Building · Earthquake · Industry Code · Offshore Structure

Dynamic Mass Shifting is the only way to account Accidental Torsion for NLRHA


Dynamic Mass Shifting is the only way to account Accidental Torsion for NLRHA K.Kurojjanawong 26-Apr-2022 ในบทที่ 16 ของ ASCE 7-22 นั้นระบุว่าต้องคำนึงถึงผลของ Accidental Torsion ด้วยสำหรับโครงสร้างที่มีรูปร่างไม่สมมาตรทางการบิด (Torsional Irregularity) ในการวิเคราะห์ด้วย Nonlinear Response History Analysis (NLRHA) และเนื่องมันเป็นวิธิการทางพลศาสตร์ การที่จำตามที่เค้าระบุไว้ มีทางเดียวเท่านั้นคือ Dynamic Mass Shifting Dynamic Mass Shifting คือต้องขยับมวลทั้งก้อนไปซ้ายขวาหน้าหลังตามที่เค้าระบุคือ +/-5% ของขนาดโครงสร้าง แล้วนำไปวิเคราะห์ด้วย NLRHA ดังนั้นจำนวนการวิเคราะห์จะเท่ากับจำนวนตำแหน่งของมวลที่ขยับไป Dynamic Mass Shifting นั้นเป็นวิธีการทาง Dynamic ไม่เหมือนกันการใส่ +/-5% Diaphragm… Continue reading Dynamic Mass Shifting is the only way to account Accidental Torsion for NLRHA

Building · Industry Code · Offshore Structure

Cm for Non-Sway Frameand and Restraint End shall be 1.00 for AISC ASD


Cm for Non-Sway Frame and Restraint End shall be 1.00 for AISC ASD K.Kurojjanawong 25-Feb-2024 AISC 335 1989 หรือ AISC ASD 1989 มันใช้กันมายาวนานมาก ณ ปัจจุบันก็ยังใช้งานอยู่ และหนังสือบ้านเราหลายๆ เล่มก็แปลต่อกันไปกันมา โดยคิดว่ามาตรฐานวิธี ASD มันหยุดไว้ที่ปี 1989 ซึ่งจริงๆ แล้วมันมีพัฒนาการมาเรื่อยๆ เพียงแต่ไปเน้นที่วิธี LRFD แต่ยังมีพูดถึงวิธีเก่าๆอย่าง ASD บ้าง ข้อหนึ่งที่น่าสนใจ คือ เค้าบอกว่าค่า Cm ที่แนะนำไว้ในมาตรฐานปี 1989 สำหรับโครงแบบไม่เซ (Non-Sway Frame) นั้นไม่ปลอดภัย โดยมาตรฐานปี 1989 แนะนำไว้ที่ค่า Cm=0.85 ในมาตรฐานปี 2005 บอกว่าค่านี้ไม่ปลอดภัยและควรใช้… Continue reading Cm for Non-Sway Frameand and Restraint End shall be 1.00 for AISC ASD

Building · Details and Construction · Industry Code · Material · Offshore Structure

The meaning of Z-Value for TTP Steel


The meaning of Z-Value for TTP Steel K.Kurojjanawong 7-Feb-2024 ในงานโครงสร้างเหล็ก มันจะมีเหล็กชนิดหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ เหล็กที่ผ่านการทดสอบแรงดึงตั้งฉากกับความหนาหรือ Z-test เกรดเหล็​กจะเหมือนกับเหล็กปกติทุกอย่าง แต่จะมีใบการันตีว่าผ่านการทำ Z-test มาแล้ว เหล็กที่ได้ใบการันตีนี้จะเรียกว่า Z-Steel, Z-quality steel, Through Thickness Properties Steel, TTP Steel ก็แล้วแต่ใครจะเรียก การทดสอบ Z-test จะช่วยการันตีว่าเหล็กจะไม่ฉีดขาดตามแนวความหนาของแผ่น แบบที่เห็นเป็นรอยยักในรูป เมื่อรับแรงดึงตั้งฉาก ซึ่งเรียกว่าการวิบัติ​แบบนี้ว่า Lamellar Tearing เหล็กที่ได้ใบการันตี Z-test ยังแยกย่อยไปอีก ว่าเป็นเหล็กเกรด Z เท่าไร ซึ่งจะมี สามเกรดในตลาด คือ Z15, Z25 และ Z35 ที่เป็นการจัดตามมาตรฐาน EN 10164 แต่ละมาตรฐานเหล็กก็จะเรียกชื่อต่างกันอีก ต้องไปดูในรายละเอียดว่ามันคือเหล็กที่มี Fy… Continue reading The meaning of Z-Value for TTP Steel

