรื่อยจนโครงสร้างวิบัติ ดังนั้นจึงสามารถสร้าง Structural Response Curve (Seismic Intensity VS Target Response)  เช่น Spectral Acceleration… Continue reading Incremental Dynamic Analysis (IDA)