Building · Industry Code · Modelling Technique · Offshore Structure

Structural Stability: Out-of-Plumbness and Out-of-Straightness


Structural Stability: Out-of-Plumbness and Out-of-Straightness K.Kurojjanawong 4-Feb-2024 Initial condition หรือปัจจัยตั้งต้นสำหรับปัญหา Structural Stability ที่มันมีผลต่อเสถียรภาพของโครงสร้างนั้นส่งผลให้เราต้องพิจารณาผลของโมเมนต์ระดับที่สอง (2nd order analysis) ที่เราเรียกันติดปากว่า P-Delta นั่นล่ะ โดย Initial condition หรือปัจจัยตั้งต้นสำหรับปัญหาเสถียรภาพนั้นต้องแยกออกจากปัจจัยอื่นหลังจากที่โครงสร้างรับแรงไปแล้ว ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อเสถียรภาพของโครงสร้างแบ่งออกได้สองรูปแบบ คือ Out-of-Plumbness และ Out-of-Straightness สองคำนี้โดยความหมายก็หมายถึง ไม่ตรง หรือ เบี้ยว ทั้งคู่ แต่ศาสตร์ทาง Structural Stability ใช้สองคำนี้ต่างความหมายกัน และหลายคนชอบสับสนและใช้ปนกัน Out-of-Plumbness ในศาสตร์ทาง Structural Stability ใช้พูดถึงภาพรวม (Global) โครงสร้างเป็นหลัก เช่น อาคารทั้งหลังมันเบี้ยว ส่วน Out-of-Straightness ในศาสตร์ทาง Structural Stability ใช้พูดถึงภาพลงรายละเอียด (Local) ของแต่ละชิ้นส่วน… Continue reading Structural Stability: Out-of-Plumbness and Out-of-Straightness

Building · Industry Code · Modelling Technique · Offshore Structure · SACS · USFOS

2nd Order Effect-Equivalent Node Shear Method


2nd Order Effect-Equivalent Node Shear Method K.Kurojjanawong 21-Jan-2024 Second order effect นั้นแยกออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือ Geometrical Nonlinearity และ Material Nonlinearity โดยส่วนแรกคือผลจากการที่ชิ้นส่วนเคลื่อนที่จากจุดตั้งต้นแล้วทำให้เกิด Additional Moment เพิ่มขึ้นมาในชิ้นส่วน ดังนั้นเป็นผลจาก Geometry ทั้งหมด ส่วนที่สองคือผลจากการที่คุณสมบัติของชิ้นส่วนไม่เชิงเส้นหรือไม่เป็นไปตามกฏของฮุค ทำให้ค่า Young modulus (E) ไม่คงที่ และยังมีผลช่วง Elasto-plastic และ Strain Harding เข้ามาด้วย ทั้งสองส่วนทำให้ผลสมมติฐานที่เราใช้ คือทุกอย่างเชิงเส้นไม่เป็นจริง แต่ส่วนของ Material Nonlinearity นั้นเราสามารถที่จะคุมมันได้ โดยบังคับไว้ว่าทุกชิ้นส่วนห้ามเลย Yield ซึ่งก็คือการออกแบบตามมาตรฐานทั่วไป จะทำให้ผลของ Material Nonlinearity นั้นหายไป เพราะไม่เลย Yield คุณสมบัติของวัสดุยังคงเป็นไปตามกฏของฮุคอยู่ เราจึงสามารถตัดผลของ Material… Continue reading 2nd Order Effect-Equivalent Node Shear Method

Building · Industry Code · Modelling Technique

AISC 360 Direct Analysis Method and the Effect of Leaning Columns


AISC 360 Direct Analysis Method and the Effect of Leaning Columns K.Kurojjanawong 15-Jan-2024 Leaning columns นั้นมีการกล่าวถึงบ่อยมากใน AISC 360 ตั้งแต่เริ่มมีการแนะนำวิธี Direct Analysis Method (DM) เข้ามาแทนวิธีดั้งเดิม แล้ว Leaning Columns มันคืออะไร มารู้จักกัน Leaning columns เรียกอีกชื่อได้ว่า Gravity​ columns หรือเสาที่รับแต่แรงแนวดิ่ง รับแรงแนวราบไม่ได้จึงต้องไปพิงคนอื่น หรือ Lean บนระบบรับแรงด้านข้าง (Lat​eral resisting system) เช่น Shear wall หรือ Moment frame ดังนั้นเราสามารถแยก Leaning columns (หรือ Gravity​ columns) ออกมาจาก… Continue reading AISC 360 Direct Analysis Method and the Effect of Leaning Columns

Building · Industry Code · Offshore Structure

AISC 360 Stability Analysis – What’s New


AISC 360 Stability Analysis – What’s New K.Kurojjanawong 12-Jan-2024 ถ้าใครติดตามข่าวสารและอัพเดทความรู้บ้างก็จะเห็นว่า AISC 360 นั้นเปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณด้าน Stability ของโครงสร้างเหล็กมา ตั้งแต่ปี 2005 ก็ 19 ปีมาแล้ว นานมาก แต่ไม่มีใครนิยมวิธีที่ใส่เข้ามาใหม่เลย โดยหลังปี 2005 AISC 360 เริ่มใส่ Alternative Methods เข้ามาใน Appendix 7 เรียกว่า Direct Analysis Method (DM) วิธีหลักใน Chapter C ยังคือวิธี First Order Analysis with Effective Length อยู่ ซึ่งวิธีนี้คือ วิธีที่เราเรียนกันมา หรือ เป็นวิธีที่ใช้กันมาตั้งแต่ยังเป็นวิธี Allowable Stress Design… Continue reading AISC 360 Stability Analysis – What’s New

Building · Earthquake · Industry Code · Offshore Structure

The Meaning of Seismic Response Spectrum


The Meaning of Seismic Response Spectrum K.Kurojjanawong 5-Jan-2024 Response Spectrum คำนี้นั้นในทางเทคนิคมีหลายความหมายมาก ดังนั้นจะคุยกับใครต้องบอกก่อนว่ากำลังคุยเรื่องอะไร อย่างไรก็ดีวิศวกรส่วนใหญ่แทบจะร้อยเปอร์เซ็นต์รู้จัก Response Spectrum จากเรื่อง Earthquake Engineering เพียงอย่างเดียว ทั้งที่จริงๆ แล้วความหมายของ Response Spectrum นั้นกว้างมาก เช่นใน เรื่องแรงระเบิด ก็มี Response Spectrum เหมือนกันแต่เรียกว่า Shock Response Spectrum และในอีกหลายศาสตร์ ใช้คำว่า Response Spectrum ทั้งหมด ซึ่งมักจะมีความหมายตรงกันคือ Response Spectrum ที่มาจาก Deterministic Loading หรือแรงกระทำรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง แต่ไม่นิยมทำ Response Spectrum ที่มาจาก Probabilistic Loading หรือแรงกระทำที่มาจากค่าทางสถิติ ในขณะที่ Response Spectrum… Continue reading The Meaning of Seismic Response Spectrum

Building · Earthquake · Foundation · Offshore Structure

Liquefaction Uplift acting on Underground Structures


Liquefaction Uplift acting on Underground Structures K.Kurojjanawong 4-Jan-2024 ปรากฏการณ์โครงสร้างใต้ดินลอยขึ้นมาเหนือพื้นดินเป็นเมตรหรือเกินสองเมตรนั้นพบได้บ่อยมากหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวในพื้นที่ดินมีโอกาสเกิด Liquefaction ดังที่เห็นในรูป Liquefaction คือปรากฏการณ์ที่เกิดกับ Cohesionless soil เช่น ทราย ในระหว่างที่เกิดแผ่นดินไหวแล้วเกิดการสั่นที่รุนแรงและรวดเร็วจนกระทั่งแรงดันน้ำสูงขึ้นกระทันหัน นำมาซึ่งการสูญเสียกำลังของดิน กลายเป็นดินเหลวเหมือนของไหลทั่วไป ถ้าไปดูตามสมการ Soil Mechanic ก็จะเห็นว่า Overburden Pressure (sv) = Effective Overburden (sv’) + Pore Water Pressure (U) ในขณะที่กำลังของดินขึ้นกับ Effective Overburden (sv’) สลับข้างกันจะได้ Effective Overburden (sv’) = Overburden Pressure (sv) - Pore Water Pressure (U) ดังนั้นจะเกิด Liquefaction… Continue reading Liquefaction Uplift acting on Underground Structures